ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การตรวจอุโมงค์แม่เหล็ก หรือ MRI คืออะไร โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา

การตรวจอุโมงค์แม่เหล็ก หรือ MRI คืออะไร โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา HealthServ.net
การตรวจอุโมงค์แม่เหล็ก หรือ MRI คืออะไร โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา ThumbMobile HealthServ.net

MRI คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ(Radio Frequency) ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์ - โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา Tel 038-317-333

การตรวจอุโมงค์แม่เหล็ก หรือ MRI คืออะไร ?
 
MRI คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ(Radio Frequency) ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือนการตัดร่างกายออกเป็นแผ่นๆ ทำให้แพทย์สามารถมองจุดที่ผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่างละเอียด โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆต่อผู้รับการตรวจ


MRI สามารถตรวจร่างกาย ส่วนไหน ได้ดี ?
การตรวจ MRI สามารถสร้างภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ในทุกๆระนาบไม่ใช่ เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
 
 
           การตรวจ MRI ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก คือเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะสมองเส้นประสาทไขสันหลังและเส้นประสาทในร่างกาย ใช้ได้ดีกับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การตรวจ MRI ยังสามารถตรวจระบบหลอดเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยางเพื่อฉีดสีซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมากเพราะมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังสะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆทั้งก่อนและหลังการตรวจ คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan เพราะไม่ใช้รังสี
 
 
ผู้ที่สมควรได้รับการตรวจ MRI สภาพสมอง มีอาการดังนี้
  1. เป็นโรคลมชัก
  2. มีอาการปวดหัว แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง หรือพถติกรรมเปลี่ยนแปลง
  3. มีอาการหมดสติบ่อยๆ ความจำเสื่อม สับสน คลื่นไส้อาเจียน
  4. มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน เสียการทรงตัว เป็นๆหายๆ
  5. มีอาการ ปากเบี้ยว, หนังตาตก หรือ ลิ้นชาแข็ง
 
 
ผู้ที่มีประวัติในครอบครัว เป็นกลุ่มเสี่ยง สมควรตรวจ MRI สมองดังนี้
  1. มีประวัติว่าบิดาหรือมารดาเป็นเส้นเลือดในสมองโป่งพอง (Intracerebral Aneurysm)
  2. มีประวัติว่าบิดาหรือมารดาเป็นเส้นเลือดในสมองแตก
 
ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ สมควรได้รับการตรวจ MRI ส่วนไขสันหลัง คอ ทรวงอก และส่วนที่เป็นเอว
  1. ปวดคอ ชาลงแขนหรือลำตัว
  2. แขนหรือนิ้วมือชา
  3. แขนหรือขาอ่อนแรง หรืออ่อนแรงทั้งหมด
  4. แขนขากระตุก
  5. ขาไม่มีแรงทั้งสองข้าง
  6. ปวดหลังไม่หาย
  7. มีอาการชาตึงลงขาหรือน่อง
  8. นิ้วขาชาไม่มีความรู้สึก
  9. ขาลีบ อ่อนแรง
  10. สมรรถภาพทางเพศลดลง
  11. ควบคุมปัสสวะ, อุจจาระไม่ได้
 
ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  1. ทำ จิตใจให้สงบ นอนให้สบาย ไม่ต้องกังวล ในขณะที่เครื่องทำ งานจะมีเสียงดัง กรุณาอย่าตกใจ! ในขณะที่ท่านทำการตรวจอยู่ในเครื่อง จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลท่านอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไร ท่าสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ผ่านอุปกรณ์ส่งสัณญาณ
  2. เนื่องจากเป็นการตรวจที่มีความละเอียดสูง จึงใช้เวลาค่อนข้างนาน ในการตรวจ ท่านควรนอนให้นิ่งที่สุด ไม่เช่นนั้นจะทำให้ภาพไม่ชัดเจน อาจทำ ให้การวินิจฉัยไม่แม่นยำ
  3. หากเป็นการตรวจ MRI ช่องท้องจำเป็นต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  4. ในกรณีที่ต้องมีการ ฉีดสาร Contrast agent ต้องมีผลเลือด Creatinine, BUN และ GFR 
  5. เจ้าหน้าที่จะทำการอธิบายก่อนเข้ารับการตรวจ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้กับทางเจ้าหน้าที่
  6. ถ้าท่านเกิดการกังวลใจหรือกลัวที่แคบโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ 
  7. หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า เนื่องจากไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้

ผู้ที่ต้องระวัง หรือมีข้อห้ามตรวจ MRI มีดังนี้
  1. ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่กลัวที่จะอยู่ในที่แคบๆ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (claustrophobic) 
  2. ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น
    •    ผู้ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips ) 
    •    metal plates ในคนที่ดามกระดูก
    •    คนที่เปลี่ยนข้อเทียม
    •    คนที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve)
    •    ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ Cardiac Pacemaker
    •    ผู้ที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู
    •    ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้หรือไม่ ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถทำได้ทันทีไม่มีผลเสียใดๆ
  3. ควรหลีกเลี่ยงในคนที่ เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝัง เครื่องมือทางการแพทย์ไว้  (medical devices)
  4. ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา และสงสัยว่าจะมีโลหะชิ้นเล็กๆกระเด็นเข้าไปในลูกตาหรือมีอาชีพเกี่ยวข้องกับโลหะ และมีความเสี่ยงต่อการมีโลหะชิ้นเล็กๆ กระเด็นเข้าลูกตา ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจมีการเคลื่อนที่ของโลหะชิ้นนั้นก่อให้เกิดอันตรายได้ (การถ่ายภาพเอกซเรย์ธรรมดาของตาจะช่วยบอกได้ว่ามีหรือไม่มีโลหะอยู่ในลูกตา)
  5. ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าต้องทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟันออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ
  6. ผู้ที่ รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่างๆออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหูเครื่องประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา ปากกา ไม่เช่นนั้น อาจจะทำให้ สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด
  7. ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้
  8. จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจ MRI มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าไม่จำเป็นจริงๆไม่ควรตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด