ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โดยแพทยสภา

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โดยแพทยสภา HealthServ.net

ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากการใช้กัญชาเพื่อรักษาและบรรเทาอาการของโรค
3 P safety = Personnel + Place + Product

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โดยแพทยสภา ThumbMobile HealthServ.net
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โดยแพทยสภา HealthServ
 
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ โดยแพทยสภา
แพทยสภา ใส่ใจแพทย์ ดูแลประชาชน
 
  1. ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากการใช้กัญชาเพื่อรักษาและบรรเทาอาการของโรค
    3 P safety = Personnel + Place + Product
    Personnel = แพทย์ต้องผ่านการอบรมจากหลักสูตรที่กรมการแพทย์รับรอง 
    Place = สถานพยาบาลที่ให้การรักษาต้องขึ้นทะเบียนกับ อย.
    Product = ต้องรู้แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์และได้รับการรับรองจาก อย.เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัย
  2. "กัญชา" ไม่ใช่ยาวิเศษที่ใช้ได้กับทุกโรคทุกอาการอย่างครอบจักรวาล 
    กัญชา ยังจัดเป็นยาเสพติด (ประเภท 5) แต่อนุญาตให้ใช้ในทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรค ได้เท่านั้น
  3. 4 กลุ่มโรค/กลุ่มอาการ ที่มีหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ 
    ยืนยันว่าได้ประโยชน์จากการใช้กัญชา 
    1. กล้ามเนื้อหดเกร็งจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
    2. ลมชักที่ดื้อต่อยาแผนปัจจุบัน (Intractable Epilepsy)
    3. ปวดประสาท (Neuropathic Pain)
    4. อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด (Nausea Vomiting)
    โรคอื่นๆ ที่อาจได้ประโยชน์จากกัญชา อยู่ระหว่างการศึกเพิ่มเติม
  4. "กัญชา" สามารถส่งผลข้างเคียงรุนแรง ต่อร่างกายและจิตใจ 
    "ห้าม" ใช้กัญชาในคนปกติเพื่อนันทนาการ โดยเด็ดขาด
  5. กัญชาสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการป่วยทางจิตรุนแรง
    โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติซึมเศร้าหรือป่วยด้วยโรคจิตเภทอยู่เดิม หรือมีประวัติ "คนในครอบครัว" ป่วยด้วยโรคทางจิต
  6. กัญชาอาจส่งผลให้ พิการ หรือ เสียชีวิต จากโรคหลอดเลือดสมอง และ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน
  7. กัญชาอาจทำให้เด็กปัญญาอ่อนหรือป่วยด้วยโรคจิตเภท
    "ห้าม" ใช้กัญชาในเด็กหรือผู้มีอายุน้อยกว่า 25 ปี
    ยกเว้นเด็กที่ป่วยด้วยโรคลมชักบางประเภท ซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาแผนปัจจุบัน
  8. "โรคมะเร็ง" ไม่ใช่ทางเลือกแรกของการรักษา
    ฤทธิ์ของกัญชาในการรักษามะเร็งเกือบทุกชนิดอยู่ในระหว่างการวิจัยทดลอง
    "ห้าม" ละทิ้งการรักษาในแผนปัจจุบัน ยกเว้นผู้ป่วยไม่สามารถรักษาด้วยวิธีแผนปัจจุบัน
  9. "ต้อหิน" กัญชาไม่มีฤทธิ์เหนือกว่ายาแผนปัจจุบัน
    แต่กลับจะส่งผลเสียต่อสมองและระบบประสาทมากกว่า
  10. "กัญชา" คือพืชสมุนไพร 
    ที่มีคุณสมบัติใช้เป็นยารักษาหรือบรรเทาอาการของโรคบางอย่างได้ มีทั้งคุณและโทษ อีกทั้งมีช่วงความปลอดภัยของปริมาณการใช้ (Safety marginal dose) ที่แคบมาก ออกฤทธิ์ต่อร่างกายทุกระบบ จึงจำเป็นต้องควบคุม ดูแลอย่างรอบคอบ
  11. "อย่า" ลองใช้กัญชาเองโดยพลการ!
    ทุกๆวัน ห้องฉึกเฉิน ต้องให้การรักษาผู้ป่วยอันเกิดจาก "ผลข้างเคียงรุนแรงของการใช้กัญชาที่ไม่เหมาะสม"
  12. กัญชา ความเชื่อ vs ความจริง
    ความเชื่อ : กัญชารักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้ 
    ความจริง : กัญชาเพียงแต่ช่วยให้อาการดีขึ้น เช่น ทานอาหารได้มากขึ้น คลื่นไส้อาเจียนลดลง นอนหลับพักผ่อนได้ดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น

    ความเชื่อ : กัญชาหาได้ง่ายๆ และมีความปลอดภัยสูง
    ความจริง : กัญชาเป็นพืชที่ดูดซับโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง และสารพิษจากดินได้ดี การใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชาโดยไม่รู้แหล่งผลิตที่ชัดเจนและไม่ผ่านการรับรอง จึงเป็นอันตรายมาก

    ความเชื่อ : กัญชาเป็นยาครอบจักรวาล "ของดี ราคาถูก" ทิ้งการแพทย์แผนปัจจุบันไป แล้วหันหน้าไปหากัญชากันดีกว่า
    ความจริง : กัญชาคือสารเคมีเหมือนยาแผนปัจจุบัน มีทั้งคุณและโทษ ฤทธิ์ส่วนใหญ่คือ ทุเลาอาการ ไม่ได้ทำให้หายจากโรค ใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้ "เท่านั้น" แล้ใช้ให้ถูกวิธี
  13. "ผลข้างเคียง" ของกัญชาที่รุนแรง 
    คือ สัญญาณชีพและความรู้สึกตัวผิดปกติ
    ส่วนใหญ่เกิดจากกการใช้กัญชาที่ไม่รู้ส่วนประกอบที่แน่ชัด (THC/CBD)
    ใช้ปริมาณมากเกินไป หรือ ออกฤทธิ์ทับซ้อนกับยาแผนปัจจุบัน
    แพทย์จำเป็นต้องให้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
    ผลข้างเคียงอื่นๆ
    • ความดันโลหิตแปรปรวนรุนแรง
    • ใจสั่น ชีพจรไม่คงที่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
    • สติสัมปชัญญะแปรปรวน
     
  14. "ทำไม" จึงต้องมีการควบคุมติดตามการใช้กัญชาอย่างใกล้ชิด?
    ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย จากการใช้กัญชาอย่างเหมาะสม
    กัญชาถูกใช้เพื่อรักษาโรค หรือบรรเทา อาการจากความเจ็บป่วยเท่านั้น 
    ผลิตภัณฑ์จากกัญชาที่นำมาใช้มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วย
  15. หลายๆ โรค ยังอยู่ระหว่างการพิสูจน์ 
    ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือว่า ได้ประโยชน์ (มากกว่าโทษ) จากกัญชา

    4 กลุ่มโรค/อาการที่เชื่อถือได้
    • อาการเกร็งจากปลอดประสาทแข็ง
    • คลื่นไส้ อาเจียนจากเคมีบำบัด
    • ลมชักบางประเภทที่ดื้อต่อยา
    • ปวดประสาท

    โรคอื่นๆ ที่เป็นความเชื่อว่ากัญชาช่วยได้ (ยังไม่มีข้อพิสูจน์)
    มะเร็งหายขาด เบื่ออาหาร อัลไซเมอร์ โรคสันนิบาต ต้อหิน  ซึมเศร้า เครียด พาร์กินสัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความจำเสื่อม โรค "เขาเล่าว่า" 
  16. ท่านทราบหรือไม่ว่า "การใช้กัญชาที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลอะไรต่อคนที่ท่านรัก"?
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด