ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

บริการตรวจอัลไซเมอร์ โรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพ

บริการตรวจอัลไซเมอร์ โรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพ HealthServ.net
บริการตรวจอัลไซเมอร์ โรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพ ThumbMobile HealthServ.net

การตรวจสอบสุขภาพโรคอัลไซเมอร์ สามารถทำได้ที่โรงพยาบาล ที่มีศูนย์สมองและระบบประสาท ทุกแห่ง

บริการตรวจอัลไซเมอร์ โรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพ HealthServ
อัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง ทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหาย โดยเฉพาะเมื่อเกิดกับสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ

วิธีสังเกตอาการอัลไซเมอร์ หากคนใกล้ตัวท่าน มีปัญหาความทรงจำผิดปกติ การตัดสินใจช้าลง บุคลิกภาพหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ควรพบแพทย์
 
การตรวจสอบสุขภาพโรคอัลไซเมอร์ สามารถทำได้ที่โรงพยาบาล ที่มีศูนย์สมองและระบบประสาท ทุกแห่ง  การวินิจฉัยโรค แพทย์จะดำเนินการวินิจฉัยโรค 1) ซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย ควรมีญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่กับผู้ป่วยมานาน และทราบรายละเอียดอย่างดี 2) ตรวจเบื้องต้นว่ามีอาการซึมเศร้าหรือไม่ 3) ทดสอบความจำ 4) ตรวจเลือด เพื่อหาสาเหตุอื่นที่อาจทำให้ความจำไม่ดีได้ เช่น ธัยรอยด์ทำงานน้อยไป เกลือแร่ผิดปกติ ขาดสารอาหารบางอย่าง โรคซิฟิลิส เป็นต้น 5) ตรวจเอ็กซเรย์สมอง อาจเป็นเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่สามารถรับบริการได้ดังนี้

สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม LINK

สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม บริการตรวจอัลไซเมอร์ โรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพ
สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม บริการตรวจอัลไซเมอร์ โรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพ
สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีจุดประสงค์เพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักถึงและมีความเข้าใจในโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมอื่นๆ เพื่อชวยเหลือและปรับปรุง ณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวให้ดีขึ้น

ในเว็บไซต์สมาคมมีข้อมูลเป็นประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่ ความรู้เรื่องโรค อาการ การวินิจฉัยและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เทคนิคการดูแลผู้ป่วย มีการแชร์ประสบการณ์มุมเรื่องเล่า 

ติดต่อ สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ตู้ปณ. 224 ปณจ ราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพ 10200 โทร 086-990-4207 แฟกซ์ 02-201-2588

คลินิกสูงวัยและความจำ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ LINK

คลินิกสูงวัยและความจำ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ บริการตรวจอัลไซเมอร์ โรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพ
คลินิกสูงวัยและความจำ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ บริการตรวจอัลไซเมอร์ โรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพ
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เปิดให้บริการ คลินิกสูงวัยและความจำ สำหรับบริการตรวจวินิจฉัย โรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม ภาวะหลงลืมง่าย โรคทางจิตเวช โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การตรวจรักษาหรือสมองเสื่อมโดยตรง  ขอบเขตบริการดังนี้
  • ผู้ที่สงสัยภาวะหลงลืมง่ายและ/หรือการรู้คิดของสมองบกพร่องเล็กน้อย
  • ผู้ที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม ที่สามารถเดินได้เองหรือใช้เครื่องช่วยเดิน ยกเว้นผู้ป่วยหนักฉุกเฉินและ/หรือติดเตียง
  • ผู้ที่สงสัยภาวะหลงลืมง่ายและ/หรือการรู้คิดของสมองบกพร่องเล็กน้อย และผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มทีต้องการยืนยัน การวินิจฉัยโรคในทางคลินิกให้แม่นยำถูกต้องตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก 
  • ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่มีประวัติโรคสมองเสื่อมหลายคนในครอบครัว และสงสัยว่ามีการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ผิดปกติของโรคสมองเสื่อมในครอบครัว เพื่อการประเมินในทางคลินิกทั้งในผู้ป่วยที่เป็นโรค รวมถึงบุตร และญาติที่เกี่ยวข้องทางสายเลือดโดยตรงทั้งที่สงสัยว่าเริ่มมีอาการและไม่มีอาการ
 
Phone: 06 4585 5189, 0 2576 6060 0 2576 6068
Service Hours : วันอาทิตย์          : 08.00 - 18.00 น.
วันเสาร์ ที่ 1 และ 3 ของเดือน          : 08.00 - 18.00 น.

คลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาฯ

คลินิกความจำ (Neurocognitive Unit)  เป็นคลินิกที่มีทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านระบบประสาท โดยเฉพาะการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านความจำและภาวะสมองเสื่อม 

บริการ : การตรวจประเมินทางประสาทจิตวิทยา เป็นการประเมินเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและการทำงานของสมองในความสามารถด้านต่างๆ ประกอบด้วย ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา (IQ) สมาธิ ความจำ ทักษะด้านการบริหารจัดการ (การแก้ไขปัญหา การให้เหตุผล และการวางแผน) การรับรู้มิติสัมพันธ์ และ ความเข้าใจและการใช้ภาษา รวมทั้งตรวจประเมินสภาวะทางจิตใจต่าง ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ความเครียด หรือ บุคลิกภาพ เป็นต้น 
 
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 7 โซนซี
สาขาวิชาประสาทวิทยา ฝ่ายอายุรศาสตร์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 
โทร 02-256-4000 ต่อ 80723, 80731

เว็บไซต์ neuromed.md.chula.ac.th
 
ติดต่อรักษา
คลินิกความจำ เปิดให้บริการ
ณ อาคาร ภปร ชั้น 3 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- วันจันทร์ 13.00 - 15.00 น.
- วันอังคาร 13.00 - 15.00 น.
- วันพุธ 8.00 - 12.00 น.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด