ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

12 ข้อแนะนำเพื่อการนอนหลับที่ดี

12 ข้อแนะนำเพื่อการนอนหลับที่ดี HealthServ.net
12 ข้อแนะนำเพื่อการนอนหลับที่ดี ThumbMobile HealthServ.net

แนวทางปฏิบัตินี้สามารถช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ปฏิบัติได้สำหรับโรคจากการนอนหลับชนิดอื่นๆ

การนอนหลับที่ดีทำอย่างไร
แนวทางปฏิบัตินี้สามารถช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ปฏิบัติได้สำหรับโรคจากการนอนหลับชนิดอื่นๆ
  1. รักษาเวลาตื่นนอนให้สม่ำเสมอทั้งในวันที่ทำงานและวันหยุด
  2. ถ้าคุณเข้านอนแต่นอนไม่หลับ และไม่สามารถหลับได้ภายใน 20 นาที ให้คุณออกจากห้องนอนและทำกิจกรรมเบาๆ  ห้ามไม่ให้นอนหลับนอกห้องนอน และกลับเข้าเตียงนอนเมื่อคุณรู้สึกง่วงเท่านั้น ทำซ้ำขั้นตอนนี้ได้บ่อยเท่าที่จำเป็นตลอดทั้งคืน
  3. ใช้ห้องนอนสำหรับการนอนหลับ มีเพศสัมพันธ์ และยามที่คุณป่วยเท่านั้น
  4. ถ้าคุณมีปัญหาการนอนหลบในตอนกลางคืน คุณไม่ควรงีบหลับช่วงกลางวัน ถ้าคุณงีบหลับพยายามงีบในช่วงเวลาเดียวกันของทุกๆวันและไม่ควรงีบเกิน 1 ชั่วโมง ในช่วงบ่าย (ไม่เกิน 15.00 น.) เป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับคนส่วนมาก
  5. ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น รับประทานอาหารว่างเบาๆ หรือ อ่านหนังสือประมาณ 10 นาที
  6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงกีฬาหนักๆ อย่างน้อย 6  ชั่วโมงก่อนนอน และควรออกกำลังกายเบาๆอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน
  7. รักษาตารางเวลาให้สม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหาร ยา ทำงานและกิจกรรมต่างๆให้ตรงเวลา จะช่วยรักษานาฬิกาชีวภาพภายในร่างกายเราให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งทำให้คุณหลับได้ง่ายและหลับอย่างเต็มที่ได้มากขึ้น
  8. อาหารว่างเบาๆก่อนนอนจะช่วยทำให้หลับได้สบายขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักๆก่อนนอน   
  9. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน เช่น กาแฟ ชา ป๊อปโซดาที่มีคาแฟอีน โกโก้ ช็อคโกแล็ต ภายใน 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
  10. ห้ามดื่มแอลกอฮอร์เมื่อคุณกำลังง่วงนอน เพราะปริมาณแอลกอฮอรลเพียงเล็กน้อยมีผลกระทบต่อกิจกรรม เช่น การขับรถ ห้ามดื่มแอลกอฮอรลน่วมกับการรับประทานยานอนหลับ หรือยาอื่นๆ (ปรึกษาแพทย์ก่อน) ห้ามใช้แอลกอฮอรลเพื่อช่วยให้คุณหลับในตอนกลางคืน เพราะแอลกอฮอรลอาจช่วยให้คุณหลับได้เร็ว แต่มีผลกระทบร้ายแรงต่อคุณภาพการนอนหลับตลอดทั้งคืน
  11. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนเวลาเข้านอน หรือในตอนกลางคืน
  12. ยานอนหลับควรใช้อย่างระมัดระวัง อย่าลืมบอกแพทย์ของคุณหากมีอาการเกี่ยวกับการหายใจขณะหลับ เช่น นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับเป็นช่วงๆ หรือ ตื่นขึ้นมาเนื่องจากหายใจไม่สะดวก หลังตื่นนอนมีอาการปวดศีรษะหรือคลื่นไส้ 

บทความโดยคณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
(ดัดแปลงจากบทความของสมาคมแพทย์โรคจากการหลับแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา)
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด