ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ระดับความดันสูงแค่ไหนถึงจะอันตราย

ระดับความดันสูงแค่ไหนถึงจะอันตราย HealthServ.net
ระดับความดันสูงแค่ไหนถึงจะอันตราย ThumbMobile HealthServ.net

เช็กให้ชัด วัดให้ชัวร์ ระดับความดันสูงแค่ไหนถึงจะอันตราย ค่าความดันโลหิตเท่าไหร่ที่เรียกว่าสูง ไปให้แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ให้คำอธิบายกันดีกว่า จะได้ชัดเจน

ระดับความดันสูงแค่ไหนถึงจะอันตราย HealthServ
เช็กให้ชัด วัดให้ชัวร์ ระดับความดันสูงแค่ไหนถึงจะอันตราย

ค่าความดันโลหิตเท่าไหร่ที่เรียกว่าสูง
กับ นพ. อภิชัย โภคาวัฒนา แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลสุขุมวิท ได้ให้ข้อมูลว่า 
 
โดยทั่วไป ความดันโลหิตที่เหมาะสมของคนปกติ จะต้อง ไม่เกิน 120/80 ม.ม.ปรอท (โดยควรวัดความดันหลังจากนั่งพักอย่างน้อย 30 นาที และ 1 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร ดื่มกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ ออกกำลังกาย) แต่หากมีความดันโลหิตสูงจะแบ่งได้ทั้งหมด 3 ระดับ 
ระดับที่ 1 ตัวบนเกิน 140-159 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 90-99 มม.ปรอท
ระดับที่ 2 ตัวบนเกิน 160-179 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 100-109 มม.ปรอท
ระดับที่ 3 ตัวบนเกิน ≥180 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน ≥110 มม.ปรอท
 
ทั้งนี้หากเกิดอาการผิดปกติหรือมีค่าความดันผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคเพราะการรักษาตั้งแต่มีอาการในระยะแรกมักมีผลลัพธ์การรักษาที่ดี

 
เช็กอาการที่ควรระวัง! ความดันสูง-ความดันต่ำที่ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสุขุมวิท 
Call center 24 ชม. : 02 391 0011
 

ค่าความดันโลหิตสำคัญอย่างไร ?

 
หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือด ออกซิเจน และสารอาหารผ่านหลอดเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย โดย ความดันโลหิต คือ แรงดันของเลือดที่ดันต้านกับผนังเส้นเลือดแดง ค่าความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่โดยปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ทางองค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า หากมีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งความดันโลหิตที่สูงจะส่งผลต่อหลอดเลือดในร่างกาย และทำให้หลอดเลือดเกิดการเสียหาย เป็นสาเหตุให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง อีกทั้งอาการของโรคความดันโลหิตสูง ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ หากปล่อยไว้โดยไม่รู้ว่าตนเองมีอาการดังกล่าว อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและเกิดภาวะฉุกเฉิน อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจขั้นรุนแรง อัมพฤต อัมพาตได้
 
 
สาเหตุความดันโลหิตเกิดจากอะไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ได้แก่
 
  • อายุที่เพิ่มขึ้น
  • ประวัติครอบครัวมีความดันโลหิตสูง (โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ หรือพี่น้อง)
  • ทานอาหารรสเค็มจัด (เนื่องจากปริมาณเกลือที่สูง ส่งผลให้ความดันสูงได้)
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • น้ำหนักเกิน (ตรวจวัดได้จากค่า BMI ไม่ควรเกิน 25)
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • สูบบุหรี่
  • การอดนอนสะสม

     
ทราบได้อย่างไรว่ามีความดันโลหิตสูง ?
วัดความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดัน ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบปรอท ซึ่งสามารถตรวจวัดด้วยตนเองที่บ้าน หรือจะมาตรวจวัดที่โรงพยาบาลก็ได้ ซึ่งการมาตรวจวัดที่โรงพยาบาลก็มีข้อดีตรงที่ มีบุคลากรให้คำปรึกษาได้ ทั้งเรื่องการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง และการปฏิบัติตัวเมื่อวัดความดันโลหิตแล้วพบว่าผลผิดปกติ
 

การรักษา
เริ่มแรกคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ทำให้เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง เช่น งดเค็ม ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น แต่หากควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้หรือระดับความดันโลหิตสูงมาก การรับประทานยาคืออีก 1 วิธีการในการรักษาที่ได้ผล ซึ่งในบางครั้งความดันโลหิตที่สูงมากจนอันตราย อาจได้รับคำแนะนำให้เริ่มทานยาลดความดันโลหิตควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปพร้อมกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะได้ผล แต่การกินยาจะมีผลในการลดความดันโลหิตได้ตั้งแต่เม็ดแรกที่ทาน
 
การป้องกัน
โรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ หรือลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้ โดยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ลดการดื่มคาเฟอีน ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่ 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด