ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชา 16 ตำรับ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น

ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชา 16 ตำรับ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น HealthServ.net

โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้จัดทำคู่มือการผลิตและประกันคุณภาพตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ ตามบัญชีรายชื่อแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดย เภสัชกรศศิพงค์ ทิพย์รัชดาพร เป็นงานศึกษาวิจัยเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2562 ได้รับการสนับสนุนโดย กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชา 16 ตำรับ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น ThumbMobile HealthServ.net

ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชา 16 ตำรับ

 
คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ ตามบัญชีรายชื่อแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2562 จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับเทคนิคการผลิตตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ การเตรียมเครื่องยาไทยที่เป็นส่วนประกอบของตำรับก่อนใช้ปรุงยา และ การประกันคุณภาพตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ คู่มือเล่มนี้จะเป็นแนวทางในการผลิตตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้สามารถผลิตตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ และประชาชนผู้สนใจได้เข้าใจวิธีการปรุงตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ ตามหลักเภสัชกรรมแผนไทยมากที่สุด
 
 
ตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 16 ตำรับ และที่มา ดังนี้
 
1. ยาศุขไสยาศน์ : ที่มาของตำรับยา คัมภีร์ธาตุพระนารายน์
2. ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ  : ที่มาของตำรับยา ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
จารึกตำรายา วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
3. ยาทำลายพระสุเมรุ  : ที่มาของตำรับยา คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
4. ยาทัพยาธิคุณ  : ที่มาของตำรับยา คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
5. ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง : ที่มาของตำรับยา  ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
6. ยาแก้นอนไม่หลับ /ยาแก้ไข้ผอมเหลือง  : ที่มาของตำรับยา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
7. ยาไพสาลี  : ที่มาของตำรับยา อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
8. ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง  : ที่มาของตำรับยา อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
9. ยาแก้ลมแก้เส้น  : ที่มาของตำรับยา เวชศาตร์วัณ์ณณา
10. ยาอไภยสาลี เ : ที่มาของตำรับยา วชศึกษา พระยาพิศณุประสาทเวช
11. ยาอัมฤตโอสถ  : ที่มาของตำรับยา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
12. ยาแก้โรคจิต  : ที่มาของตำรับยา อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
13. ยาแก้สัณฑฆาต กร่อนแห้ง  : ที่มาของตำรับยา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
14. ยาอัคคินีวคณะ  : ที่มาของตำรับยา คัมภีร์ธาตุพระนารายน์
15. ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย  : ที่มาของตำรับยา ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
16. ยาไฟอาวุธ  : ที่มาของตำรับยา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
 
 
 

เกี่ยวกับที่มาของตำรับยา  และตำรับยาทั้ง 16 ตำรับ


กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ทำการทบทวนคัมภีร์ ตำรายาแผนไทยโบราณและจัดประเภทของตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 หมวด ตามคำจำกัดความ ดังนี้
 
หมวด ก. หมายถึง ตำรับยาที่มีประสิทธิผล มีความปลอดภัย วิธีการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อนตัวยาหาไม่ยาก และมีสรรพคุณตำรับที่แก้ปัญหาสาธารณสุข จำนวน 16 ตำรับ ประกอบด้วย
 
  • ยาศุขไสยาสน์
  • ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง
  • ยาแก้ลมแก้เส้น
  • ยาแก้สัณฑฆาต กล่อนแห้ง
  • ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ
  • ยาแก้นอนไม่หลับ/แก้ไขผอมเหลือง
  • ยาทาริดสีดวงทวารและโรคผิวหนัง
  • ยาอัคคินีวคณะ
  • ยาทำลายพระสุเมรุ
  • ยาไพสาลี
  • ยาอัมฤตโอสถ
  • ยาแก้เนาวนารีวาโย
  • ยาทัพยาธิคุณ
  • ยาอไภยสาลี
  • ยาแก้โรคจิต
  • ยาไฟอาวุธ
 
 
หมวด ข. หมายถึงตำรับยาที่มีประสิทธิผล แต่มีวิธีการผลิตไม่ชัดเจนและมีตัวยาหายากจำนวน 11 ตำรับ ประกอบด้วย
 
  • ยาแก้นอนไม่หลับ
  • ยาแก้หืดหอบด้วยเสมหะ
  • ยาน้ำมันละลอกพระสมุทร
  • ยาแก้ลมตีนมือตาย
  • ยาแก้ซาง
  • ยาวิสำพญากลาง
  • ยาแก้ปวดข้อ ประดง
  • ยาแก้เลือดไหลตามไรฟัน
  • ยาแก้ลมจุกเสียดแก้ลมสันดาน
  • ยาแก้ลมพิรุศวาโย
  • ยาแก้เสมหะเฟื่อง
 
 
หมวด ค. หมายถึง ตำรับที่มีกัญชาค่อนข้างน้อย หรือมีฤทธิ์ของกัญชาไม่มาก ควรให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม จำนวน 32 ตำรับ
 
  • ยาแก้สันทฆาตอันบังเกิดเพื่อกาฬ
  • ยาแก้มุศกายธาตุอติสาร
  • ยาแก้ไกษยดินไกษยกล่อน
  • ยาแก้ริดสีดวงอันบังเกิดในทางปัสสาวะ
  • ยาแก้ลมวารยักษวาโย
  • ยาแก้ลมยักขินีวาโย
  • ยานาดธิจร
  • ยาสิทธิจร
  • ยาแก้อุทธังคมาวาต 1
  • ยาสำราญนิทรา
  • ยาแก้ลมอัตพังคีวาโย
  • ยาแก้ลมอุทธังคมาวาตา
  • ยาแก้อุทธังคมาวาต 2
  • ยาแก้ลงแก้บิด
  • ยาแก้ป่วงหิว
  • ยาแก้ลมสิตะมัคคะวาโย
  • ยาวาตาวาธ
  • ยาคันทวาต
  • ยาแก้กล่อนปัตคาต
  • ยาแก้ปวดมุตคาต
  • ยาวาตาประสิทธิ
  • ยาฤษีสุรเทพ
  • ยาแก้ลมพรรดึก
  • ยาเบญจกูลกล่อมธาตุ
  • ยาแก้กร่อน แก้ลม
  • ยาแก้ธาตุพิการ
  • ยาแก้บิด
  • ยาสุขไสยาสน์
  • ยาประสระดอกพิกุล
  • ยาอัคคีวุธ
  • ยาแก้มุตกิดเลือด
  • ยาแก้ลมทาให้เส้นพิการ
 
 
หมวด ง. หมายถึง ตำรับยาที่มีส่วนประกอบอยู่ในอนุสัญญา CITES และ WHO ประกาศและตัวยาที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้จำนวน 31 ตำรับ
 
  • ยาสุขไสยาสน์แก้ไข้นอนไม่หลับ
  • ยาแก้บิดเลือดเน่าบิดเสลดเน่า
  • ยาแก้ริดสีดวงเปื่อย ทวารทั้ง 9
  • ยาแก้กระษัยท้นและกระษัยเสียด
  • ยาขับพิษสารพัดไม่ตัดกษัย
  • ยาแดงใหญ่ ย
  • าแก้ลมไกษยเสียด
  • ยาประทุมไสยาสน์จันทบุรี
  • ยาประสระทับทิม
  • ยาอำมะฤกควาที
  • ยาแก้ช้ารั่วหนองในทวาร
  • ยาแก้ลมสิตมัควาโย
  • ยาธรณีสันทฆาฏน้อย
  • ยาสว่างอารมณ์
  • ยามหาวัฒนะ
  • ยาทิพกาศ
  • ยาปัตฆาฏใหญ่
  • ยาธรณีไหว 2
  • ยาธรณีสันตฆาฎ
  • ยาธรณีไหว 1
  • ยาเหลืองวิเศษ
  • ยาแก้ประทุมไสยาสน์
  • ยาวิสำพยาใหญ่
  • ยาพรหมภักตร์
  • ยาแก้ลงท้อง
  • ยาทำให้อดฝิ่น
  • ยาแก้ไข้นอนไม่หลับ
  • ยาแก้ตกมูกเลือดตานโจร
  • ยาเข้าเหล็กใหญ่
  • ยาออกฝีลงเลือด
 
 
ซึ่งตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่หมวด ก. จำนวน 16 รายการตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศกำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อการรักษาหรือการ
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด