ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทฤษฎีสัมพันธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ทฤษฎีสัมพันธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ HealthServ.net
ทฤษฎีสัมพันธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ThumbMobile HealthServ.net

ปี 2548 ยูเนสโก้ ประกาศให้เป็น ปีฟิสิกส์สากล (International Year of Physics) เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี มหัศจรรย์ ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ปี 2548 นี้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ประกาศให้เป็น “ปีฟิสิกส์สากล” (International Year of Physics) เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีมหัศจรรย์ ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่สามารถคิดค้นทฤษฎีทางวิชาการให้แก่ชาวโลกถึง 5 ผลงานโดยเฉพาะผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ไอน์สไตน์มากที่สุด คือ “ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ” (Special Theory of Relativity) ที่คนทั่วโลกรู้จักกันดีในรูปของสมการ E=mc2 และต่อมากลายเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตระเบิดปรมาณู อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของยิว ช่วงที่เขาเสนอทฤษฎีก้องโลก เคยพูดติดตลกว่า “ถ้าทฤษฎีสัมพัทธภาพของผมได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง เยอรมันจะบอกว่าผมเป็นชาวเยอรมัน ส่วนฝรั่งเศสจะประกาศว่าผมเป็นประชากรของโลก” “แต่ถ้ามันเป็นทฤษฎีที่ผิด ฝรั่งเศสจะบอกว่าผมเป็นชาวเยอรมัน ส่วนเยอรมันจะประกาศว่าผม เป็นยิว” 

ไอน์สไตน์เกิดที่เมืองโฮล์ม ทางใต้ของเยอรมันเมื่อ 14 มี.ค. 2422 ในวัยเด็กเป็นคนชอบเก็บตัว เงียบขรึม เรียนรู้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันจนพ่อของเขาคิดว่าลูกชายเป็นเด็กโง่ด้วยซ้ำ จึงได้จ้างครูมาสอนพิเศษที่บ้าน แม้จะช่วยให้ไอน์ สไตน์พูดมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นเด็กเงียบขรึมอยู่ดี อายุ 5 ขวบ เมื่อพ่อส่งเข้าโรงเรียนก็ยิ่งสร้างความเบื่อหน่ายให้ไอน์สไตน์ เพราะเจ้าหนูไม่ชอบท่องจำจึงไม่น่าแปลกใจ ที่ไอน์สไตน์จะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิต ส่วนวิชาอื่น ๆ จัดอยู่ในขั้นแย่มาก กล่าวกันว่าจุดที่ทำให้ไอน์สไตน์หันมาสนใจวิทยาศาสตร์ เกิดจากวันหนึ่ง พ่อได้นำเข็มทิศมาให้เขาเล่น ขณะไอน์สไตน์อยู่ในวัย 5 ขวบ นอนป่วยอยู่บนเตียง เข็มทิศทำให้หนูน้อยรู้สึกฉงนใจว่า เหตุใดมันจึงชี้เด่ไปเฉพาะทางทิศเหนือ แต่นั้นมาเขาก็เริ่มแสดงความเป็นอัจฉริยะ แล้วปี 2448 ชาวโลกก็ได้รู้จัก “ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ” แม้จะผ่านมาแล้ว 1 ศตวรรษ แต่มีคนเข้าใจทฤษฎีปฏิวัติโลกนี้น้อยมาก ไอน์สไตน์เองยังเคยกล่าวว่า มีคนที่มีชีวิตอยู่เพียง 12 คนเท่านั้นที่เข้าใจในทฤษฎีของเขา

ครั้งหนึ่ง ไอน์สไตน์เคยอธิบายถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพแบบง่าย ๆ ว่า “เมื่อท่านนั่งอยู่กับสาวสวยน่ารัก ๆ คนหนึ่ง และคุยกันอย่างสนุกสนานในเวลา 1 ชม. ท่านจะคิดว่าเวลาผ่านไปเพียง 1 วินาที “แต่ถ้าท่านนั่งลงบนเตาไฟร้อน ๆ เพียง 1 นาที ท่านจะคิดว่าเป็น 1 ชม.” “นี่แหละคือความสัมพันธ์ของข้าพเจ้า” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ จากสถาบันวิชาการของสวีเดน เมื่อปี 2464 ตลอดระยะเวลา 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ประวัติชีวิตและผลงานของไอน์สไตน์ได้รับการตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเผยแพร่มากมาย ในโอกาสครบ 100 ปีมหัศจรรย์ (Miraculous Year) ของไอน์สไตน์ในปี 2548 นี้ ที่ทั่วโลกกำลังเฉลิมฉลอง สำหรับผู้ใฝ่ในการศึกษา สำนักพิมพ์มติชน ได้จัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับไอน์สไตน์ในภาษาไทยออกมา 3 เล่มด้วยกัน คือ

 1. “ก้าวพ้นกรอบไอน์สไตน์” เล่มนี้ รอฮีมปรามาท ที่เคยฝากฝีมือการแปลไว้กับ “ประวัติย่อของ “กาลเวลา”” แปลมาจาก “Beyond Einstein” หนังสือเฉพาะกิจของนิตยสารวิทยาศาสตร์ “ไซเอนทิฟิก อเมริกัน” ที่มีอายุกว่า 150 ปี ซึ่งเคยตีพิมพ์ผลงานสมัยแรก ๆ ของไอน์สไตน์หลายชิ้น “ก้าวพ้นกรอบไอน์สไตน์” รวบรวมทฤษฎีต่าง ๆ ที่ไอน์สไตน์คิดค้นและกลายเป็นรากฐานสำคัญของเทคโนโลยีหลากหลายชนิดในโลกปัจจุบันตลอดจนทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทฤษฎีขัดแย้งกับทฤษฎีของ ไอนสไตน์ 

2. “ความฝันของไอน์สไตน์” (Einstein’s Dreams) เป็นเรื่องราวของไอน์สไตน์ในรูปแบบนวนิยาย จับภาพในช่วงไอน์สไตน์กำลังหมกหมุ่นอยู่กับการคิดค้นทฤษฎีเกี่ยวข้องกับกาลเวลา จนเกิดความฝันแปลก ๆ ครั้งแล้ว ครั้งเล่า ผู้เขียนนวนิยายเล่มนี้ คือ อลัน ไลต์แมน เป็นอาจารย์ด้านฟิสิกส์แห่งสถาบันเทคโนโลยีเมสซาซูเซตส์ (MIT) ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายที่ดีที่สุดเกี่ยวกับไอน์สไตน์ ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ ผู้แปล กล่าวถึงนวนิยายเรื่องเยี่ยมเล่มนี้ ว่าเป็นจินตนาการที่ต่อยอดมาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ พาเราผ่านเข้าไปในโลกพิศวง เวลาในเรื่องไม่ได้เป็นอย่างที่เราคุ้นเคยท่องไปในแดนสนธยาของโลกสามสิบแบบ โลกที่เวลาไม่ได้เดินไปตามแบบแผนที่ควรจะเป็น 

3. “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” (Imagination is more important than knowledge) รวมวาทะของไอน์สไตน์ในหลากหลายแง่มุม อาทิ ศาสนา-ปรัชญา วิทยาศาสตร์ การศึกษา ความรัก และการเมือง เป็นหนังสือที่กึ่งไดอารี่ที่สามารถใช้จินตนาการไปด้วยอย่างไร้ขอบเขน พร้อมรูปหาดูยากของ ไอน์สไตน์ แม้จะเป็นวาทะที่ท่องผ่านกาลเวลามานานร่วม 100 ปี ทว่า ยังคงเป็นอมตะถึงวันนี้เหมือนกับชื่อของเขา

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด