ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.ตั้งเป้าฉีดวัคซีนเดือนมกราคม อย่างน้อย 9 ล้านโดส - ปี 65 จัดหา 120 ล้านโดส

สธ.ตั้งเป้าฉีดวัคซีนเดือนมกราคม อย่างน้อย 9 ล้านโดส - ปี 65 จัดหา 120 ล้านโดส HealthServ.net

แผนปี 2565 กำหนดจัดหาวัคซีนทั้งหมด 120 ล้านโดส 3 ชนิดวัคซีน คือแอสตร้าฯ ไฟเซอร์ และโปรตีนซับยูนิต

สธ.ตั้งเป้าฉีดวัคซีนเดือนมกราคม อย่างน้อย 9 ล้านโดส - ปี 65 จัดหา 120 ล้านโดส ThumbMobile HealthServ.net
   กรมควบคุมโรค ยืนยันวัคซีนทุกสูตรมีประสิทธิภาพดีป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรค  โควิด 19 ได้ทุกสายพันธุ์ ย้ำประชาชนวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มภูมิช่วยป้องกัน "โอมิครอน"
 
          15 มกราคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์และประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ว่า ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนไปได้แล้วกว่า 108 ล้านโดส ซึ่งในเดือนมกราคมนี้ กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าการฉีดวัคซีนให้ได้อย่างน้อย 9 ล้านโดส ขณะนี้ผ่านไปได้ครึ่งทางสามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้า


          เมื่อติดตามประเมินผลประสิทธิภาพของวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการวัดผลในพื้นที่จริง (Real World Effectiveness) พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพดีมาก ในการป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิดทุกสายพันธุ์ได้ถึง 90-100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งการฉีดสูตรปกติ สูตรไขว้ หรือบูสเตอร์โดส อีกทั้งยังสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีพอสมควร

          สิ่งที่สำคัญคือ ระยะเวลาในการฉีดวัคซีน หากผ่านพ้น 3 เดือนไปแล้วประสิทธิภาพจะค่อยๆ ลดลง เพราะฉะนั้นการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือบูสเตอร์โดสจึงเป็นเรื่องสำคัญ 


          จากข้อมูลบ่งชี้ว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 ทั้งสูตรแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และไฟเซอร์ (Pfizer) มีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนได้มากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์จากการระบาดที่จังหวัดกาฬสินธุ์
 
 
          นโยบายการบริหารจัดการวัคซีนเข็มกระตุ้นมีดังนี้
  1. ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac-AstraZeneca ครบในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้ฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน AstraZeneca 
  2. ผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็ม ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 ให้ฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน Pfizer 
  3. ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ให้ฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน AstraZeneca โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็ม 2 ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 ให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้นได้ภายในเดือนมกราคม 2565

          ส่วนผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อให้ฉีดวัคซีน AstraZeneca กระตุ้นได้ 1 เข็ม สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ แต่คนไหนที่ได้รับครบแล้วยังไม่ต้องกระตุ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

 


แผนจัดหาวัคซีนปี 2565

ปี 2565 กรมควบคุมโรค กำหนดแผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 เบื้องต้นไว้จำนวน 120 ล้านโดส และ ครม.ได้อนุมัติการจัดหาตามแผนนี้แล้ว  โดยแบ่งเป็น วัคซีนชนิดต่างๆ ได้แก่ 
  1. วัคซีน แอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 60 ล้านโดส 
  2. วัคซีนไฟเซอร์อีกราว 30 ล้านโดส 
  3. วัคซีนชนิดโปรตีนซับยูนิต (subunit vaccine) อีกราว 30 ล้านโดส - วัคซีนชนิดนี้จะเป็นวัคซีนใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ในประเทศไทยมาก่อน สถาบันวัคซีนแห่งชาติจะเป็นผู้เจรจาจัดหา 
"สำหรับวัคซีนปี 2565 จะเน้นการฉีดแบบกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กอายุ 5-11 ปี ขณะเดียวกันหากวัคซีนมีการพัฒนาสูตรใหม่ๆ สำเร็จก็จะมีการจัดส่งเข้ามา ซึ่งทั้งหมดจะต้องผ่านการทดลองที่มีข้อมูลยอมรับได้ และผ่านการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามขั้นตอน" นพ.โอภาส กล่าว

รายงานการฉีดวัคซีน 


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 15 ม.ค. 2565)
รวม 109,369,708 โดส ใน 77 จังหวัด
 
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 15 มกราคม 2565 

ยอดฉีดทั่วประเทศ 453,273 โดส
เข็มที่ 1 : 43,581 ราย
เข็มที่ 2 : 105,113 ราย
เข็มที่ 3 : 304,579 ราย
 
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 51,794,886 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 47,551,074 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 10,023,748 ราย
สธ.ตั้งเป้าฉีดวัคซีนเดือนมกราคม อย่างน้อย 9 ล้านโดส - ปี 65 จัดหา 120 ล้านโดส HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด