ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คนยุคใหม่มีลูกยากขึ้น

คนยุคใหม่มีลูกยากขึ้น HealthServ.net
คนยุคใหม่มีลูกยากขึ้น ThumbMobile HealthServ.net

พญ.อัญชุลี สิทธิเวช สูตินรีแพทย์และแพทย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลวิภาวดี บอกว่า คนยุคใหม่มีลูกยากขึ้น ซึ่งก็มีการตั้งคำถามว่า ใครที่เป็น ปัญหา ผู้หญิงหรือผู้ชายมากกว่ากัน คำตอบ คือเท่าๆกัน ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ 40-40 หมายถึง ผู้หญิงเป็นสาเหตุประมาณ 40% ผู้ชาย 40% และเป็นปัญหาของทั้งคู่ประมาณ 10% อีก 10% คือไม่ทราบสาเหตุ

 

สาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก 

 
คือ “ช็อกโกแลต ซีสต์” หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่

ซึ่งเกิดจากการที่เลือดประจำ เดือนไหลย้อนกลับ คือ แทนที่เลือดจะออกมาทางช่องคลอดของผู้หญิงตามปกติ อาจจะมีเลือดประจำ เดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนกลับเข้าไปผ่านทางหลอดมดลูก แล้วก็เข้าไปในช่องท้องไปฝังตัวที่รังไข่ จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำขึ้น เมื่อผู้หญิงมีประจำเดือน ถุงน้ำดังกล่าวก็จะมีเลือดออกในถุงด้วย ในแต่ละเดือนที่ผ่านไป ถุงน้ำก็จะมีเลือดออกเพิ่มขึ้นๆ จนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีสีเหมือนช็อกโกแลต จึงเรียกว่า ช็อกโกแลต ซีสต์”


คุณหมออัญชุลี บอก พร้อม กับอธิบายต่อว่า นอกจากนี้ ผู้หญิงบางคนอาจมีภาวะของฮอร์โมนที่ผิดปกติ คือ มีฮอร์โมนเพศชาย ที่เรียกว่า แอนโดเจนสูงกว่าปกติ ทำให้ไข่ไม่ตกหรือตกผิดปกติ อีกอย่างคือผู้หญิงสมัยนี้แต่งงานช้า ซึ่งถ้าอายุเกิน 35 ปี โอกาสการมีบุตรก็จะยากกว่าคนที่อายุน้อยๆ

 
 

สาเหตุในผู้ชาย


สูตินรีแพทย์และแพทย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลวิภาวดี บอกว่า มีหลายสาเหตุ บางครั้งก็มาจากภาวะที่น้ำเชื้อมีปริมาณน้อย คุณภาพไม่ปกติ อสุจิที่แข็งแรงหรือเป็นตัววิ่งน้อยกว่าปกติ หรืออสุจิมีรูปร่างที่ผิดปกติ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อสุจิไม่แข็งแรง มีปริมาณน้อย และรูปร่างผิด ปกตินั้น ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความอ้วน และที่พบมากในช่วงหลังๆนี้ก็คือ การได้รับความร้อนหรือรังสีที่บริเวณอัณฑะเป็นเวลานาน เช่น การวางโน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต ที่มีรังสีและความร้อนไว้บนหน้าตักเป็นเวลานานๆ หรือแม้แต่การขับรถนานๆ เช่น คนที่มี อาชีพขับรถแท็กซี่ ที่มีการหนีบถุงอัณฑะอยู่ตลอดเวลา คนขี่มอเตอร์ไซค์ที่มีการกระแทกบริเวณอัณฑะ ทำให้การผลิตอสุจิมีความผิดปกติได้


 


งานวิจัยของ ดร.เรนี ชามูล และคณะ จาก มหาวิทยาลัยควีนส์ ประเทศอังกฤษ พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMW) ที่แพร่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือมีความสัมพันธ์ซับซ้อนกับฮอร์โมนเพศชาย โดยพบว่าผู้ชายที่ใช้โทรศัพท์มือถือมีระดับการหมุนเวียนของฮอร์โมนเพศ ชายเทสโทสเตอโรนสูง แต่กลับมีลูทีไนซิง ฮอร์โมน หรือ LH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเจริญพันธุ์ที่ต่อมใต้สมองผลิตออกมาต่ำ
 
ส่วนหนึ่งในงานวิจัยชิ้นนี้ ตั้งข้อสังเกตว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายออกมาจากโทรศัพท์มือถืออาจมีผลต่อระดับฮอร์โมนเพศชายและการเจริญพันธุ์ โดยคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าอาจเพิ่มจำนวนเซลล์ในส่วนที่ผลิตเทสโทสเตอโรน แต่ลดระดับแอลเอช ทำให้กระบวนการแปลงเทสโทสเตอโรนปกติให้เป็นฮอร์โมนที่มีศักยภาพในการผลิตอสุจิและความสามารถในการเจริญ พันธุ์ลดลง เช่นเดียวกับรายงานทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาที่ระบุว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊กต่างๆ มีส่วนทำให้จำนวนอสุจิของเพศชายลดลงประมาณ 10-20%

 
นอกจากนี้ ภาวะความเครียด ไม่ออกกำลังกาย การติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศท่อปัสสาวะอักเสบ มีประวัติการถูกกระแทกอย่างแรงบริเวณอัณฑะ ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการมีบุตรยากแทบทั้งสิ้น

 
คุณหมออัญชุลี ยังบอกด้วยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีบุตรเป็นที่ต้องการมากขึ้น บางคนมาพบแพทย์บอกว่า อยากมีลูกแฝด คือ ท้องทีเดียวให้ คุ้มไปเลย ตรงนี้แพทย์คงไม่สามารถที่จะทำให้ได้ เพราะจริงๆแล้วการท้องลูกแฝดถือเป็นการตั้งครรภ์ เสี่ยงในรูปแบบหนึ่ง ในการใช้เทคโนโลยีช่วยเรื่องการมีบุตรยากหลักๆ ยังคงเป็นการทำเด็กหลอด แก้ว โดยการย้ายตัวอ่อน กลับเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งมีเพียง 2-3 % เท่านั้นที่จะได้ลูกแฝด 2 คน และมีเพียง 1% เท่านั้นที่จะมีแฝดเกินกว่า 2 คน

 
“การทำเด็กหลอดแก้วไม่ว่าจะด้วยวิธีใดต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ชัดเจนว่า มีภาวะของการมีบุตรยากด้วยปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจึงจะทำได้ ในยุโรปมีกฎชัดเจนว่า ห้ามย้ายตัวอ่อนเกินกว่า 2 ตัวอ่อน ส่วนในเอเชีย ไม่มีกฎตายตัว ส่วนใหญ่เป็นการย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 3 ถึงวันที่ 5 ใส่เข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งโอกาส ที่จะตั้งครรภ์มีประมาณ 30% หลายคนจึงต้องทำอยู่หลายครั้งจึงประสบความสำเร็จ” คุณหมออัญชุลีบอก

 
ส่วนบรรดาหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ที่คิดว่าจะไปซื้อยา “ซิเดกร้า” หรือไวอากร้าสายพันธุ์ไทย ที่กำลังจะวางตลาดในวันสองวันนี้ มากินเพื่อช่วยให้มีลูกง่ายขึ้น ขอบอกว่าเป็นคนละเรื่อง ซิเดกร้าอาจจะช่วยให้เตะปี๊บดัง ปฏิบัติภารกิจขึ้นสังเวียนชกแบบไม่ยั้งได้นานขึ้น ถี่ขึ้น แต่ไม่เกี่ยวกับการมีลูก.
 
 
  
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด