ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ความเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ จากการทานอาหารในฤดูร้อน

ความเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ จากการทานอาหารในฤดูร้อน HealthServ.net
ความเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ จากการทานอาหารในฤดูร้อน ThumbMobile HealthServ.net

ฤดูร้อนมาถึง ความกังวลด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารก็ตามมาเสมอทุกปี เพราะอากาศที่ร้อนเป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียง่าย เสี่ยงต่อการเป็นโรคอาหารเป็นพิษ ท้องเสีย ท้องร่วง โดยเฉพาะกับเด็กๆ คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารให้ปลอดภัยจึงมีความสำคัญ ซึ่งรพ.ต่างๆได้ให้ข้อมูลไว้น่าสนใจและนำปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ได้

อาหารเป็นพิษ ในที่นี้หมายถึง อาการท้องเดิน (อุจจาระร่วง) เนื่องจากการกินอาหารที่มีสารพิษที่เกิดจากเชื้อโรคปนเปื้อน พบว่ามีเชื้อโรคหลายชนิดที่สามารถปล่อยสารพิษ (toxin) ออกมาปนเปื้อนในอาหารต่างๆ เช่น น้ำดื่ม เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ไข่ นม อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากนม เนยแข็ง ข้าว ขนมปัง สลัด ผัก ผลไม้ เป็นต้น
 
อาการท้องเดินนี้ เกิดได้ในคนทั่วไป ส่วนใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรง และทุเลาได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง สามารถให้การดูแลรักษาอย่างง่ายๆ ด้วยการทดแทนน้ำและเกลือแร่ด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ส่วนน้อยที่อาจรุนแรง จนต้องให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ก็ควรแยกแยะสาเหตุจากโรคอื่นๆ ที่จำเป็นต้องให้การรักษาด้วยยาต่างๆ เพิ่มเติม 
 

การเตรียมอาหารเพื่อลดความเสี่ยง

โรงพยาบาลวิภาวดี ได้ให้ข้อควรระวัง ที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ ดังนี้
  1. เลือกซื้ออาหารที่สด สะอาด ไม่มีรอยแตกหรือรอยช้ำ
  2. ล้างทำความสะอาดอาหารด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง
  3. ปรุงอาหารโดยผ่านความร้อนในอุณหภูมิสูง และนานพอที่จะทำให้อาหารปลอดภัย
  4. เลือกใช้ภาชนะปรุงอาหารที่สะอาด โดยเฉพาะเขียงที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์ ควรทำความสะอาดอยู่เสมอ
  5. หลีกเลี่ยงการจับต้องอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารที่พร้อมรับประทานมากที่สุด
  6. เตรียมอาหารให้เสร็จใกล้กับเวลาที่จะรับประทานมากที่สุด
  7. อาหารที่ต้องเก็บในตู้เย็น ควรนำเก็บในตู้เย็นให้เร็วที่สุดไม่ควรวางทิ้งไว้
  8. ควรเก็บรักษาอาหารให้พ้นช่วงอุณหภูมิอันตรายคือระหว่าง 5-60 องศาเซลเซียส จึงไม่ควรวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง
  9. ไม่ควรเก็บอาหารสุกและอาหารดิบไว้ด้วยกันเพราะเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
  10. ไม่ควรนำอาหารออกจากตู้เย็นก่อนเตรียมอาหารเกิน 20นาที
 
 


การเลือกรับประทานอาหาร                                            

ข้อควรปฏิบัติในการเลือกรับประทานอาหารที่จะช่วยให้หลีกเลี่ยงอาหารเป็นพิษได้ 
  • ปรุงอาหารให้สุกอย่างทั่วถึง 
  • ห้ามรับประทานอาหารดิบ หรือ ดิบ ๆ สุก ๆ โดยเฉพาะ อาหารประเภทเนื้อสัตว์
  • ควรรับประทานอาหารเมื่อปรุงเสร็จทันที หรือสุกใหม่ ๆ
  • เก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่างระมัดระวัง ในกรณีที่จะนำมารับทาน ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนรับประทานอีก สำหรับอาหารทารกต้องนำมารับประทานทันทีหลังปรุงสุก และไม่ควรเก็บไว้
  • หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนระหว่างอาหารด้วยกัน เพื่อไม่ให้อาหารที่ปรุงสุกแล้ว ปนเปื้อนกับอาหารดิบ เช่น การใช้มีด เขียง ต้องแยกระหว่างอาหารดิบและอาหารสุก  เป็นต้น
  • เลือกอาหารที่มีขบวนการผลิตที่ปลอดภัย
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสอาหาร และรับประทานอาหาร และภายหลังการใช้ห้องน้ำ อย่าใช้มือสัมผัสอาหารที่ปรุงสุกแล้วโดยตรง 
  • รักษาสิ่งแวดล้อมในครัวให้สะอาด โดยเฉพาะโต๊ะที่ใช้ปรุงอาหาร
  • น้ำดื่ม และ น้ำใช้ต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำสำหรับปรุงอาหารต้องสะอาด
  • ควรเพิ่มความระมัดระวังในเตรียมอาหารสำหรับทารกหรือเด็ก
  • กินอาหารร้อน สุก สะอาด ปราศจากสารพิษ
 
 
 

5 วิธีป้องกันอาหารเป็นพิษ

รพ.วิชัยยุทธ ได้ให้คำแนะนำ เพื่อเป็นการป้องกันและระมัดระวัง ไม่ให้เกิด "โรคอาหารเป็นพิษ" ซึ่งเป็นโรคที่จะเป็นประจำ จากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อน ไม่สะอาด  โดยลักษณะอาการของโรคอาหารเป็นพิษ นี้ จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอุจจาระร่วงได้  วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษมีดังนี้
 
  1. รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องการล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ให้สะอาด และล้างทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
  2. ควรรับประทานอาหารเมื่อปรุงเสร็จทันที หรือสุกใหม่ ๆ และไม่มีแมลงวันตอม ส่วนอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน
  3. ไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารดิบได้
  4. เมื่อละลายอาหารในช่องแช่เย็นแล้ว ไม่ควรวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง เพราะจะเป็นการเพิ่มปริมาณของเชื้อโรค
  5. รักษาความสะอาดของอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ เครื่องปรุงอาหารต่าง ๆ เครื่องใช้ในครัวและห้องครัวให้สะอาดอยู่เสมอ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด