ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การบาดเจ็บบริเวณข้อมือและกระดูกหักนักกอล์ฟ

นักกอล์ฟถนัดมือขวา ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บบริเวณมือซ้าย (มือที่อยู่ใกล้เป้าหมาย) ระหว่างการทำวงสวิง มือซ้ายจะมีอาการเคลื่อนไหวในแนวเอียงมาทางนิ้วหัวแม่มือ (radial deviation) หรือภาษากอล์ฟเรียก ค๊อกกิ้ง (cocking) และเอียงกลับมาทางนิ้วก้อย (Ulnar deviation) หรือเรียก Uncocking มากกว่าการเคลื่อนไหวกระดกข้อมือและงอมือ การเคลื่อนไหวจากวงสวิงที่ไม่ดีหรือการซ้อมมากเกินไปทำให้มีการบาดเจ็บของเอ็นบริเวณข้อมือได้

 
การบาดเจ็บที่รุนแรงถึงขั้นกระดูกหักพบไม่บ่อยนักแต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับการเล่นกอล์ฟซึ่งบางคนเรียกว่า กระดูกหักนักกอล์ฟ (Golfer’s fracture) เนื่องจากด้ามไม้กอล์ฟไปกระแทรกบริเวณกระดูกข้อมือขณะที่โดนพื้นหรือตีออกจากรัฟ กระดูกข้อมือชิ้นนี้ เรียกว่า กระดูก Hamate ซึ่งมีส่วนยื่นคล้ายตะขอมาทางด้านฝ่ามือ เรียก Hook of Hamate อยู่ใกล้กับด้ามไม้กอล์ฟมาก
 
 
 
รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ของตำแหน่งกระดูก Hamate เอ็นที่งอนิ้วมือ (Flexor tendons) เส้น เลือดเส้นประสาท (Ulnar artery and nerve)
 
 
 
รูปที่ 2 การจับกริปที่ไม่ดีหรือวงสวิงที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ด้ามไม้กอล์ฟเสียดสีกับถุงมือซึ่งเป็น บริเวณตำแหน่งใกล้กับกระดูก Hamate ถ้ารุนแรงอาจทำให้กระดูก Hamate หักได้
 
ความสำคัญของกระดูกหักชนิดนี้ คือ มักจะไม่ได้รับการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ระยะแรก ๆ เนื่องจากอาการที่ได้รับหลังการบาดเจ็บไม่มากและไม่ค่อยชัดเจน ดูภายนอกอาจจะมองไม่เห็นความผิดปกติ นักกอล์ฟบางท่านที่กระดูกหักอาจรู้สึกเพียงเจ็บเล็กน้อย ไม่ค่อยมีแรง ตีไม่ได้ระยะ นักกอล์ฟหลายท่านรักษาเองไม่ได้ไปพบแพทย์ บางท่านอาจไปพบแพทย์ แต่ไม่พบว่ามีกระดูกหัก และไม่ได้ติดตามผลการรักษาต่อเนื่อง ทิ้งไว้นานเกินไปเป็นเดือนหรือหลายเดือน จนกระดูกเคลื่อนหรือไม่ติดแล้ว บางรายมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นเนื่องจากบริเวณที่กระดูกหักไปกดเส้นประสาทหรือเส้นเอ็น ทำให้นิ้วก้อยชาหรือเอ็นที่งอกระดูกนิ้วก้อยขาดได้
 
 
 
รูปที่ 3 ภาพ CT scan แสดงรอยหักของกระดูก Hamate (ลูกศรชี้)
การป้องกัน
• ด้ามไม้กอล์ฟควรมีขนาดที่เหมาะสมกับมือ และจับให้ด้ามไม้กอล์ฟพ้นออก มาจากฝ่ามือซ้ายเล็กน้อย
• การจับกริปให้ถูกต้องและศึกษาวงสวิงที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันการตีโดนพื้น
• ควรบริหารนิ้วมือให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการบีบสปริงมือหรือลูกเทนนิสบ่อย ๆ
• บริหารยืดเหยียดข้อมือให้เคลื่อนไหวในแนวเอียงไปทางนิ้วหัวแม่มือ – นิ้วก้อย (Cocking - Uncocking)
• บริหารข้อมือโดยใช้ตุ้มน้ำหนัก
 
 
 
รูปที่ 4 การบริหารกล้ามเนื้อแขนด้านหน้าโดยใช้ยกน้ำหนัก งอข้อมือ กระดกข้อมือ และหมุนข้อมือ
 
ข้อแนะนำสำหรับนักกอล์ฟ
• เมื่อมีการบาดเจ็บควรหยุดการเล่นกอล์ฟ ถ้ามีบริเวณที่กดเจ็บ จับกริป เคลื่อนไหวแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น จับไม่ได้แน่นหรือตีกอล์ฟไม่มีแรงควรพบแพทย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ควรกลับมาพบแพทย์ใหม่เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง เพราะการวินิจฉัยโดยการตรวจ X – ray ท่าปกติมักไม่เห็นรอยกระดูกหักอาจจะต้องพิจารณา X – ray ท่าพิเศษ เรียก Carpal tunnel view หรือ ตรวจด้วย CT Scan จึงจะเห็นรอยกระดูกหักได้
• การรักษากระดูกหักตั้งแต่แรก คือ การใส่เฝือก 6 – 8 สัปดาห์
• ถ้าทิ้งไว้นานเกิน 1 เดือน หรือกระดูกเคลื่อนแล้วใส่เฝือกรักษาไม่ได้ผลมักจะ ต้องรับการผ่าตัดรักษาเอาส่วนกระดูกที่หักออก
 
โดย นพ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ประจำรพ.วิภาวดี
จาก Golf lover’s Magazine
Healthy tips
6/6/2550 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด