ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กัญชง (Hemp) มีประโยชน์ทั้งสรรพคุณทางยาและด้านอื่นๆ มากมาย

กัญชง (Hemp) มีประโยชน์ทั้งสรรพคุณทางยาและด้านอื่นๆ มากมาย HealthServ.net

ประโยชน์จากส่วนต่างๆของกัญชง เปลือกจากลำต้นให้เส้นใย เนื้อของลำต้น แกนของต้น เมล็ดใช้เป็นอาหาร น้ำมันจากเมล็ด โปรตีนจากเมล็ดมีสูงมาก ผลิตเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลือง ใบใช้เป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องสำอาง

กัญชง (Hemp) มีประโยชน์ทั้งสรรพคุณทางยาและด้านอื่นๆ มากมาย ThumbMobile HealthServ.net
กัญชง (Hemp) มีประโยชน์ทั้งสรรพคุณทางยาและด้านอื่นๆ มากมาย HealthServ

กัญชง (Hemp)

เป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae มีแหล่งกำเนิดในเอเชียกลางและแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และในทวีปยุโรป มีลำต้นสูง หนา แข็งแรง ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว 3-4 เดือน
 
ต้นกัญชง เป็นพืชให้ใยธรรมชาติที่มีความทนทาน วัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ระหว่างกัญชากับกัญชงก็ต่างกันมาก นับตั้งแต่มนุษย์รู้จักการใช้พืชตระกูลนี้มาตั้งแต่โบราณ มีบันทึกประวัติศาสตร์ถึงการใช้ประโยชน์กัญชงมากกว่ากัญชา ในยุคล่าอาณานิคม นักเดินเรือ จะนำใยกัญชงมาทำเป็นเชือกและผ้าใบเรือซึ่งมีความทนทานมาก ในประเทศจีน ยุคราชวงศ์โจว (ประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสตศักราช) ใช้เส้นใยกัญชงทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม ส่วนเมล็ดกัญชงก็พบว่าเป็นธัญพืชที่รับประทานกันทั่วโลกมานานหลายพันปีแล้ว

กัญชา กับ กัญชง ต่างกันอย่างไร?

ยังมีความสับสนระหว่างพืชกัญชากับกัญชง เนื่องจากพืชสองชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดเดียวกัน อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ Cannabaceae แถมยังสกุลเดียวกันคือ Cannabis แต่ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อย และกัญชงมีต่อมน้ำมันที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์น้อยกว่าพืชกัญชา

กัญชง มีประโยชน์อย่างไร

จากข่าวกรณีคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 เฉพาะกัญชง หรือเฮมพ์ (Hemp) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและเชิงอุตสาหกรรม โดยระยะ 3 ปีแรกจะให้เฉพาะ “หน่วยงานรัฐ” เป็นผู้ขออนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง และให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประเมินผล เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาความเหมาะสมที่จะอนุญาตให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลยื่นขออนุญาต โดยสาระสำคัญของกฎหมายคือ สายพันธุ์กัญชงต้องมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol หรือ THC) ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง(1-3) นั้น หลายคนคงสงสัยว่ากัญชงกับกัญชานั้นต่างกันอย่างไร และมีประโยชน์ด้านใดบ้างที่ทำให้รัฐบาลส่งเสริมให้มีการปลูกอย่างเป็นทางการ
 
หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า ต้นกัญชงก็คือกัญชา แต่ความจริงแล้วต้นกัญชงแค่มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นกัญชาในด้านลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แต่ไม่ใช่พืชที่เป็นสารเสพติดเหมือนกัญชา เพราะมีสาร THC ในปริมาณน้อยกว่ามากจึงไม่มีผลทำให้เกิดมึนเมาหรือเสพติด แต่มีประโยชน์ในด้านการแพทย์และอื่น ๆ เช่น ต้นกัญชงเป็นพืชที่สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอผ้าที่มีคุณภาพดี 

สรรพคุณทางยาของกัญชง

กัญชงสามารถใช้ในการรักษาโรคได้ โดยมีข้อมูลในการใช้จากส่วนต่าง ๆ ดังนี้
 
ส่วนของใบ
มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะหรือไมเกรน และช่วยแก้กระหาย ใช้รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด และช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์
 
ส่วนของเมล็ด
ภูมิปัญญาของชาวม้งจะใช้เมล็ดสดเป็นยาสลายนิ่ว โดยนำมาเคี้ยวสด ๆ
 
 

ประโยชน์ของกัญชงในด้านต่างๆ

  1. เปลือกจากลำต้นให้เส้นใยเพื่อนำไปใช้ทำเป็นเส้นด้ายและเชือก ใช้สำหรับการทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ  นอกจากนี้ยังใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ และใช้เป็นรองเท้าของคนตายเพื่อเดินทางไปสู่สวรรค์ ใช้ทำเป็นด้ายสายสิญจน์ในพิธีกรรมต่าง ๆ และใช้ในพิธีอัวเน้งหรือพิธีเข้าทรง ซึ่งเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวม้ง
  2.  เนื้อของลำต้นที่ลอกเปลือกออกแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษได้
  3. แกนของต้นกัญชงจะมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำหรือน้ำมันได้ดี ในต่างประเทศนิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ่านไม้, Alcohol, Ethanol, Methanol นอกจากนี้แกนกัญชงยังถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอาคารและเฟอร์นิเจอร์
  4. เมล็ดใช้เป็นอาหารของคนและนก เมล็ดกัญชงที่เก็บได้สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันมาใช้ในการปรุงอาหารได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในน้ำมันจากเมล็ดนั้นมีโอเมก้า 3 สูงมาก นอกจากนี้ยังมีโอเมก้า 6, โอเมก้า 9, linoleic acid, alpha- และ gamma-linolenic acid และสารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วจะมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายได้
  5. น้ำมันจากเมล็ดสามารถไปผลิตเป็นน้ำมันซักแห้ง ทำสบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด แชมพู สบู่ โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ลิปบาล์ม หรือแม้กระทั่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และถูกพัฒนาเป็นตำรับครีมน้ำมันกัญชงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงผิวแห้งเพื่อรักษาโรคผิวแห้งคันและสะเก็ดเงินที่ได้ผลดี
  6. เมล็ดนอกจากจะให้น้ำมันแล้ว ยังพบว่ามีโปรตีนสูงมากอีกด้วย โดยสามารถนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น เนย ชีส เต้าหู้ โปรตีนเกษตร นม ไอศกรีม น้ำมันสลัด อาหารว่าง อาหารเสริม ฯลฯ หรือผลิตเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคตอาจใช้เป็นทางเลือกในการบริโภคแทนถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืช GMOs ได้
  7. ในส่วนของใบก็สามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องสำอาง รวมไปถึงการนำใบมาเป็นชาเพื่อสุขภาพ นำมาเป็นผงผสมกับสารอาหารอื่น ๆ เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริม ผลิตเป็นอาหารโดยตรงอย่างเส้นพาสต้า คุกกี้ หรือขนมปัง ใช้ทำเบียร์ ไวน์ ซอสจิ้มอาหารต่าง ๆ และยังใช้ประโยชน์โดยนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติช่วยดูแลผิวพรรณ ทำให้ผิวชุ่มชื้น เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบาง
  8. ในประเทศญี่ปุ่นมีการปลูกต้นกัญชงเพื่อกำจัดกัมมันตภาพรังสีให้สลายตัวที่จังหวัดฟูกูชิมะ และสารกัมมันตภาพรังสีรั่วจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ระเบิดจากสึนามิ ซึมลงดินจนไม่สามารถทำการเกษตรได้
  9. กัญชงจัดเป็นเส้นใยมงคลที่ชาวญี่ปุ่นนิยมนำมาตัดกิโมโน เพราะเป็นผ้าที่มีความทนทานนับร้อยปี

กัญชา

ชื่อสามัญ Cannabis
วงศ์ : Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ย่อย ได้แก่ ซาติวา (Cannabis sativa), อินดิกา (Cannabis indica) และรูเดอราลิส (Cannabis ruderalis)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa forma indica

แหล่งกำเนิด
Sativa : แหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก (ทวีปอเมริกา) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Indica : อินเดียและบริเวณตะวันออกกลาง
Ruderalis : ยุโรป บริเวณตอนกลางและตะวันออก
 
ลักษณะทางภายภาพ มีความแตกต่างตามสายพันธุ์
 
การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวดอกจากต้นตัวเมีย เพื่อนำมาสกัดเป็นยา
 
อัตลักษณ์ มีสาร THC และ CBD ในปริมาณเพียงพอที่ใช้รักษากลุ่มโรคบางอาการได้

มีความสูงไม่ถึง 2 เมตร
ปล้องหรือข้อสั้น แตกกิ่งก้านมากและแตกกิ่งเป็นแบบสลับ
เปลือกไม่เหนียว ลอกได้ยาก ให้เส้นใยสั้นมีคุณภาพต่ำ
แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ใบมีประมาณ 5-7 แฉก
การเรียงตัวของใบจะชิดกัน
เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกมาก
เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวเมล็ดมันวาว
ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง 
มีสาร tetrahydrocannabinol (THC) ประมาณ 1-10% 
การปลูกระยะห่างระหว่างต้นจะกว้าง เพราะปลูกเพื่อต้องการใบ
 

กัญชง


ชื่อสามัญ Hemp
วงศ์ : Cannabaceae เป็นสายพันธุ์เดียวกับ Cannabis sativa
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L. subsp. Sativa
 
แหล่งกำเนิด
เอเชียกลาง และแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และในทวีปยุโรป
 
ลักษณะทางภายภาพ ความสูงประมาณ 6 เมตร (แต่สูงกว่ากัญชา) จำนวนแฉกใบ 7-9 แฉก
 
การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวต้นเพื่อใช้ใยธรรมชาติ ทำเป็นวัสดุสิ่งทอ กระดาษ เชือก
เก็บเกี่ยวเมล็ดเพื่อสกัดน้ำมันสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง (Industrial Hemp)
 
อัตลักษณ์ เส้นใยให้ปริมาณมากกว่ากัญชา และเป็นเส้นใยคุณภาพสูง
เมล็ดมีโปรตีนสูง มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิดเดียวกับที่พบในน้ำมันปลา
 
มีลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร
ปล้องหรือข้อยาว แตกกิ่งก้านน้อยและแตกกิ่งไปในทิศทางเดียวกัน
เปลือกเหนียวลอกง่าย ให้เส้นใยยาวมีคุณภาพสูง
แผ่นใบเป็นสีเขียวอมเหลือง ใบมีแฉกประมาณ 7-9 แฉก
การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่าง
เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกไม่มาก
เมล็ดมีขนาดใหญ่และเป็นลายบ้าง ผิวเมล็ดหยาบด้าน
ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อย ทำให้ผู้เสพปวดศีรษะ
มีสาร tetrahydrocannabinol (THC) น้อยกว่า 0.3%
การปลูกระยะห่างระหว่างต้นจะแคบ เพราะปลูกเพื่อต้องการเส้นใยเพียงอย่างเดียว
กัญชา

อ้างอิง
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด