ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คลินิกประสานใจ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน

คลินิกประสานใจ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน HealthServ.net
คลินิกประสานใจ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน ThumbMobile HealthServ.net

ให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล และผู้ป่วย เวลาทำการ : ทุกวันจันทร์ (ช่วงบ่าย) : 13.00 - 16.00 น. สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 อาคารศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อาคารผู้ป่วย 20 ชั้น) เบอร์โทรศัพท์ : 0-2502-2345 ต่อ 3519,3256

คลินิกประสานใจ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน HealthServ
เวลาทำการ : ทุกวันจันทร์ (ช่วงบ่าย) : 13.00 - 16.00 น. สถานที่ตั้ง : ชั้น 4 อาคารศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อาคารผู้ป่วย 20 ชั้น) เบอร์โทรศัพท์ : 0-2502-2345 ต่อ 3519,3256



รายชื่อแพทย์คลินิกประสานใจ และวัน/เวลาออกตรวจ
 
พญ.สุชญาธิป ศุภณฐาพร
จันทร์ - สัปดาห์ที่ 1 เวลา 13.00 - 16.00
 
 พญ.ชญาณัสม์ เอี่ยมวรพงษ์
จันทร์ - สัปดาห์ที่ 2 เวลา 13.00 - 16.00
 
 นพ.พัชรพล พัชรพจนากรณ์
จันทร์ - สัปดาห์ที่ 3 เวลา 13.00 - 16.00
 
 พญ.ชนิกานต์ วงศ์ประเสริฐสุข
จันทร์ - สัปดาห์ที่ 4 , 5 เวลา 13.00 - 16.00

 


การบริการและการรักษา (Our Services)

ให้บริการในกลุ่มผู้ป่วยระยะท้าย และญาติที่ต้องการดูแลผู้แบบประคับประคอง (Palliative Care) ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน โดยมีขอบเขตการบริการดังนี้
  • บริการตรวจประเมิน การดำเนินโรค ความรุนแรงของโรค ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคที่จำกัดชีวิต (Life limitting illness) การเจ็บป่วยด้วยโรคที่คุกคาม และคาดการณ์ว่าทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 1 ปี ให้
  • บริการดูแลด้านการเจ็บป่วยที่เข้าเกณฑ์ Palliative ที่คุกคามแก่ชีวิต ตามเกณฑ์มาตรฐานโดยคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ความเชื่อ ศาสนา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมเป็นหลัก
  • ประเมินความพร้อมผู้ป่วยในวาระสุดท้ายที่มีการดูแลที่ซับซ้อน มีการพยาบาลค่อนข้างมาก เช่นการพลิกตัวและดูแลความสะอาดผู้ป่วย การดูแลและให้อาหารทางสายยาง การทำแผล การดูแลสายสวนปัสสาวะ หรือท่อหลอดลมคอ เป็นต้น
  • บริการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ดูแล (Caregiver) ให้ได้ทำหน้าที่ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องรวมถึงสนับสนุนให้ญาติเคารพในเจตนารมณ์ของผู้ป่วย
  • ประเมินปัญหาด้านจิตใจ สังคม และความเชื่อ รวมถึงความต้องการของผู้ป่วยด้านพิธีกรรมทางศาสนา
  • สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้เล่าถ่ายทอดความรู้สึก
  • ประเมินด้านการรับรู้เรื่องโรค ความรุนแรง และการดำเนินโรค
  • ประเมินภาวะซึมเศร้า ความกังวล อาการนอนไม่หลับ หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดคลื่นไส้อาเจียน รวมถึงช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการทุกข์ทรมานอื่นๆ
  • ประเมินความขัดแย้งในครอบครัว ความเหนื่อยล้าของผู้ดูแล ปัญหาค่าใช้จ่ายและการเงิน
  • ประเมินการรับรู้เรื่องเป้าหมายและแผนการรักษา ช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวค้นหาเป้าหมายการดูแลรวมทั้งช่วยวางแผนการดูแลร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว
  • ช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวค้นหา Unfinished Business (สิ่งที่ค้างคาใจ) ของผู้ป่วยและช่วยให้ได้รับการตอบสนองสมปราถนา
  • จัดหาระบบสนับสนุนเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตอยู่อย่างคล่องตัว
  • บริการส่งเสริม เพิ่มคุณภาพชีวิตตามการดำเนินของโรค ให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว
  • จัดบริการดูแลแบบประคับประคอง ควบคู่ไปพร้อมกับการดูแลด้านการรักษาตัวโรค ซึ่งมุ่งหวังยืดชีวิต เช่น การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด การฉายแสง รวมถึงการตรวจซึ่งช่วยในการจัดการภาวะไม่สุขสบายและการจัดการภาวะแทรกซ้อน
  • บริการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยและครอบครัว ที่ต้องการเขียนเจตนารมณ์ในวาระสุดท้ายของชีวิต
  • ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวยอมรับหลักการของชีวิต ความตายเป็นขั้นตอนปกติ ไม่เร่งหรือยื้อความตาย
  • จัดหาระบบสนับสนุนครอบครัวให้เผชิญกับความเจ็บป่วย ความทุกข์ และความเศร้าโศกสูญเสียได้
  • บริการตอบสนองความต้องการ เยียวยาครอบครัว ในภาวะโศกเศร้าหลังการสูญเสีย
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด