ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ครม.อนุมัติปรับเกณฑ์ UCEP Plus เริ่ม 16 มี.ค.65

ครม.อนุมัติปรับเกณฑ์ UCEP Plus เริ่ม 16 มี.ค.65 HealthServ.net
ครม.อนุมัติปรับเกณฑ์ UCEP Plus เริ่ม 16 มี.ค.65 ThumbMobile HealthServ.net

8 มี.ค. 65 ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบตามที่สธ.เสนอ ปรับเกณฑ์รักษาป่วยฉุกเฉินวิกฤตโควิด-19 หรือ UCEP Plus โดยกำหนดให้ กลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง (เสี่ยงอาการรุนแรง) และผู้ป่วยสีแดง (อาการรุนแรง) ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง โดยไม่กำหนดระยะเวลา 72 ชั่วโมงแรก


UCEP Plus ย่อมาจาก Universal Coverage for Emergency Patients Plus คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจน พ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

ผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 มี.ค. 65 เป็นต้นไป


อธิบายเข้าใจง่ายๆ ตามสีของผู้ป่วย 

ผู้ติดเชื้ออาการสีเหลืองและสีแดง สามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่งจนหายป่วย

ส่วนผู้ป่วยอาการสีเขียว สามารถรับบริการที่โรงพยาบาลตามสิทธิสุขภาพของตนเอง ซึ่งจะเข้าระบบรักษาที่บ้านหรือชุมชน (HI/CI)  หากอาการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีแดง สามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นโดยใช้สิทธิ UCEP Plus ได้เช่นกัน 
 
ขณะที่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้จัดทำเกณฑ์ประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีโรคโควิด-19 (UCEP Plus) ดังนี้
  1. ภาวะหัวใจหยุดเต้น หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อก โคม่า 
  2. มีอาการไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส มากกว่า 24 ชั่วโมง หรือออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 94%
  3. มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ภาวะอ้วน หญิงตั้งครรภ์ ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น
 
สามารถโทรแจ้ง 1669 ประเมินอาการและรักษาเบื้องต้น และกรอกรายละเอียดอาการผ่านโปรแกรม PA ของ สพฉ. หากเข้าเกณฑ์ UCEP Plus จะสามารถใช้สิทธิได้ทันที 
 

เนื้อหาจากการประชุมคณะรัฐมนตรี 


หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
                   1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
 
                   2. ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยก่อนวันที่ 16 มีนาคม 2565 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม จนกว่าผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายตามเกณฑ์การพิจารณาจำหน่ายผู้ป่วยของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 
                   ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้มีผลใช้บังคับให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
 
                   3. ให้กระทรวงการคลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุขดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และดำเนินการค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน และกรณีค่าใช้จ่ายโดยไม่ปรากฏตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้าย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ให้ใช้บัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 โดยอนุโลม
 
                   4. ให้กองทุนของส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
 
                   5. ให้สถานพยาบาลซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาของรัฐ สภากาชาดไทย ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19))
 
 
สาระสำคัญ
 

1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))


มีสาระสำคัญ ดังนี้

1.1 กำหนดบทนิยามในหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ดังต่อไปนี้
 (1) คำว่า “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการการรักษาพยาบาล หรือการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ปรากฏตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้

(2) คำว่า “ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต” หมายความว่า ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน เฉพาะกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

(3) คำว่า “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน

1.2 กำหนดให้สถานพยาบาลต้องจัดให้มีการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและขีดความสามารถของสถานพยาบาลโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดูแลรักษา และให้สถานพยาบาลแจ้งต่อกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐทราบโดยเร็ว
 

1.3 กำหนดให้กรณีที่มีปัญหาการวินิจฉัยในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้ปรึกษาศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ตลอดเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง เพื่อดำเนินการวินิจฉัยโดยคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด
 
แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต และแบบแจ้งผลการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้เป็นไปตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด
 

1.4 กำหนดให้สถานพยาบาลต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
 

1.5 กำหนดให้กรณีมีความจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่น สถานพยาบาลต้องจัดการให้มีการส่งต่อตามความเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและตามมาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วยตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด โดยให้ส่งต่อได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

(1) สถานพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไปรักษาตัวในเครือข่ายสถานพยาบาลที่จัดไว้สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
(2) สถานพยาบาลมีศักยภาพไม่เพียงพอในการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
(3) ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือญาติมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น
 

1.6 กำหนดให้สถานพยาบาลจะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไปยังสถานพยาบาลอื่นในอัตราตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
 
กรณีสถานพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไปรับการดูแลรักษายังสถานพยาบาลอื่นตามข้อ 5 (1) หากผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือญาติปฏิเสธไม่ขอให้ส่งต่อ หรือกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือญาติประสงค์จะไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลอื่นตามข้อ 5 (3) ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง
 

1.7 กำหนดให้สถานพยาบาลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไปที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามแนวทางการเรียกเก็บที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
 

1.8 กำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตรวจสอบความถูกต้อง สรุปค่าใช้จ่ายและแจ้งให้กองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทราบภายในสามสิบวัน นับตั้งแต่เวลาที่ได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว
 

1.9 กำหนดให้กองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ จ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ให้แก่สถานพยาบาลภายในสิบห้าวัน นับจากวันที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแจ้งกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
 

1.10 กำหนดให้ในกรณีที่มีการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจากสถานพยาบาลแห่งที่หนึ่งไปยังสถานพยาบาลที่รับส่งต่อสถานพยาบาลนั้น จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ในอัตราตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
 

1.11 กำหนดให้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
 

1.12 กำหนดหมายเหตุท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน

(2) กรณีค่าใช้จ่ายใดไม่ปราฏตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ให้ใช้บัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวัน 28 มีนาคม 2560 โดยอนุโลม

 
 

2. การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

                   ในขั้นตอนต่อไป สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะกำหนดแนวทางและเกณฑ์การประเมินคัดแยกระดับความฉุกเฉิน (PA) Emergency Pre-Authorization ของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ประกอบการวินิจฉัยและคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19)
 
                   ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 รายละเอียด ดังนี้

2.1 ประชุมหารือการจัดการ HI/CI ร่วมกับกรุงเทพมหานคร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และภาคประชาสังคม

2.2 ประชุมการชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) สำหรับโรงพยาบาลเอกชน

2.3 ปิดรับสมัครงานตำแหน่ง พนักงานให้บริการ Contact Center เฉพาะกิจ COVID-19 (สายด่วน สปสช. 1330)

2.4 แจ้งขอถอนเรื่องและส่งคืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่งต่อผู้ปวยไปยังสถานพยาบาลอื่น จำนวน 2 ฉบับ ที่ส่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด