ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ความหมายคำนิยามการค้าชายแดนไทย แนวพรมแดน 4 ประเทศเพื่อนบ้าน

ความหมายคำนิยามการค้าชายแดนไทย แนวพรมแดน 4 ประเทศเพื่อนบ้าน HealthServ.net
ความหมายคำนิยามการค้าชายแดนไทย แนวพรมแดน 4 ประเทศเพื่อนบ้าน ThumbMobile HealthServ.net

ประเทศไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ (พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย) การค้าชายแดนมีมาเนิ่นนามนับหลายร้อยปี ปัจจุบันการค้าขายพัฒนาไปมากและมีหลายระดับตามรูปแบบการค้า จุดผ่านแดน ฯลฯ จึงควรรู้จักทำความเข้าใจคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนไทย ไว้สักเล็กน้อย

แนวพรมแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

ประเทศไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ได้แก่ พรมแดนด้านพม่า (เมียนมาร์) ยาว 2,202 กิโลเมตร พรมแดนด้านลาว 1,750 กิโลเมตร พรมแดนด้านกัมพูชายาว 798 กิโลเมตร พรมแดนด้านมาเลเซีย 576 กิโลเมตร โดยที่แนวพรมแดนส่วนใหญ่ยึดเอาแนวสันปันน้ำของภูเขา ทางน้ำหรือลำน้ำบริเวณแนวกลางของร่องน้ำที่ไหล แรงที่สุด เรียกว่า ร่องน้ำลึก ยกเว้นพรมแดนในแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสให้ถือเอาเกาะแก่งเป็นของลาวทั้งหมด แม้ว่าจะอยู่ ใกล้ฝั่งไทย (ยกเว้น 8 เกาะ) 
 
1. แนวพรมแดนระหว่างไทย-สหภาพพม่า หรือเมียนมาร์ ความยาว 2,202 กิโลเมตร ทอดไปตามร่องน้ำลึกของแม่น้ำ รวก แม่น้ำสาย ทิวเขาแดนลาว แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี และแม่น้ำกระบุรี (ปากจั่น) อยู่ในเขตพื้นที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง
 
2. แนวพรมแดนระหว่างไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความยาว 1,750 กิโลเมตร ทอดไปตามร่องน้ำลึก ของแม่น้ำโขงตอนบน แม่น้ำเหืองงา แม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขงตอนล่าง และทอดไปตามสันปันน้ำในทิวเขาหลวงพระบาง ทางตอนเหนือ และสันปันน้ำในทิวเขาภูแดนลาวทางตอนใต้ อยู่ในเขต จ.เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี
 
3. แนวพรมแดนระหว่างไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา ความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร นับจากอ่าวไทยทอดไปตามทิวเขา บรรทัด แม่น้ำไพลิน (หรือห้วยเขมร) คลองลึก คลองด่าน คลองน้ำใส ที่ราบแนวเส้นตรงคลองปากอ้าว (ปากอ่าว) และทิว เขาพนมดงรัก ในเขต จ.ตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

4. แนวพรมแดนระหว่างไทย-สหพันธรัฐมาเลเซีย ความยาว 576 กิโลเมตร ทอดไปตามสันปันน้ำของทิวเขาสันกาลาคีรี ร่องน้ำลึกของแม่น้ำโก-ลก ในเขต จ.สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส แนวพรมแดนแสดงความเป็นอธิปไตยเหนือพื้นที่ บริเวณนั้น แนวพรมแดนทางธรรมชาติ เหมาะสำหรับกีดขวาง ช่วยในการป้องกันข้าศึกรุกราน แต่ขัดขวางด้านการ คมนาคม ติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างมิตรประเทศ ในปัจจุบันนี้แนวพรมแดนจัดว่าเป็นแหล่งเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศ เพราะเปิดตลาดทำการค้าขายกันหลายแห่งกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะมีจุดชมวิวที่ สวยงามด้วย บางแห่งมีประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ โดยทั่วไปเป็นจุดที่อยู่ตรงช่องเขาหรือมีแม่น้ำกั้น

nectec.or.th

 

ความหมายคำนิยามการค้าชายแดนไทย 
 

1. การค้าชายแดน หมายถึง การส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรไทยไปประเทศ ที่มีพรมแดนติดไทยและการนำเข้าสินค้าจากประเทศดังกล่าว เข้าราชอาณาจักรไทยที่ดำเนินการ ณ ด่านที่ตั้งขึ้นบริเวณเขตแดนทางบก บนทางอนุมัติ เพื่อประโยชน์ในการตรวจของที่ขนส่งโดยทางนั้น ๆ ซึ่งครอบคลุมการส่งออกสินค้าไปนอกราชอาณาจักรไทยต่อไปยังประเทศที่สาม และ การนำเข้าสินค้าจากประเทศที่สามผ่านพรมแดนประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดไทยตามความ ตกลงด้านขนส่งระหว่างประเทศ (กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน)ร
 
2. การค้าผ่านแดน หมายถึง การส่งสินค้าออกฯ ผ่านพรมแดนประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดไทยไปยังประเทศที่สาม และการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่สามผ่านพรมแดนประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดไทยตามความตกลงด้านขนส่งระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันมีการจำแนกข้อมูลเฉพาะประเทศจีน(ตอนใต้) เวียดนาม และสิงคโปร์ เท่านั้น (กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน)
 
3. จุดผ่านแดน หมายถึง ด่านที่ตั้งขึ้น ณ ด่านพรมแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุม ของศุลกากร เพื่อให้การอำนวยความสะดวกต่อการค้าชายแดนเป็นไปอย่างถูกต้องรัดกุมและเหมาะสมกับสภาพในปัจจจุบัน (มาตรา 51 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560)
 
4. จุดผ่านแดนถาวร หมายถึง จุดผ่านแดนที่เปิดขึ้นตามความเห็นพ้องในระดับนโยบายของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อประโยชน์ต่อการค้าและการสัญจรของบุคคล ยานพาหนะ รวมทั้งการเดินทางเข้า-ออกของบุคคลจากประเทศที่สาม โดยเป็นไปตามระบบสากลที่เกี่ยวกับ การเดินทางและความตกลงในการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (สำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ)
 
5. จุดผ่านแดนชั่วคราว หมายถึง จุดผ่านแดนที่เปิดเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อเหตุฉุกเฉินจำเป็นเฉพาะคราวเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการค้า และในบริเวณนั้นหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีจุดผ่านแดนประเภทอื่น หรือมีแต่ไม่สามารถใช้ หรือไม่เหมาะกับการใช้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
 
6. จุดผ่อนปรนการค้า หมายถึง จุดผ่านแดนที่เปิดขึ้นเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ชายแดนทั้งสองประเทศ(สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
 
7. จุดผ่อนปรนพิเศษ หมายถึง จุดผ่านแดนที่เปิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเปิดจุดผ่านแดนในจุดที่ยังไม่สามารถเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ แต่เพื่อไม่ให้เสียโอกาสที่ประเทศจะได้รับ เพื่อประโยชน์ทางการค้า การท่องเที่ยว และการสัญจรของบุคคลและยานพาหนะ (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
 
 
กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน


ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด