ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำงานกับคอมพิวเตอร์อย่างมีความสุข

ทำงานกับคอมพิวเตอร์อย่างมีความสุข HealthServ.net

ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้จำเป็นต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน หรือการพักผ่อนหย่อนใจในโลกไซเบอร์ แต่ถ้าเราทำงานกับคอมพิวเตอร์อย่างไม่ถูกสุขลักษณะ จะก่อให้เกิดปัญหาในร่างกาย เช่น ภาวะปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เอ็นอักเสบ หรือวุ้นในตาเสื่อม เป็นต้น

ทำงานกับคอมพิวเตอร์อย่างมีความสุข ThumbMobile HealthServ.net

คำแนะนำ 10 วิธีปฏิบัติ เพื่อให้สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีความสุข
 
  1. ควรตรวจสายตาก่อนทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และตรวจวัดสายตาซ้ำเป็นระยะ ๆ
  2. ผู้ที่แพ้แสงสว่าง ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนปฏิบัติงานร่วมกับคอมพิวเตอร์
  3. ควรเปลี่ยนอิริยาบถ หรือยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะ ๆ ไม่ควรนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไป 
  4. จอจัดแสงที่จอแสดงภาพ (Monitor) ควรเหมาะสม คือไม่ควรมีแสงกระพริบ หรือวูบวาบ และควรมีความสว่างหรือความเข้มของแสงที่เหมาะสม คือ ควรปรับให้ ไม่สว่างหรือมืดเกินไป
  5. ระยะจากสายตามายังจอคอมพิวเตอร์ ควรมีมุมก้มประมาณ 20 องศา ระยะห่าง 18-22 นิ้ว
  6. การวางตำแหน่งมือที่แป้นพิมพ์ ข้อศอก ควรตั้งฉากกับลำตัว(ประมาณ 90-120 องศา) เพื่อลดแรงยกที่หัวไหล่
  7. การจับ Mouse ไม่ควรให้ข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่บิดเอียงออกทางด้านนอกลำตัว ควรจับในท่าที่ข้อมือเอียงหรือบิดน้อยที่สุด
  8. เก้าอี้ ควรสามารถปรับระดับสูงต่ำ ตามสรีระของผู้ใช้งานได้ และต้องมีพนักพิงที่ปรับระดับได้ และที่พักแขน ส่วนเบาะรองนั่งควรมีลักษณะโค้งลาดลง ไม่เป็นสันคม และไม่กดที่ใต้ตำแหน่งของเข่า
  9. จอแสดงภาพต้องสามารถปรับมุมก้มเงย หรือเอียงได้
  10. หากปวดกล้ามเนื้อหรือเอ็นเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์
 
ที่สำคัญ การทำงานทุกการทำงานต่อเนื่องกัน 2 ชั่วโมง ควรมีการหยุดพักประมาณ 10 นาที ด้วยนะครับ 
 
ขอบคุณหนังสือ วิทยาการจัดสภาพงานเพื่อเพิ่มผลผลิตและความปลอดภัย และหนังสือสุขอนามัยของผู้ทำงานกับคอมพิวเตอร์
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด