ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำไมจึงไม่ควรตัดกัญชาจากบัญชียาเสพติด

ทำไมจึงไม่ควรตัดกัญชาจากบัญชียาเสพติด HealthServ.net
ทำไมจึงไม่ควรตัดกัญชาจากบัญชียาเสพติด ThumbMobile HealthServ.net

ข้อมูลจากการเสวนาวิชาการเรื่อง มองรอบด้าน : ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือที่จะตัดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติด โดยศศก. ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย


ทำไมจึงไม่ควรตัดกัญชาจากบัญชียาเสพติด

มีอีกข่าวที่ไม่ค่อยมีคนสนใจ แต่จิตแพทย์หลายคนเห็นว่าสำคัญมาก ไม่ควรปล่อยผ่าน
 
ในการประชุมครม.ที่ผ่านมา มีดำเนินการการถอดพืชกัญชาและกัญชงออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 โดยมีการเน้นย้ำว่าเป็นการส่งเสริมเพื่อใช้ทางการแพทย์ อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเสริม สมุนไพร (โดยอนุญาตเฉพาะส่วนที่มีการสกัด THC ไม่เกิน 0.2% ถ้ามากกว่านั้นยังคงเป็นยาเสพติด)
 
หมอคิดว่าการใช้ทางการแพทย์นั้นก็เห็นด้วย แต่ไม่เห็นด้วยในการถอดออกจากบัญชียาเสพติด 
เพราะขนาดยังไม่ได้มีการถอด ก็มีข้อมูลว่าการใช้กัญชาในคนไทยอายุ 12 ปีขึ้นไป ยังเพิ่มขึ้น 3.5-3.6 เท่าจากปี 2559 (ข้อมูลจาก ป.ป.ส.) 
 
ตัวเลขนี้เพิ่มหลังการอนุญาตให้มีการใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ 
นอกจากนั้นข้อมูลจากศูนย์ศึกษาปัญหายาเสพติดพบว่า มีคนกว่า 1 ล้านคนที่ใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการ นับเป็นตัวเลขที่สูง
 
จิตแพทย์มากมายที่มีคนไข้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตและจิตเวชเพราะใช้กัญชา โดยสาร THC ในกัญชา เกิดผลกระทบกับสมอง บางคนมีอาการประสาทหลอนได้ หูแว่ว หวาดระแวง และหลังจากเลิกใช้บางคนก็ไม่หายจากอาการเหล่านี้ กลายเป็นโรคทางจิตเวชเรื้อรัง บางคนมีอาการไปตลอดชีวิต แม้ทางรัฐบาลกล่าวว่าจะมีการควบคุมสาร THC ไม่ให้มีเกิน 0.2%นั้น ก็มีความกังวลว่าจะควบคุมได้จริงหรือไม่ในทางปฏิบัติ 
 
มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ที่ให้ข้อมูลว่ามารดาที่ตั้งครรภ์และใช้กัญชา THC จะทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์สมองทารกบางส่วนเปลี่ยนแปลงไป
 
การศึกษาในกลุ่มวัยรุ่น ส่งผลทำให้ระดับไอคิวสติปัญญา รวมถึงการเรียนรู้ด้านภาษาเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อเซลล์สมองและการเรียนของวัยรุ่น นอกจากนั้นในผู้ใหญ่ก็มีการศึกษาว่ามีผลกระทบโดยเฉพาะต่อความสามารถในการตัดสินใจ
 
นอกจากนั้นมีการศึกษาแบบ Metaanalysis พบว่ากัญชามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคจิตเภทนอกจากนั้นอาจทำให้เกิดการกำเริบของโรคทางจิตเวชอื่นๆ เช่น ไบโพลาร์ด้วย
 
ทราบว่าเรื่องนี้จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) เป็นการพิจารณาขั้นสุดท้ายในวันนี้ค่ะ คงต้องรอดูว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
 
หมายเหตุ: ข้อมูลจากบทความนี้นำมาจากการเสวนา เสวนาวิชาการเรื่อง “มองรอบด้าน : ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือที่จะตัดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติด” โดยศศก. ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ไปชมแบบเต็มๆ ได้ที่ https://fb.watch/aKphIu6Yj5/

#หมอมินบานเย็น
“ข้อมูลของ ศศก.ที่พบว่ามีการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการกว่า 1 ล้านคนถือว่าสูงมาก ขณะที่ต่างประเทศทำการมอนิเตอร์มา 10 ปี พบว่ามีการใช้ THC ในปริมาณที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ  เราไม่คัดค้านที่จะให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะปลดกัญชาออกจากยาเสพติดทั้งหมด”
-------------------------
รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติค .(ศศก.) 
“เห็นด้วยกับการนำพืชและผลิตภัณฑ์กัญชามาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่พืชหรือผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เกิน 0.2% ก็ยังควรถูกควบคุมการผลิตและใช้อยู่”
-----------------
ศ.นพ.มานิต ศรีสุรภานนท์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 
 “ส่วนตัวไม่ได้คัดค้านการใช้กัญชาทางการแพทย์ แต่การจะปลดออกจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 ตนยังไม่เห็นด้วย ต้องคิดให้รอบคอบเพื่อเป็นการคุ้มครองคนไทยโดยรวมจริง ๆ การคุมสารสกัด THC ไม่ให้เกิน 0.2% ถามว่าในชีวิตจริงหน่วยงานใดจะสามารถตรวจสอบได้อย่างทันท่วงทีและครอบคลุมทั้งประเทศ”
----------------------
รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
“เราเห็นด้วยกับการใช้ประโยชน์จากกัญชาในทางการแพทย์ แต่เราไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกกัญชาจากการเป็นยาเสพติด”
--------------------------
วัชรพงศ์ พุ่มชื่น
ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด