ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต

คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต HealthServ.net
คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต ThumbMobile HealthServ.net

ใครที่ต้องการบริจาคโลหิต อยากรู้ไหมคะ ว่าคุณต้องมีคุณสมบัติ อย่างไรบ้าง สภากาชาดไทยมีคำตอบ รวมถึงการดูแลตัวเองก่อนมาบริจาคโลหิต และข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต

คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต

  1. อายุระหว่าง 17 ปีถึง 60 ปีบริบูรณ์
  2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี
  3. ไม่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
  4. ไม่เป็นไข้มาเลเรียมาในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่างๆ ไอเรื้อรัง ไอมีเลือด เลือดออกง่ายผิดปกติ โรคเลือดชนิดต่างๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
  5. ไม่อยู่ในระหว่างทานยาแก้อักเสบในระยะ 7 วันที่ผ่านมา
  6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติติดยาเสพติด
  7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัด คลอดบุตรหรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตมาต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)
  8. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์

การดูแลตัวเองก่อนมาบริจาคโลหิต

  1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  2. ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใดๆ
  3. ควรรับประทานอาหารมาก่อน และเป็นอาหารที่ย่อยง่ายไม่มีไขมัน
  4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  5. งดสูบบุหรี่ก่อน และหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต

  1. นอนพักบนเตียงสักครู่ ห้ามลุกจากเตียงทันทีจะเวียนศีรษะเป็นลมได้
  2. ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 1 วัน
  3. ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากเวียนศีรษะให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
  4. รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ดจนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
  5. หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะเป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ
  6. งดกิจกรรมที่ใช้กำลังและเสียเหงื่อที่ทำให้อ่อนเพลียได้
 
แล้วอย่าลืม ไปบริจาคโลหิตกันนะคะ ที่สภากาชาดไทย
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด