ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตรวจตับ เช็คตับแข็ง ด้วยไฟโบรสแกน (Fibro scan)

ตรวจตับ เช็คตับแข็ง ด้วยไฟโบรสแกน (Fibro scan) HealthServ.net
ตรวจตับ เช็คตับแข็ง ด้วยไฟโบรสแกน (Fibro scan) ThumbMobile HealthServ.net

การป่วยตับอักเสบเรื้อรัง จะนำไปสู่อาการโรคตับแข็งและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อันตราย และจะกลายเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งตับ ตับวายและเสียชีวิตในระยะถัดมา จากการศึกษาพบว่า หากมีการตรวจพบอาการตับแข็งในระยะแรกเริ่ม จะช่วยในการวินิจฉัยและเริ่มการรักษาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของตับแข็งที่จะเกิดตามมาได้

ตรวจตับ เช็คตับแข็ง ด้วยไฟโบรสแกน (Fibro scan) HealthServ
แต่เดิม การตรวจโรคตับแข็ง ต้องใช้วิธีการตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ หรือตัดชิ้นเนื้อตับไปทดสอบ ซึ่งผลที่ได้ให้ความแม่นยำราว 70-80% ขณะที่ทั้ง 2 วิธี มีข้อจำกัดในหลายด้าน

การวินิจฉัยด้วย ultrasound พบว่ามีความแม่นยำเพียงร้อยละ 72-88 และยังมีปัจจัยของด้านความทันสมัยของเครื่องมือเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้การวินิจฉัยภาวะตับแข็งได้น้อยจากความเป็นจริง 

การเจาะตับ  จะก่อให้เกิดความเจ็บปวดในบางครั้ง และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดที่อาจเกิดจากข้อผิดพลาดในการสุ่มตรวจ การเจาะชิ้นเนื้อ ที่ให้ผลลบลวงได้ร้อยละ 30  ผู้จะทำการเจาะต้องเป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์ความชำนาญมาก และปัญหาใหญ่คือ ทุกข์ต่อผู้ป่วย ที่จะให้ทำการเจาะบ่อยและต่อเนื่อง เพื่อติดตามผลในการรักษา เป็นการเพิ่มความเสี่ยงอย่างมากต่อโรคอื่นๆ 
 

เครื่องไฟโบรสแกน (Fibro Scan) จึงเป็นทางเลือกใหม่ของการตรวจตับ ที่ไม่เสี่ยงต่อผู้ป่วย มีความแม่นยำสูง

 

หลักการเครื่องไฟโบรสแกน

เครื่องไฟโบรสแกน หรือ เรียกกันว่าเป็นเครื่องตรวจพังผืดและไขมันในตับ ใช้หลักการของคลื่นเสียงความถี่สูง วัดความยืดหยุ่นของเนื้อตับ  โดยการปล่อยคลื่นความถี่ต่ำเข้าไปในเนื้อตับ สัญญาความถี่สูง-ต่ำจะแปรเป็นรูปความเร็วคลื่น ที่สัมพันธ์โดยตรงกับความยืดหยุ่นของเนื้อตับ ออกเป็นค่าที่สามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย 

หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมาก ก็จะมีแรงต้านทานมาก

การวัดค่า

ความยืดหยุ่นของตับ (kPa ) Mean ± SD (range)
1. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรัง 6.5 ± 2.8 (2.8-18.8)
2. ผู้ป่วยโรคตับแข็ง 33.3 ± 19 (10.4-75) <0.005
3. อาสาสมัคร 4.2 (2.8-6.6) <0.003
 

ค่าความยืดหยุ่นของตับ โดยจำแนกตามสภาพของโรคตับ 
1. ตับแข็งระยะท้าย 43.4 ± 16
2. ตับอักเสบเรื้อรัง 6.5 ± 2.8 <0.005
3. ตับแข็งระยะแรก 24.16 ± 17 0.035


 
*การวัดความยืดหยุ่นของตับโดยใช้เครื่องไฟโบรสแกนเพื่อการวินิจฉัย
ภาวะตับแข็งในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง  [ลิงค์]
สุภัทศรี เศรษฐสินธุ์ พ.บ., ว.ว. อายุรศาสตร์, ว.ว. อายุรศาสตร์ทางเดินอาหาร1
* บุษบา ศุภวัฒน์ธนบดี วทม. ชีวสถิติ2

 

 

จุดเด่นของเครื่องไฟโบรสแกน

  • ใช้งานภายนอกร่างกาย มีความปลอดภัย คลื่นเสียงไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
  • ไม่มีความเสี่ยงจากวิธีการเจาะตับ (Liver biopsy) แบบเดิม ไม่มีการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อน
  • ทำได้หลายครั้ง และหลายตำแหน่ง  เป็นประโยชน์ต่อการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินและรักษา
  • ให้ความแม่นยำสูง วัดผลเป็นค่าเฉลี่ย ผลลัพธ์อ้างอิงกับมาตรฐานที่กำหนด 
  • รู้ผลเร็วใน 10 นาที
  • ไม่ต้องเตรียมตัวยุ่งยาก เพียงงดอาหาร 3 ชั่วโมงก่อนตรวจ
 

ข้อจำกัดของเครื่องไฟโบรสแกน

  • วัดได้ไม่ลึกมาก ระหว่าง 2.5-6.5 ซม.จากผิวหนัง จึงอาจไม่ได้ผลในคนอ้วนมากหรือผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้อง 
  • ผู้ป่วยที่ช่องซี่โครงแคบ อาจขัดขวางการส่งสัญญาณ
  •  
  • ใช้งานตรวจเฉพาะตับเท่านั้น ห้ามใช้ในอวัยวะอื่น
  • ใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยที่ติดอุปกรณ์ในร่างกาย เช่น pacemekers, defibrillators
  • ห้ามใช้ผู้ที่มีภาวะท้องมาน
  • ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์
 
 

ประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค

การตรวจไฟโบรสแกน จะวัดผล 2 ส่วน คือ ค่าปริมาณไขมันในตับและค่าตับแข็ง 
1. ปริมาณไขมันในตับ - เป็นเหตุของไขมันเกาะตับ หรือ ไขมันพอตับ นั่นเอง และอาจหมายถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้เช่นกัน
2. ค่าตับแข็ง - ระบุถึงภาวะตับ และเหตุของโรคตับที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบ มะเร็งตับ ตับอักเสบเรื้อรัง ตับวาย  
 
 

ใครที่ควรจะตรวจ

 
  • มีประวัติการดื่มสุราเป็นประจำ
  • มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
  • เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัส ตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C
  • มีประวัติ ไขมันเกาะตับ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • มีภาวะอ้วน
  • มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง
  • มีอาการอ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย



ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด