ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คุยเรื่องไตไขความจริง โรคไต 101 : สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ โรคไตเรื้อรัง

คุยเรื่องไตไขความจริง โรคไต 101 : สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ โรคไตเรื้อรัง HealthServ.net

โครงการ คุยเรื่องไต ไขความจริง โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เชิญ น.อ. หญิง พญ. วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี อายุรแพทย์โรคไต ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง มาให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคไต ในตอน โรคไต 101 มุ่งเสริมความเข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค ตลอดจนวิธีการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

คุยเรื่องไตไขความจริง โรคไต 101 : สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ โรคไตเรื้อรัง ThumbMobile HealthServ.net
คุยเรื่องไตไขความจริง โรคไต 101 : สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ โรคไตเรื้อรัง HealthServ
 

ความสำคัญของไตกับร่างกาย

 
โดยปกติคนเรามีไต 2 ข้างแต่กำเนิด ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีขนาดประมาณกำปั้นอยู่บริเวณบั้นเอวด้านหลัง ไตทำหน้าที่หลักในการขับของเสียต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายออกมาทางปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่อื่นๆ เช่น ควบคุมปริมาณน้ำ ปรับสมดุลระดับเกลือแร่และความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง และป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งหากไตทำงานผิดปกติจะนำมาซึ่งภาวะไตวายหรือโรคไตเรื้อรัง พร้อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายตามมา
 
 
 

โรคไตเรื้อรังเกิดจากอะไร ?

 
โรคไตเรื้อรังอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่โดยทั่วไปแล้วสาเหตุหลัก 3 อันดับแรกมักเกิดจาก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตอักเสบ ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและทวีป ซึ่งสำหรับประเทศไทย สาเหตุหลักของโรคไตเรื้อรังที่พบมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง อย่างเช่น การใช้ยาสมุนไพร การรับประทานยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบเองติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงการติดรับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสชาติเค็มจัด ทำให้ไตทำงานหนักเกินไปจนเกิดปัญหาไตเสื่อมและกลายเป็นโรคไตเรื้อรังในที่สุด
 
 
 
คุยเรื่องไตไขความจริง โรคไต 101 : สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ โรคไตเรื้อรัง HealthServ


เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง?

 
น.อ. หญิง พญ. วรวรรณ เผยว่า หากเริ่มสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าไตทำงานผิดปกติ เช่น สามารถขับปัสสาวะได้น้อยลง ทำให้มีน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการตัวบวม เช่น บริเวณหลังเท้า เมื่อใส่รองเท้าประเภทแตะคีบแล้วมีรอยชัด เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการของเสียคั่งในร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยไตวายระยะท้ายๆ จะรู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และนอนไม่หลับ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมีอาการแล้ว อาจหมายถึงสภาพของไตนั้นเข้าขั้นวิกฤติ
 
 
 

โรคไตเรื้อรังสามารถรักษาได้หรือไม่ และมีวิธีป้องกันอย่างไร?

 
ถึงแม้โรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะอวัยวะได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้วและจะเสื่อมลงจนถึงระยะที่เรียกว่าไตวายระยะสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลากหลายวิธีในการชะลอการเสื่อมของไตไม่ให้เข้าสู่โรคไตระยะสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมความดัน คุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และคุมอาหาร เช่น ไม่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนหรือมีความเค็มมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพรหรือยาแก้ปวดลดอักเสบเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งจะทำให้ช่วยยืดระยะเวลาในการเข้ารับการบำบัดทดแทนไตออกไปได้
 
 


 

วิธีป้องกันโรคไตเรื้อรัง


สำหรับคนทั่วไป วิธีป้องกันโรคไตเรื้อรังคือควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มมากเกินไป ห้ามซื้อยาสมุนไพรหรือยาแก้ปวดมาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ พร้อมทั้งควรดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว รวมถึงการเลิกสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดแล้ว บุหรี่ยังทำให้เกิดโรคไตวายได้อีกเช่นกัน ที่สำคัญคือห้ามกลั้นปัสสาวะ เพราะเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้เกิดการติดเชื้อบ่อยและส่งผลต่อไต ทำให้ไตเสื่อมและไตวายขึ้นมาได้
 
 
คุยเรื่องไตไขความจริง โรคไต 101 : สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ โรคไตเรื้อรัง HealthServ

 


 
นอกจากนี้อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไตที่โรงพยาบาลอยู่เสมอ ด้วยวิธีการตรวจเลือดเพื่อหาค่าของเสียครีเอตินีน (Creatinine) และการตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาว่ามีค่าโปรตีนรั่วหรือไม่ ซึ่งมีเพียง 2 วิธีนี้เท่านั้นที่จะสามารถวินิจฉัยและคัดกรองความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะเริ่มต้นได้
 
โครงการ “คุยเรื่องไต ไขความจริง” อัพเดทข่าวสาร สาระและความรู้เกี่ยวกับโรคไต โดยมีทีมแพทย์ เภสัชกร
นักกำหนดอาหาร และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ผลัดเปลี่ยนกันมามอบสาระความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกัน ดูแล และรักษาโรคไต

 
 
ผู้ที่สนใจสามารถติดตาม "คุยเรื่องไต ไขความจริง" และข้อมูลข่าวสารได้ทางเพจ Facebook สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย - The Nephrology Society of Thailand และทาง Hashtag #คุยเรื่องไตไขความจริง สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด