ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การฉีดวัคซีนโควิด ให้แก่กลุ่มผู้เคยติดเชื้อโควิด - สำรวจความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

การฉีดวัคซีนโควิด ให้แก่กลุ่มผู้เคยติดเชื้อโควิด - สำรวจความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ HealthServ.net

ผู้ติดเชื้อโควิดแล้วต้องฉีดวัคซีนโควิดด้วยหรือไม่
หากต้องฉีด ต้องฉีดเมื่อใด ระยะห่างเท่าใด
ต้องฉ๊ดด้วยวัคซีนชนิดใด จึงจะเหมาะสม

การฉีดวัคซีนโควิด ให้แก่กลุ่มผู้เคยติดเชื้อโควิด - สำรวจความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ThumbMobile HealthServ.net
การฉีดวัคซีนโควิด ให้แก่กลุ่มผู้เคยติดเชื้อโควิด - สำรวจความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ HealthServ
ผู้ติดเชื้อโควิดแล้วต้องฉีดวัคซีนโควิดด้วยหรือไม่
หากต้องฉีด ต้องฉีดเมื่อใด ระยะห่างเท่าใด
ต้องฉ๊ดด้วยวัคซีนชนิดใด จึงจะเหมาะสม 


เหล่านี้เป็นคำถามยอดฮิตที่ตามเกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ จากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง หลักๆและสำคัญที่สุดก็คือจากประชาชนเองที่หลายท่าน ที่ต้องประสบเหตุต้องติดเชื้อ เข้ารับการกักตัวเพื่อรักษา ในช่วงเวลาของการระบาดหนักระลอก 3 (มิถุนายน-สิงหาคม) เมื่อหลายๆท่านผ่านการดูแลรักษาแล้ว ร่างกายได้พักฟื้น และแข็งแรงดีมากขึ้นแล้ว คำถามต่อความจำเป็นในการต้องรับวัคซีนโควิด จึงตามมาว่า มีความจำเป็นหรือไม่ หรือต้องฉีดอย่างไร เมื่อไร ประกอบกับช่วงเวลาที่ต้องกักตัวรักษาตัวนั้น อาจเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับกำหนดการรับวัคซีนที่ได้ทำการลงทะเบียนล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว แต่จำเป็นต้องเลื่อนออกไป  สิทธิในการฉีดจะยังคงมีอยู่หรือไม่ จะเสียสิทธิคิวจองเดิมและต้องเริ่มจองลงทะเบียนใหม่หรือไม่   ซึ่งไม่เพียงแต่ประชาชนเท่านั้นที่มีคำถาม แม้แต่หน่วยงานสถานบริการสาธารณสุข โรงพยาบาล และบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง ก็ยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ เช่นกัน

ผู้ที่จะให้คำตอบที่ชัดเจนและเป็นแนวทางหลักของประเทศต่อเรื่องนี้ ก็คือ ศบค. ที่ยังไม่มีคำตอบและแนวทางที่ชัดเจน 
 

สำรวจความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

เป็นที่เข้าใจไม่ยากว่า ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกำลังหาคำตอบแนวทางนี้อยู่ ระหว่างนี้ เราจะไปสำรวจความเห็น/ข้อมูล จากผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่านที่ทำการศึกษาหรือติดตามกรณีศึกษา ที่น่าจะช่วยให้เข้าใจได้ ดังนี้  

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ 
วันที่ 16 ก.ย. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก "Yong Poovorawan" เกี่ยวกับ การให้วัคซีนในผู้ที่ติดเชื้อโควิค 19 ว่า
 
การให้วัคซีนในผู้ที่ติดเชื้อโควิค 19 แล้ว จากข้อมูลการศึกษาวิจัยที่ศูนย์ ในการให้วัคซีนหลังการติดเชื้อ และตรวจภูมิต้านทาน นำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณากำหนดเป็นแนวทาง
 
ผู้ที่ติดเชื้อโควิค 19 ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หรือได้รับไม่ครบ 2 เข็ม ควรได้รับวัคซีนอีก 1 ครั้ง หลังจากติดเชื้อ 1 เดือนขึ้นไป วัคซีนที่ใช้ควรเป็นวัคซีนกระตุ้น คือไวรัสเวกเตอร์ หรือ mRNA
 
ผู้ที่ติดเชื้อและเคยได้รับวัคซีนครบ 2 ครั้งมาก่อนโดยครั้งที่ 2 ก่อน 14 วัน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนในขณะนี้ รอจนกระทั่งมีวัคซีน สายพันธุ์ใหม่แล้วค่อยกระตุ้น น่าจะเป็นปีหน้า


 
 
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา 
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค
11 กันยายน 2564  ดร.อนันต์ ได้เผยแพร่บทความบนเพจ Anan Jongkaewwattana  กล่าวถึง ผลการวิจัยเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้นกันในผู้ที่เคยติดเชื้อ ผู้ได้รับวัคซีน และผู้ที่หายป่วย ดังนี้

 ...

งานวิจัยชิ้นหนึ่งเพิ่งเผยแพร่ออกมาจากทีม Harvard เปรียบเทียบระดับแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ในร่างกายในสภาวะต่างๆ คือ
1. จากผู้เคยติดเชื่้อจากธรรมชาติ (กลุ่มสีเขียว)
2. จากผู้ได้รับวัคซีน mRNA จากทั้ง Pfizer หรือ Moderna (กลุ่มสีดำ) และ
3. จากผู้หายป่วยโควิด และ รับวัคซีน mRNA 2 เข็ม (กลุ่มสีม่วง) โดยเก็บข้อมูลที่เวลาต่างๆหลังได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม
 
กลุ่มเคยติดเชื้อแต่ไม่ได้รับวัคซีน แอนติบอดีจะอยู่ในระดับไม่สูงมาก ตั้งแต่เริ่มหายป่วย แต่ระดับแอนติบอดีเกือบเป็นเส้นตรง คือ แทบจะไม่ลดลงเลยในช่วงเวลา เกือบ 300 วันที่เก็บข้อมูล

ตรงกันข้าม กลุ่มที่ได้รับวัคซีนมา 2 เข็ม ออกตัวแรงมากมีภูมิสูงกว่าการติดเชื้อในธรรมชาติประมาณ 10 เท่า แต่ระดับแอนติบอดีตกไวกว่าอย่างชัดเจน ค่าแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งไวรัสเดลต้าได้ ตกลงมาที่ 78 วันหลังสองเข็ม เมื่อเทียบกับ 28 วัน เกือบ 10 เท่า

และที่โดดเด่นที่สุด คือ กลุ่มที่หายป่วยแล้วไปรับวัคซีนเพิ่มเข้ามา ภูมิโดดสูงกว่าการติดเชื้อจากธรรมชาติแบบไม่ได้วัคซีนเกือบ 100 เท่า และ ดูเหมือนจะลดลงช้ากว่ากรณีของคนที่ไม่เคยป่วยมาก่อน และ ระดับที่ลดลงเหมือนจะไม่เป็นปัญหา เพราะ ยังสามารถยับยั้งเดลต้าได้อย่างสบายๆ แม้จะผ่านไปเกือบ 200 วันหลังเข็มสองแล้ว
 
ข้อมูลนี้เป็นการยืนยันว่า Hybrid Immunity คือ ภูมิที่กระตุ้นจากการติดเชื้อด้วยวัคซีน น่าจะเป็นคำตอบของการควบคุมโควิดได้ในที่สุด ใครที่เคยป่วยแล้วและได้รับวัคซีนแล้ว อาจไม่ต้อง boost ไปอีกนานเลยครับ


...
และอีกบทความในวันเดียวกัน (11 กันยายน 2564)  กล่าวถึงผลการตรวจภูมิคุ้มกันในอาสาสมัคร ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ดังนี้
...

ผลการตรวจภูมิคุ้มกันของอาสาสมัครที่ได้เข็ม 3 ต่อจาก SVx2 ที่ออกมาน่าสนใจมากครับ เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในช่วงที่มีการกระตุ้นเข็ม 3 ในประเทศ นอกจากข้อสรุปที่ทีมวิจัยแสดงออกมาแล้ว ขอวิเคราะห์เพิ่มเติมนะครับ
 
1. ค่าการวัดแอนติบอดีชนิด IgG โดยตรงจากโปรตีนสไปค์ของ Wuhan
อาจจะไม่มีความสัมพันธ์มากกับปริมาณแอนติบอดีที่ยับยั้งการติดเชื้อของเดลต้า ลองสังเกตค่า Total IgG ของกลุ่มที่ boost ด้วย Sinopharm ได้ค่าเฉลี่ยที่ 218.9 ฺBAU/ml แต่กลุ่มที่เคยติดเชื้อมาได้ 181.7 BAU/ml ซึ่งถ้าวัดหลังจากนั้นก็ลดลงอีก ถือว่า ค่า BAU สองกลุ่มใกล้เคียงกันครับ แต่พอดูค่า NAb ที่ยับยั้งไวรัสได้ กลุ่มที่เคยติดเชื้อไวรัสมา ได้ค่า NAb ที่สูงกว่า (96.58 vs 61.27) ซึ่งอาจจะบอกว่าแอนติบอดีที่กระตุ้นขึ้นมาอาจจะมีไม่มากที่สามารถจับและยับยั้งเดลต้าได้ ซึ่งถ้าเทียบกับกลุ่มที่ติดเดลต้ามาจะเห็นชัดมาก (ถ้าอนุมานว่าค่า BAU ของคนหายป่วยจากเดลต้ากับสายพันธุ์เดิมไม่ต่างกัน)

 
2. ค่า NAb ของผู้หายป่วยสายพันธุ์ดั้งเดิม กับ เดลต้า ต่างกันค่อนข้างชัด
คือ 490.1 vs 96.58 แสดงว่า เดลต้าอาจจะสามารถหนีภูมิจากสายพันธุ์อื่นได้เกือบ 5 เท่า ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าค่าที่มีรายงานก่อนหน้านี้ ซึ่งถ้าการ boost เข็ม 3 ด้วย PZ ที่วัดด้วยเดลต้าได้ 727.7 ถ้าวัดด้วยไวรัสสายพันธุ์เดิมจะได้สูงถึง 3600 หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ถ้าได้ตามนี้แสดงว่า ภูมิที่ได้จะสูงมากๆ เพราะปกติค่า PRNT50 ถ้าได้เกินพันจะถือว่าสูงมาก

 
3. ที่สนใจเป็นการส่วนตัวคือ ภูมิคุ้มกันจากเข็ม 3 อยู่ได้นานแค่ไหน
การวัดที่ 2 อาทิตย์หลังกระตุ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 2 เดือนต่อมา โดยเฉพาะ NAb ที่ไม่จำเพาะต่อ เดลต้า โดยตรงแต่ยังพอยับยั้งได้ เมื่อลดลง จะยังพอพยุงไหวหรือไม่ ถ้าตกลงไม่มากก็จะเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากๆเลยครับ
 
ขอแสดงความยินดีกับทีมวิจัยที่สร้างผลงานมีประโยชน์มากครับ


 
การฉีดวัคซีนโควิด ให้แก่กลุ่มผู้เคยติดเชื้อโควิด - สำรวจความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด