ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment)

การรักษารากฟัน คือ การนำเอาเส้นเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงตัวฟันออกไป แล้วแทนที่ด้วยวัสดุบางอย่าง ...แล้วเมื่อไรที่ต้องรักษารากฟัน ? อ่านได้ที่นี่ค่ะ

 การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment)
 
การรักษารากฟัน คือ การนำเอาเส้นเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงตัวฟันออกไป แล้วแทนที่ด้วยวัสดุบางอย่าง เมื่อไรที่ต้องรักษารากฟัน
 
จะทำการรักษารากฟันเมื่อฟันผุหรือหักทะลุ โพรงประสาทฟัน ทำให้เชื้อโรคเข้าไปทำอันตรายประสาทฟัน เกิดการติดเชื้อของโพรงประสาทฟันอย่างรุนแรง จนไม่สามารถทำการอุดฟันได้ตามปกติ ถ้าปล่อยไว้โดยไม่รักษา เชื้อโรคจะเดินทางไปถึงรากฟันทำให้เกิดเป็น ถุงหนองที่ปลายรากฟัน ซึ่งถุงหนองที่ปลายรากฟันนี้จะสามารถทำลาย กระดูกขากรรไกรได้ด้วย 
 
ในฟันที่รับอันตรายจากแรงกระแทกหรือจากอุบัติเหตุ ทำให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงตัวฟันเสียหายหรือเสื่อมสภาพไป หรือ บางครั้งอุบัติเหตุทำให้ฟันมีรอยร้าวซึ่งมีผลทำให้เชื้อโรคต่างๆเข้าไปทำอันตรายประสาทฟันก็ได้ กรณีนี้ก็ต้องรับการรักษารากฟัน 
 
อาการที่มักจะแสดงให้เห็นจากสาเหตุข้างต้น คือ ปวดฟัน, ฟันมีสีคล้ำลงกว่าเดิม , มีหนองออกมาจากเหงือกบริเวณปลายรากฟัน , เหงือกบวม ซึ่งฟันเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการรักษารากฟัน ก็จำเป็นที่จะต้องถูกถอนออกไป 
 
ขั้นตอนในการรักษารากฟัน มีดังนี้
 
1. การเจาะฟันลงไปให้ถึงส่วนของโพรงประสาทฟัน จากนั้นทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือทำความสะอาดเส้นประสาทฟัน และเส้นเลือดในโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อหรืออักเสบ อยู่ออกจนหมด
2. บางครั้งทันตแพทย์อาจจะใส่ยาบางชนิดเพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจหลงเหลืออยู่ในโพรงประสาทฟันให้หมดแล้วอุดฟัน ด้วยวัสดุอุดชั่วคราวไปก่อน แล้วให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
3. เมื่อทันตแพทย์แน่ใจว่าไม่มีเชื้อโรคหรือ เนื้อเยื่อที่อักเสบอยู่ในโพรงประสาทฟันแล้ว ก็จะทำการอุดโพรงประสาทฟันนั้น ด้วยวัสดุเฉพาะ 
4. จากนั้นก็อุดตัวฟันเพื่อปิดทางไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาได้อีกต่อไป
 
 
 
การรักษารากฟันนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมักใช้เวลาในการรักษามากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจให้ทันตแพทย์รักษารากฟัน ผู้ป่วยต้องแน่ใจว่ามีเวลาเพียงพอที่จะมารับการรักษา โดยปกติจะใช้เวลารักษาประมาณ 2-4 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันที่จะรับการรักษา
 
อนึ่ง การรักษารากฟัน เป็นเพียงการที่จะพยายามเก็บฟันไว้ให้อยู่ในช่องปาก ได้นานที่สุดแทนที่จะต้องถอนออกไป ดังนั้น หลังจากการรับการรักษารากฟัน โดยสมบูรณ์แล้ว ฟันซี่นั้นอาจจะอยู่ได้อีก 1 ปี, 5 ปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ การมาตรวจฟันตามปกติยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ 
 
ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้ว จะเรียกว่าฟันตาย (non-vital tooth) โดยจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่เห็นได้ชัด คือ เนื้อฟันจะเปราะขึ้น แตกหัก ได้ง่ายขึ้น ฟันเปลี่ยนเป็นสีคล้ำลงกว่าเดิม 
 
ดังนั้น ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ ทำเดือยร่วมกับครอบฟัน (post & core) เพื่อให้ฟันนั้น มีความแข็งแรง และสวยงามดังเดิม 
 
ข้อมูลแหล่งที่มา http://www.siamdental.com/indexconf.htm
 
- ศูนย์ทันตกรรมวิภาวดี สามารถรักษาได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลัง ในกรณีที่รอยโรคที่ผุทะลุโพรงประสาทฟัน หรือฟันที่หกล้ม หักทะลุโพรงประสาทฟัน เราก็สามารถเก็บรักษาฟันซี่นั้นไว้ได้โดยการรักษารากฟัน
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด