ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ขับเคลื่อนกัญชง-กัญชาจากแปลงวิจัยสู่ครัวเรือน 6 ต้น หลังสธ.ออกกฎกระทรวง

ขับเคลื่อนกัญชง-กัญชาจากแปลงวิจัยสู่ครัวเรือน 6 ต้น หลังสธ.ออกกฎกระทรวง HealthServ.net
ขับเคลื่อนกัญชง-กัญชาจากแปลงวิจัยสู่ครัวเรือน 6 ต้น หลังสธ.ออกกฎกระทรวง ThumbMobile HealthServ.net

งานการรับรองพันธุ์ ตามพรบ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ปัจจุบันกรมได้มีการขึ้นทะเบียนแล้ว 1 พันธุ์คือ กัญชาพันธุ์อิสระ 01 เมื่อต้นเดือนก.พ.2564 ที่ผ่านมา

ขับเคลื่อนกัญชง-กัญชาจากแปลงวิจัยสู่ครัวเรือน 6 ต้น หลังสธ.ออกกฎกระทรวง HealthServ
    นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กรมวิชาการเกษตร ไปหารือกับคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)กระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงและกัญชา ภายหลังที่กฎกระทรวงสาธารณสุขมีผลบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าภายในเดือนก.พ. 2564 จะได้แนวปฏิบัติออกมาเพื่อให้ประชาชนที่สนใจจะปลูกรับทราบภายใต้การกำกับของ อย.  โดยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นพี่เลี้ยงทางด้านวิชาการ
 
“แนวปฏิบัติดังกล่าวจะครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การขออนุญาตปลูก การตรวจแปลง การตรวจสารยาในเมล็ด ไปจนถึงการจับคู่รับซื้อผลผลิตทั้งหมด จนถึงกระบวนการแปรรูป  เนื่องจากเป็นพืชควบคุม ทั้งนี้จะส่งผลให้ประชาชนทั่วไปที่ประสงค์จะปลูกสามารถยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตได้ที่คณะกรรมการระดับจังหวัด เพราะรัฐบาลต้องการให้นโยบายที่ออกมาสร้างอานิสงค์ทั้งการสร้างงานและการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ภายใต้กำกับของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”รมช.เกษตรฯกล่าว

ทั้งนี้แนวปฏิบัติประกอบด้วย

  1. การนำเข้าเมล็ดพันธุ์และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรจะเร่งดำเนินการประกาศให้เมล็ดพันธุ์กัญชาและกัญชงเป็นเมล็ดพันธุ์ควบคุมตามพรบ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2518 โดยในระหว่างรอประกาศ จะใช้ระเบียบและกฎเกณฑ์ของอย.ไปพรางก่อน เมื่อมีประกาศแล้ว ให้สองหน่วยงานบูรณาการในการรับรองใบอนุญาต
  2. การขออนุญาตปลูกเป็นของอย. ซึ่งจะมีคณะกรรมการระดับจังหวัด พิจารณาและรวบรวมรายชื่อผู้ปลูกและหลักฐานการยื่นให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดและหน่วยงานในกระทรวงเกษตรดูแล  ตั้งแต่การเตรียมแปลง ตามเก็บเกี่ยว และส่งผลการตรวจประเมินความสามารถของผู้ปลูกให้อย. และกระทรวงเกษตรฯ จะร่วมตรวจสอบการนำเข้าการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่าย การควบคุมการผลิตต้นกล้า และคุณภาพต้นกล้าเพื่อให้ได้คุณภาพตรงตามสายพันธุ์
  3. การทดสอบคุณภาพของกัญชา และกัญชง ผู้ปลูกและผู้ซื้อสามารถใช้อุปกรณ์ตรวจเบื้องต้นได้เอง และกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนให้เอกชนตั้งห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของสารสกัดจากกัญชาและกัญชง เพื่อให้การบริการประชาชนทั่วถึง
  4. การซื้อ-ขายกัญชาและกัญชง จะเป็นการซื้อ-ขายโดยตรงหรือระบบcontract farming ระหว่างผู้ซื้อและผู้ปลูก  รวมถึงการจัดตั้งตลาดกลางกัญชา ตลาดกลางกัญชง เป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขายที่มีกำหนดมาตรฐานสินค้า การกำหนดราคากลาง และการซื้อขายที่เป็นธรรมโดยให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง
 
       นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ภายหลังแนวปฏิบัติได้รับการเห็นชอบแล้วทั้ง 2 หน่วยงานจะมีการขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบายของรมช.เกษตรฯ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของกฎหมายที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบตลอดห่วงโซการผลิต  ในขณะที่กรมวิชาการเกษตรปัจจุบันได้เร่งงานวิจัยพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ที่เหมาะสมกับภูมิประเทศและภูมิอากาศของไทย โดยจะมีการลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ในระยะต่อไป ขณะที่งานการรับรองพันธุ์ ตามพรบ.พันธุ์พืช  พ.ศ. 2518  ปัจจุบันกรมได้มีการขึ้นทะเบียนแล้ว 1 พันธุ์คือ กัญชาพันธุ์อิสระ 01 เมื่อต้นเดือนก.พ.2564 ที่ผ่านมา
 
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านั้นกรมวิชาการเกษตรได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดทำโครงการปลูกกัญชา 6 ต้น โนนมาลัยโมเดล  ที่บ้านโศกนาค ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์  โดยให้คำปรึกษาด้านการขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง  การปลูก การดูแลรักษาเพื่อให้เป็นต้นแบบการปลูกกัญชาในระดับครัวเรือนและพร้อมสนับสนุนหากสธ.จะขยายการดำเนินการไปทั่วประเทศ
 
       อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวต่อว่า ปัจจุบันกรมได้มีแผนการวิจัยและพัฒนาพืชกัญชาและกัญชง โดยการรวบรวมและศึกษาขยายพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์การค้าต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ดี   และที่ศูนย์เชียงรายเป็นการทดลองปลูกในสภาพโรงเรือน การทดสอบสายพันธุ์คุณภาพเพื่อใช้ทางการแพทย์ การศึกษาการจำแนกกัญชาเพื่อรองรับการคุ้มครองพันธุ์พืช การวิจัยยีนและการแสดงออกของยีน  นอกจากนั้นได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์และทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชสกุลกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม ที่วิสาหกิจชุมชนเพ-ลา เพลินและวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชสมุนไพรไทยโนนมาลัย จ.บุรีรัมย์

กรมวิชาการเกษตร
10 กพ 64
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด