ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ท้องเสียสลับท้องผูก สงสัยอาจเป็นโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน (IBS)

ท้องเสียสลับท้องผูก สงสัยอาจเป็นโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน (IBS) HealthServ.net

โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน หรือ โรคไอบีเอส (IBS - Irritable Bowel Syndrome) โรคที่ฟังดูน่าประหลาดนี้ อธิบายถึงการทำงานที่ผิดปกติไปของ "ลำไส้" แต่ไม่พบความผิดปกติที่ลำไส้ หรือไม่พบพยาธิสภาพที่ลำไส้ เช่น ไม่มีแผล ไม่มีเนื้องอก ไม่มีอาการอักเสบ ไม่มีมะเร็ง แม้แต่โรคอื่นๆ ก็ไม่พบ แต่ทำงานผิดปกติได้

ท้องเสียสลับท้องผูก สงสัยอาจเป็นโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน (IBS) ThumbMobile HealthServ.net
 
 
อาการผิดปกติ ที่ชัดเจนคือท้องเสียสลับท้องผูก  
 
อาการของโรคลำไส้แปรปรวนมักจะมีอาการดังนี้
  1. อาการปวดท้อง อาจจะปวดตรงกลางหรือปวดบริเวณท้องน้อยโดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา ลักษณะอาการปวดมักจะปวดแบบปวดเกร็ง
  2. อาการแน่นท้อง ท้องอืด มักจะไม่สัมพันธ์กับอาหาร
  3. หน้าท้องโตขึ้นเหมือนมีลมในท้อง อาจมีอาการเรอหรือผายลมมากขึ้น
  4. การถ่ายอุจจาระไม่ปกติ บางรายมีอาการท้องผูก บางรายท้องเสีย หรือในบางรายอาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสียก็ได้ ผู้ป่วยบางรายมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด บางรายปวดเบ่งแต่เมื่อถ่ายอุจจาระแล้วอาการดีขึ้น มักจะอุจจาระเป็นมูก อาการต่าง ๆ เหล่านี้มักเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการมากน้อยสลับกันได้ โดยมีอาการนานเกิน 3 เดือนในระยะเวลา 1 ปี
 
ปัจจุบันก็ยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน จึงยังไม่มียารักษา
 
ปัจจัยที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของอาการลำไส้แปรปรวนนี้ มี 2 ปัจจัย
1. การบีบตัวหรือลำไส้เคลื่อนตัวผิดปกติ  
2. ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไว้ต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ จากอาหารที่รับประทาน  ทำให้ตอบสนองมากผิดปกติตามมา  ยังรวมถึงความเครียดหรืออารมณ์ได้เช่นกัน 
 
 
วิธีตรวจวินิจฉัย
ทำได้หลายวิธีเช่น 
1. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ หรือทวารหนัก
2. การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
3.การเอกซเรย์
4.การตรวจเลือดเพื่อหาภาวะโลหิตจาง ปัญหาต่อมไทรอยด์
5.การตรวจอุจจาระเพื่อหาการติดเชื้อ
6.การทดสอบการแพ้แลคโตส และการแพ้กลูเตน
 
 
 
คำแนะนำ
เนื่องจากโรคลำไส้แปรปรวน ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยสามารถทำได้โดยการบรรเทาอาการ เพื่อให้ใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีคำแนะนำ เช่น 
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
  • ปรับวิธีการกิน โดยกินแต่น้อย ไม่กินอิ่มมากในมื้อ
  • เน้นกินผักผลไม้ที่มีเส้นใย ลดอาการท้องผูก
  • เลี่ยงอาหารไขมัน
  • เลี่ยงอาหาร เครื่องดื่ม ที่อาจกระตุ้นอาการ เช่น อาหารย่อยยาก รสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลไม้บางชนิด อาหารแปรรูป
  • เลี่ยงคาเฟอีน ชา กาแฟ
  • ดื่มน้ำสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกาย เป็นประจำ
  • ผ่อนคลายความเครียด ทำจิตใจให้สบาย 
 
อ้างอิง 
คณะแพทยศาสร์ศิริราชพยาบาล
pobpad.com
รพ.วิภาวดี
 

 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด