ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

[สปส] คลินิกโรคจากการทำงานและโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 116 แห่ง

[สปส] คลินิกโรคจากการทำงานและโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 116 แห่ง

[ประกันสังคมสิทธิประโยชน์ > กองทุนเงินทดแทน > คลินิกโรคจากการทำงาน ]

คลินิกโรคจากการทำงาน คืออะไร?
กระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญยิ่งของประเทศ โดยได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้ง “โครงการศูนย์โรคจากการทำงาน” ขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2548
 
1) วัตถุประสงค์
  • จัดให้มีระบบการดูแลสุขภาพและการวินิจฉัยโรคจากการทำงานของลูกจ้าง
  • ดูแล รักษา หลังจากการเกิดโรคและอุบัติเหตุ
  • พัฒนาคลินิกอาชีวเวชศาสตร์และเครือข่าย ตลอดจนแนวทางการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน
  • สร้างระบบป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นธรรม
 
 2) วิธีการเข้ารักษาที่คลินิกโรคจากการทำงาน

ลูกจ้างที่สงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน สามารถเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัยได้ที่คลินิกโรคจากการทำงาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยมีขั้นตอนในการเข้ารับบริการ ดังนี้
  1. ยื่นแจ้งการประสบอันตรายฯ ตามแบบ กท.16 ต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา เพื่อขอหนังสือส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่ให้บริการคลินิกโรคจากการทำงาน หรือติดต่อคลินิกโรคจากการทำงานโดยตรง
  2. กรณีถือบัตรรับรองสิทธิของโรงพยาบาลที่ให้บริการคลินิกโรคจากการทำงาน สามารถเข้ารับบริการได้ โดยติดต่อคลินิกประกันสังคมเพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้น หากพยาบาลที่คัดกรองโรคหรือแพทย์ผู้ทำการตรวจวินิจฉัยสงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน จะส่งต่อไปยังคลินิกโรคจากการทำงาน
  3. กรณีลูกจ้างเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยไม่ได้แจ้งการประสบอันตราย หากผลการตรวจวินิจฉัยพบว่า ลูกจ้างเจ็บป่วยจากการทำงาน ให้แจ้งนายจ้างยื่นแบบการประสบอันตรายฯ (กท.16) ต่อสำนักงานประกันสังคม ภายใน 15 วัน เพื่อให้โรงพยาบาลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนของกองทุนเงินทดแทน จากสำนักงานประกันสังคมโดยตรง
  4. กรณีผลการตรวจลูกจ้างไม่เจ็บป่วยจากการทำงาน ลูกจ้างไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากกองทุนเงินทดแทนให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่โรงพยาบาลแล้ว
 
 3) คลินิกโรคจากการทำงาน มีที่ใดบ้าง
สามารถตรวจสอบรายชื่อคลินิกโรคจากการทำงาน  
รายชื่อโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการคลินิกโรคจากการทำงานปี2563
 
สรุปจำนวนโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน 
  1. โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย จำนวน6 แห่ง 
  2. โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ จำนวน1 แห่ง 
  3. โรงพยาบาลสังกัด กระทรวงสาธารณสุขจำนวน 109แห่ง 
รวมจำนวนโรงพยาบาลทั้งสิ้น 
จำนวน116แห่ง
 
ภาคกลาง
สังกัดมหาวิทยาลัย2แห่ง
สังกัดกรมการแพทย์1แห่ง
และสังกัด กระทรวงสาธารณสุข21แห่ง
รวม24แห่ง
 
  1. โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ นครนายก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
  3. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานครกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  4. โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา(แม่ข่าย)พระนครศรีอยุธยา กระทรวงสาธารณสุข
  5. โรงพยาบาลสระบุรีสระบุรี  กระทรวงสาธารณสุข
  6. โรงพยาบาลพระพุทธบาทสระบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  7.  โรงพยาบาลปทุมธานีปทุมธานี กระทรวงสาธารณสุข
  8. โรงพยาบาลนครนายก นครนายก  กระทรวงสาธารณสุข
  9. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า นนทบุรี  กระทรวงสาธารณสุข
  10. โรงพยาบาลสิงห์บุรี สิงห์บุรี  กระทรวงสาธารณสุข
  11. โรงพยาบาลอ่างทอง อ่างทอง  กระทรวงสาธารณสุข
  12. โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชลพบุรี  กระทรวงสาธารณสุข
  13. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช(แม่ข่าย) สุพรรณบุรี  กระทรวงสาธารณสุข
  14. โรงพยาบาลราชบุรี ราชบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  15. โรงพยาบาลโพธารามราชบุรี  กระทรวงสาธารณสุข
  16. โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนากาญจนบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  17. โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17สุพรรณบุรี  กระทรวงสาธารณสุข
  18. โรงพยาบาลสมุทรสาคร(แม่ข่าย) สมุทรสาคร กระทรวงสาธารณสุข
  19. โรงพยาบาลนครปฐมนครปฐม  กระทรวงสาธารณสุข
  20. โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเพชรบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  21. โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า สมุทรสงคราม  กระทรวงสาธารณสุข
  22. โรงพยาบาลกระทุ่มแบนสมุทรสาคร กระทรวงสาธารณสุข
  23. โรงพยาบาลหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์  กระทรวงสาธารณสุข
 

ภาคตะวันออก 
สังกัดมหาวิทยาลัย1แห่ง
และสังกัด กระทรวงสาธารณสุข 15แห่ง  
รวม16แห่ง  
 
  1. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา  (ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ)
  2. โรงพยาบาลระยอง(แม่ข่าย) ระยอง  กระทรวงสาธารณสุข
  3. โรงพยาบาลพุทธโสธร(เมืองฉะเชิงเทรา)ฉะเชิงเทรา  กระทรวงสาธารณสุข
  4. โรงพยาบาลชลบุรี ชลบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  5. โรงพยาบาลสมุทรปราการ สมุทรปราการ  กระทรวงสาธารณสุข
  6. โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี จันทบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  7. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี  กระทรวงสาธารณสุข
  8. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สระแก้ว สระแก้ว กระทรวงสาธารณสุข
  9. โรงพยาบาลพานทอง ชลบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  10. โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีระยอง ระยอง กระทรวงสาธารณสุข 
  11. โรงพยาบาลตราด ตราด กระทรวงสาธารณสุข
  12. โรงพยาบาลบ้านฉาง ระยอง  กระทรวงสาธารณสุข
  13. สถาบันราชประชาสมาสัย (รพ.พระประแดง) สมุทรปราการ  กระทรวงสาธารณสุข
  14. โรงพยาบาลแกลง ระยอง  กระทรวงสาธารณสุข
  15. โรงพยาบาลบางพลี สมุทรปราการ  กระทรวงสาธารณสุข
  16. โรงพยาบาลอรัญประเทศ สระแก้ว  กระทรวงสาธารณสุข
 
ภาคเหนือ
สังกัดมหาวิทยาลัย1แห่ง
และสังกัด กระทรวงสาธารณสุข 23แห่ง 
รวม24แห่ง
 
  1. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
  2. โรงพยาบาลลำปาง (แม่ข่าย) ลำปาง  กระทรวงสาธารณสุข
  3. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เชียงราย กระทรวงสาธารณสุข
  4. โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ กระทรวงสาธารณสุข
  5. โรงพยาบาลน่าน น่าน กระทรวงสาธารณสุข
  6.  โรงพยาบาลพะเยา พะเยา กระทรวงสาธารณสุข
  7. โรงพยาบาลแพร่ แพร่  กระทรวงสาธารณสุข
  8. โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ แม่ฮ่องสอน กระทรวงสาธารณสุข
  9. โรงพยาบาลลำพูน ลำพูน กระทรวงสาธารณสุข
  10. โรงพยาบาลแม่เมาะ ลำปาง  กระทรวงสาธารณสุข
  11. โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง  กระทรวงสาธารณสุข
  12. โรงพยาบาลแม่จัน เชียงราย  กระทรวงสาธารณสุข
  13. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว น่าน  กระทรวงสาธารณสุข
  14.  โรงพยาบาลอุตรดิตถ์(แม่ข่าย) อุตรดิตถ์  กระทรวงสาธารณสุข
  15.  โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตาก  กระทรวงสาธารณสุข
  16. โรงพยาบาลแม่สอด ตาก  กระทรวงสาธารณสุข
  17.  โรงพยาบาลสวรรคโลก สุโขทัย  กระทรวงสาธารณสุข
  18. โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์  กระทรวงสาธารณสุข
  19.  โรงพยาบาลสุโขทัย สุโขทัย  กระทรวงสาธารณสุข
  20. โรงพยาบาลพิจิตร (แม่ข่าย) พิจิตร กระทรวงสาธารณสุข
  21. โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์ กระทรวงสาธารณสุข
  22. โรงพยาบาลอุทัยธานี อุทัยธานี  กระทรวงสาธารณสุข
  23. โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ชัยนาท กระทรวงสาธารณสุข  
  24.  โรงพยาบาลกำแพงเพชร กำแพงเพชร  กระทรวงสาธารณสุข
 
 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สังกัดมหาวิทยาลัย1แห่ง
และสังกัด กระทรวงสาธารณสุข27แห่ง
รวม28แห่ง
 
  1. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น 
  2. โรงพยาบาลขอนแก่น(แม่ข่าย) ขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
  3.  โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์ กระทรวงสาธารณสุข
  4. โรงพยาบาลมหาสารคาม มหาสารคาม  กระทรวงสาธารณสุข
  5.  โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด กระทรวงสาธารณสุข
  6. โรงพยาบาลสิรินธร ขอนแก่น  กระทรวงสาธารณสุข
  7. โรงพยาบาลอุดรธานี (แม่ข่าย) อุดรธานี  กระทรวงสาธารณสุข
  8. โรงพยาบาลนครพนม นครพนม กระทรวงสาธารณสุข  
  9.  โรงพยาบาลเลยเลย  กระทรวงสาธารณสุข
  10. โรงพยาบาลสกลนคร สกลนคร  กระทรวงสาธารณสุข
  11. โรงพยาบาลหนองคายหนองคาย  กระทรวงสาธารณสุข
  12. โรงพยาบาลกุมภวาปีอุดรธานี  กระทรวงสาธารณสุข
  13.  โรงพยาบาลวานรนิวาส สกลนคร  กระทรวงสาธารณสุข
  14.  โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (แม่ข่าย) นครราชสีมา  กระทรวงสาธารณสุข
  15. โรงพยาบาลชัยภูมิ ชัยภูมิ  กระทรวงสาธารณสุข  
  16. โรงพยาบาลสุรินทร์ สุรินทร์ กระทรวงสาธารณสุข
  17.  โรงพยาบาลนางรอง บุรีรัมย์ กระทรวงสาธารณสุข
  18. โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา นครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข  
  19.  โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ (แม่ข่าย )อุบลราชธานี  กระทรวงสาธารณสุข
  20. โรงพยาบาลมุกดาหาร มุกดาหาร  กระทรวงสาธารณสุข
  21. โรงพยาบาลยโสธร ยโสธร  กระทรวงสาธารณสุข
  22. โรงพยาบาลศรีสะเกษ ศรีสะเกษ กระทรวงสาธารณสุข
  23.  โรงพยาบาลอำนาจเจริญ อำนาจเจริญ กระทรวงสาธารณสุข
  24. โรงพยาบาลวารินชำราบ อุบลราชธานี กระทรวงสาธารณสุข
  25. โรงพยาบาลหนองบัวลำภู หนองบัวลำภู กระทรวงสาธารณสุข
  26. โรงพยาบาลบึงกาฬ บึงกาฬ กระทรวงสาธารณสุข
  27. โรงพยาบาลปราสาท สุรินทร์ กระทรวงสาธารณสุข
  28. โรงพยาบาลบ้านผือ อุดรธานี  กระทรวงสาธารณสุข
 
ภาคใต้
สังกัดมหาวิทยาลัย1แห่ง
และสังกัด กระทรวงสาธารณสุข24แห่ง
รวม25แห่ง
  1. โรงพยาบาลสงขลานครินทร์สงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (แม่ข่าย) สุราษฎร์ธานี  กระทรวงสาธารณสุข
  3. โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช กระทรวงสาธารณสุข
  4. โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ภูเก็ต กระทรวงสาธารณสุข
  5. โรงพยาบาลกระบี่กระบี่ กระทรวงสาธารณสุข
  6. โรงพยาบาลเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี กระทรวงสาธารณสุข
  7. โรงพยาบาลตะกั่วป่า พังงา กระทรวงสาธารณสุข
  8. โรงพยาบาลระนองระนอง กระทรวงสาธารณสุข
  9. โรงพยาบาลพังงาพังงา  กระทรวงสาธารณสุข
  10. โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ชุมพร กระทรวงสาธารณสุข
  11. โรงพยาบาลท่าโรงช้าง สุราษฎร์ธานี กระทรวงสาธารณสุข
  12. โรงพยาบาลหาดใหญ่ (แม่ข่าย) สงขลา  กระทรวงสาธารณสุข
  13. โรงพยาบาลตรัง ตรัง กระทรวงสาธารณสุข
  14.  โรงพยาบาลพัทลุง พัทลุง กระทรวงสาธารณสุข
  15.  โรงพยาบาลสงขลา สงขลา  กระทรวงสาธารณสุข
  16. โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ นราธิวาส กระทรวงสาธารณสุข
  17. โรงพยาบาลปัตตานี ปัตตานี กระทรวงสาธารณสุข
  18. โรงพยาบาลยะลา ยะลา กระทรวงสาธารณสุข
  19. โรงพยาบาลสตูล สตูล  กระทรวงสาธารณสุข
  20.  โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก นราธิวาส กระทรวงสาธารณสุข
  21. โรงพยาบาลเบตง ยะลา กระทรวงสาธารณสุข
  22. โรงพยาบาลจะนะ สงขลา  กระทรวงสาธารณสุข
  23.  โรงพยาบาลทุ่งสง นครศรีธรรมราช  กระทรวงสาธารณสุข
  24. โรงพยาบาลสะบ้าย้อย สงขลา กระทรวงสาธารณสุข
  25. โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี กระทรวงสาธารณสุข

กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานฯ
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน 
16 เมษายน 2563

 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด