ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การถ่ายโอน รพ.สต.สู่ท้องถิ่น (อบต/เทศบาล หรือ อบจ.)

การถ่ายโอน รพ.สต.สู่ท้องถิ่น (อบต/เทศบาล หรือ อบจ.) HealthServ.net
การถ่ายโอน รพ.สต.สู่ท้องถิ่น (อบต/เทศบาล หรือ อบจ.) ThumbMobile HealthServ.net

ผลศึกษาชี้กรณีถ่ายโอน รพ.สต.ให้ อบจ. สสจ. สปสช. อบจ. ควรทำงานร่วมกันก่อนเพื่อเตรียมความพร้อม

Update: ราชกิจจาฯ 19 ตุลาคม 2564 ออกประกาศ "ประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรื่อง หลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด" - อ่านรายละเอียดได้จากบทความ ปฐมบทโอนย้าย อนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และ รพ.สต. สู่บ้านใหม่ อบจ.
 
ผลศึกษาชี้กรณีถ่ายโอน รพ.สต.ให้ อบจ. สสจ. สปสช. อบจ. ควรทำงานร่วมกันก่อนเพื่อเตรียมความพร้อม
 
สวรส.เปรียบเทียบผลศึกษาทางเลือกกระจายอำนาจ การถ่ายโอน รพ.สต.สู่ท้องถิ่น ทั้งแบบโอนให้ อบต./เทศบาล และแบบถ่ายโอน รพ.สต.ทั้งจังหวัดไปที่ อบจ. พบมีทั้งข้อดีและข้อด้อย แนะก่อนถ่ายโอนให้ อบจ. ทั้ง สสจ. สปสช. และ อบจ. ควรทำงานร่วมกันก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมจัดการสาธารณสุข และ สธ.ควรมีหน่วยงานเตรียมความพร้อมถ่ายโอน รพ.สต.ให้ อบจ.อย่างจริงจังและสนับสนุนการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง
 
ความคืบหน้าในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หลังสิ้นสุดของแผน 2 ของ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พ.ศ. 2542 โดยคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) ได้เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผน 3 เพื่อบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานเตรียมถ่ายโอน รพ.สต. ให้กับ อบจ. โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้เคยทำการวิจัยเพื่อประเมินการถ่ายโอนหน่วยบริการปฐมภูมิไปยัง อปท. และรูปแบบทางเลือกการกระจายอำนาจ
 
 
 
การถ่ายโอน รพ.สต.สู่ท้องถิ่น (อบต/เทศบาล หรือ อบจ.) HealthServ
 

มุมมองจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 


นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า จากการทบทวนบทเรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า การกระจายอำนาจด้านสุขภาพเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งส่งผลทั้งด้านดีและเสียต่อระบบสุขภาพ สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อการจัดการในระบบสุขภาพทั้งด้านทรัพยากรบุคคลและงบประมาณ โดยหลักการการกระจายอำนาจ ต้องคำนึงถึงข้อกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ และมี พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ในขณะเดียวกันการกระจายอำนาจยังต้องคำนึงถึงความสมดุลของส่วนกลางและท้องถิ่น ซึ่งอาจเป็น อบจ. หรือโครงสร้างองค์กรอื่นๆ ที่สามารถขยายและต่อยอดออกไปให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในทางอุดมคติ การกระจายอำนาจจะต้องมองเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนว่าประชาชนจะได้ประโยชน์และได้รับบริการที่มีคุณภาพดีกว่าเดิมหรือไม่น้อยกว่าเดิม เข้าถึงบริการดีมีประสิทธิภาพขึ้น โดยไม่กระทบความเป็นธรรมทางสุขภาพ เพราะเป็นเป้าหมายหลักของการกระจายอำนาจ
 
“ที่ผ่านมา สวรส. ได้รับมอบหมายจากทางกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาทางเลือกรูปแบบสำหรับการกระจายอำนาจ และได้มีการพัฒนาข้อเสนอรูปแบบการกระจายอำนาจแบ่งเป็น 2 รูปแบบ 4 ทางเลือก คือ 1.รูปแบบกระจายความรับผิดชอบ (Devolution) โดยการถ่ายโอน รพ.สต. และ 2.รูปแบบกระจายการมอบหมาย (Delegation) โดยการจัดตั้งเขตสุขภาพ ซึ่ง 4 ทางเลือกประกอบด้วย 1) การถ่ายโอน รพ.สต. ที่เหลือไปยัง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลตำบลที่มีศักยภาพ 2) การถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อบจ. 3) จัดตั้งเขตสุขภาพที่อยู่ภายใต้กำกับของ อปท. โดยอาศัยกฎหมาย อปท. และ 4) จัดตั้งเขตสุขภาพภายใต้คณะกรรมการอิสระ จากตัวแทนภาคส่วนต่างๆ” นพ.นพพร กล่าว
 
 

2 ทางเลือการถ่ายโอนและข้อดี/ข้อเสีย


ทางด้าน ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. กล่าวว่า ทางเลือกที่มีการกล่าวถึงในขณะนี้ คือ
  • ทางเลือกในการถ่ายโอน รพ.สต. ไปให้ อบต. และเทศบาล
  • กับทางเลือกในการถ่ายโอน รพ.สต. ไปให้ อบจ. แทนการโอนไปยัง อบต./เทศบาล
จากผลการศึกษาของ สวรส. ได้มีการเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัด ทั้ง 2 ทางเลือก จากประสบการณ์หลังถ่ายโอนในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา พบว่า ทางเลือกการถ่ายโอน รพ.สต. ไปให้ อบต.และเทศบาล ข้อเด่น คือ มีกฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจรองรับ เกิดการบริการตอบสนองต่อประชาชนในพื้นที่ เกิดความคล่องตัวในการบริหาร ผู้นำท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการนำพาการพัฒนาระบบสุขภาพโดยอาศัยภาษีท้องถิ่นอุดหนุน การเข้าถึงบริการง่ายขึ้นและกระตุ้นให้เกิดการซื้อและจัดบริการพื้นที่ เกิดงานด้านสาธารณสุขเชิงรุก เช่น การเยี่ยมบ้านดีขึ้น เพราะเป็นการสร้างฐานเสียงและมีข้อมูลเชิงลึกในการดำเนินงานของนักการเมืองท้องถิ่น
 
จาก งานวิจัยประเมินผลการถ่ายโอน รพ.สต. จำนวน 51 แห่งให้ อบต./เทศบาล ที่ผ่านมาพบว่า คุณภาพการบริการประชาชนใน รพ.สต. อยู่ในระดับเดิมหรือดีกว่าเล็กน้อย ผู้บริหาร อปท. พร้อมที่จะรับการถ่ายโอน บางแห่งยังมีข้อจำกัดด้านองค์ความรู้ในการจัดการ ส่วนผู้บริหาร กสธ. ยังไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนในระดับนโยบาย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยังไม่เคลื่อนไหวเชิงสนับสนุนอย่างชัดเจน และมีความเป็นห่วงระบบบริการสุขภาพที่จะไม่เชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ซึ่งการแยกเจ้าของสถานบริการทำให้เกิดการแยกระบบบริการออกไป ขาดความเชื่อมโยงกับกระทรวงสาธารณสุข การเมืองท้องถิ่นมีอิทธิพลสูงต่อเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อาจทำให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจในระดับพื้นที่
 
ผศ.ดร.จรวยพร กล่าวต่อไปว่า ส่วนทางเลือกในการถ่ายโอน รพ.สต. ไปให้ อบจ. จะเป็นทางเลือกที่เป็นการแก้ปัญหาที่ อบต. และเทศบาล ที่ขาดศักยภาพทางการเงินและการจัดการ เพราะ อบจ.มีภาระน้อยกว่าและมีสถานะการเงินที่ดีกว่า ซึ่งรูปแบบนี้ไม่ได้ห้ามหรือกีดกันการถ่ายโอน รพ.สต. แก่ อบต. และเทศบาลที่มีศักยภาพเพียงพอหรือไม่มีปัญหาทางการเงิน ทางเลือกนี้จึงเป็นเสมือนทางเลือกเสริมทางเลือกเดิมที่ สธ. ใช้ถ่ายโอนแก่ อบต. และเทศบาล ดังนั้นการดำเนินงานจึงสามารถทำได้เลยเพราะมีกฎหมายรองรับ ซึ่งมีข้อเด่นคือ อบจ. มีสถานะการเงินเข้มแข็ง ศักยภาพการบริหารจัดการที่มากกว่า อาจประสานงานกับส่วนกลางได้ง่าย บุคลากรใน รพ.สต. สามารถโยกย้ายกันได้ภายในจังหวัด แต่ข้อด้อยที่พบคือ การบริหารที่อยู่ระดับสูงกว่า อบต.และเทศบาล คือการใกล้ชิดประชาชนในพื้นที่จะน้อยลง การกำกับ รพ.สต. อาจทำได้ไม่ครอบคลุม บุคลากรที่มีไม่เพียงพอที่จะติดตามกำกับ และอาจสร้างกำแพงบริการที่ไม่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัด เกิดการกีดกันการส่งต่อข้ามจังหวัด เป็นต้น
 
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะถ่ายโอน รพ.สต. ให้ อบจ.นั้น ควรจะให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ อบจ. นั้น ได้ร่วมทำงานด้วยกันก่อน เพื่อจัดทำแผนการเตรียมความพร้อมในการจัดการด้านสาธารณสุข เช่น แผนพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย แผนการรองรับในภาวะวิกฤตและการติดต่อของโรคระบาด แผนในการวางระบบการจัดการด้านสุขภาพ นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นว่า อบจ. จะจัดการด้านสาธารณสุขได้อย่างมีมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุขควรมีหน่วยงานที่ดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการถ่ายโอน รพ.สต. ให้ อบจ. อย่างจริงจังและสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง หรืออาจพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดกลไก กระบวนการ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมของ อบจ. เพื่อรองรับการถ่ายโอน รพ.สต. โดยเลือกดำเนินการในจังหวัดที่ อบจ. มีความพร้อมก่อน

Hfocus
2019-07-02
ข่าว/ข้อมูลเกี่ยวข้อง

ถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ.  [source]

ก้าวทันการถ่ายโอน รพ.สต. สรุปจากเวทีสัมมนา 23-24 พ.ค.62
สรุปมติข้อเสนอต่อ กกถ. /กจ. /กรมส่งเสริม และ สธ. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
การถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. 76 จังหวัด ดำเนินการ 3 ระยะ ใน 2 ขั้นตอน
 
ระยะที่ 1 (ปี 2563)
1 ตุลาคม 2562
》นำร่องถ่ายโอน รพ.สต.ให้ อบจ.ที่มีความพร้อม ศักยภาพสูง ที่ได้ยื่นขอรับโอน รพ.สต. ไว้เป็นหนังสือต่อ สธ. (ผ่าน สสจ.) ก่อน 3 เม.ย.2562 โดยต้องเป็นมติ กกถ. ยกเว้นหลักเกณฑ์ประเมินของกระทรวงสาธารณสุข
 
ระยะที่สอง (ปี 2564)
》อบจ. รับถ่ายโอน 50%
 
ระยะที่สาม (ปี 2565)
》อบจ. รับถ่ายโอน 100%
 
ขั้นตอนที่ 1
》ระยะเตรียมการ และนำร่องถ่ายโอน รพ.สต. ให้ อบจ.
》 ปี 2562-2563
  • ให้นำร่องถ่ายโอนในจังหวัดที่ อบจ. ยื่นขอรับถ่ายโอนไว้แล้ว โดยต้องเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ และความพร้อมสูง 
  • ให้ กกถ. มีมติให้ กจ. ปรับปรุงแก้ไข ระเบียบ หลักเกณฑ์ ให้เอื้อต่อการถ่ายโอน 
  • ให้ อบจ. ที่ประสงค์รับถ่ายโอน รพ.สต. ตั้งกองสาธารณสุข (หรือกอง รพ.สต.) เป็นมาตรฐานกลางจาก กจ. ( ก.กลาง) ให้มี 3 ขนาด S M L ตามขนาดของ อบจ. และจำนวน รพ.สต.ที่รับโอน 
S กองขนาดเล็ก (รับถ่ายโอน รพ.สต. 50-100 แห่ง)
M กองขนาดกลาง (รับถ่ายโอน รพ.สต. 101-200 แห่ง)
L กองขนาดใหญ่ (รับถ่ายโอน รพ.สต. 200 แห่งขึ้นไป)
• ในอนาคต ให้มีการยกฐานะกองสาธารณสุข เป็นสำนักสาธารณสุข เมื่อมีปริมาณงานเพียงพอตามหลักเกณฑ์ ของ ก.กลาง
  • ให้ กจ. มีมติให้ อบจ. ที่รับถ่ายโอน ใช้โครงสร้างกรอบอัตรากำลัง รพ.สต. ของกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นมติ อกพ.กระทรวง เมื่อ 18 พ.ค. 2560 
  • ให้มีมติกำหนดตำแหน่ง ผอ. รพ.สต./ผอ.สอน. ที่ถ่ายโอนไปสังกัด อปท. มีฐานะเทียบกอง ตามที่ สธ. เคยออกคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข เทียบไว้แล้ว 
  • ให้ปรับเทียบตำแหน่ง ผอ.รพ.สต. / ผอ.สอน. ทั้ง 2 สายงาน ทั้งสายวิชาการ และสายทั่วไป (ที่มีวุฒิ ป.ตรี ทางสาธารณสุข) เป็นชื่อตำแหน่ง “นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม” แท่งอำนวยการระดับต้น และระดับกลาง 
  • ให้เทียบระดับข้าราชการ สธ. กับข้าราชการ อปท. ตามที่ ก.พ. เคยเทียบระดับตำแหน่งไว้แล้ว 
  • ให้ข้าราชการ สธ. ทุกตำแหน่งสายงานผู้ปฏิบัติที่รับโอน สามารถก้าวหน้าในระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับอาวุโส ได้ทุกตำแหน่ง 
  • ให้นับเกื้อกูล ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ในสังกัด สธ. เพื่อประโยชน์ในการสอบเลื่อนระดับที่สูงขึ้นในสังกัด อปท. 
  • ให้ อบจ. รับลูกจ้างทุกประเภท ในตำแหน่งสายงาน ที่ รพ.สต.จ้างไว้ตามกรอบอัตรากำลัง ดำเนินการจัดจ้างต่อไป 
  • ให้ อบจ. สอบคัดเลือกบรรจุลูกจ้างทุกประเภท ที่มีชื่อตำแหน่งตามโครงสร้างกรอบอัตรากำลัง เป็นข้าราชการท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เป็นกรณีพิเศษ 
  • สิทธิประโยชน์ค่าตอบแทนทุกฉบับ ให้ อปท. ถือใช้ระบียบ สธ. โดยอนุโลม 
  • สิทธิ พตส. และค่าตอบแทนวิชาชีพ ยังคงได้รับตามปกติ 
  • อัตราเงินเดือนข้าราชการที่ถ่ายโอนไป อปท. ให้เลื่อนไหลเหมือน ก.พ. 
  • สิทธิสวัสดิการ กบข.ไม่ต่ำไปกว่าเดิม 
  • สิทธิด้านการสหกรณ์ ยังคงสิทธิ เหมือนเดิม 
  • จัดให้มีโบนัส เหมือนข้าราชการ อปท. 
  • ให้มีการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคล การเงิน และการพัสดุ โดยการมอบหมายให้ ผอ.รพ.สต.ปฏิบัติราชการแทน เท่าที่ระเบียบฯ กำหนด 
 
ทั้งนี้ (…)
  • ให้มีคณะกรรมการ / คณะทำงานร่วมจำนวนหนึ่งคณะ เพื่อประสานและขับเคลื่อนภารกิจการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ.
  • ให้การแก้ไขปรับปรุงระเบียบ หลักเกณฑ์ ของ อปท. โดย กจ. เพื่อประโยชน์ในการถ่ายโอน ให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 ก่อนรับการถ่ายโอน ปี 2564 (เว้นแต่ อบจ. นำร่อง)
  • การถ่ายโอน รพ.สต. ให้รวม อสม. ด้วย
  • เมื่อการถ่าย รพ.สต. ไป อบจ. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ อบจ. สามารถรับโอน รพช. / รพท. ได้ตามกฎหมายกระจายอำนาจ
  • การถ่ายโอน ไม่รวมถึง สสอ. (เพราะไม่อยู่ในหลักการกฎหมายกระจายอำนาจ)
  • ให้มีคู่มือถ่ายโอน รพ.สต. ให้ อบจ.
  • ให้มีคู่มือการปฏิบัติงาน รพ.สต. ในสังกัด อบจ. ครอบคลุม 5 มิติ โดยยกคู่มือการปฏิบัติงาน รพ.สต.ของ สธ. มาถือใช้
 
สมศักดิ์ จึงตระกูล
ประธานชมรม ผอ.รพ.สต.
(ประเทศไทย) 26-05-2562
 
 
 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด