ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

[ประกันสังคม] กองทุนเงินทดแทน ค่ารักษา หลักปฏิบัติของนายจ้าง-ลูกจ้าง วิธีส่งตัวเข้ารักษา

[ประกันสังคม] กองทุนเงินทดแทน ค่ารักษา หลักปฏิบัติของนายจ้าง-ลูกจ้าง วิธีส่งตัวเข้ารักษา HealthServ.net
[ประกันสังคม] กองทุนเงินทดแทน ค่ารักษา หลักปฏิบัติของนายจ้าง-ลูกจ้าง วิธีส่งตัวเข้ารักษา ThumbMobile HealthServ.net

บทนี้กล่าวถึงสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน และกรณีต่างๆ เป็นลำดับที่อาจะเกิดตามมา หากอัตราค่ารักษาไม่เพียงพอ รวมทั้งหลักการปฏิบัติและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง ที่ต้องรู้และดำเนินตาม

[สิทธิประโยชน์ประกันสังคม > กองทุนเงินทดแทน]


ค่ารักษาพยาบาล

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

ค่ารักษาพยาบาล
ค่ารักษาพยาบาลจ่ายได้ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย ดังนี้
 

1) กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
 

2) กรณีที่ค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาท ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
 
     (1) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วน และต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
 
     (2) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่ง และต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
 
     (3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะ และต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ
 
     (4) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือรากประสาท
 
     (5) ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรม
 
     (6) ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ความร้อน ความเย็น สารเคมี รังสี ไฟฟ้า หรือระเบิด จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้ตั้งแต่ร้อยละ 25 ของพื้นที่ผิวของร่างกาย   
 
     (7) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
 


3) กรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเพิ่มอีกตามข้อ 2 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ โดยรวมค่ารักษาพยาบาลทั้งข้อ 1 และ 2 แล้วต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
 
     (1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 2 (1) ถึง (6) ตั้งแต่สองรายการขึ้นไป
 
     (2) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 2 (1) ถึง (6) ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ตั้งแต่ 25 วันขึ้นไป
 
     (3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของระบบสมองหรือไขสันหลังที่จำเป็นต้องรักษาตัวในสถานพยาบาลตั้งแต่ 30 วันติดต่อกัน
 
    (4) การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นตามข้อ 2 (7) ซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรังตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
 
          (ก)  เป็นผลให้อวัยวะสำคัญล้มเหลว
 
          (ข)  กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์
 

4) กรณีค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 1 - 3 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก ตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
 


5) กรณีค่ารักษาพยาบาลทุกกรณีไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวข้างต้นแล้ว ต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นที่เพิ่มขึ้นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล
 
     (1) ลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ ตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล
 
     (2) ลูกจ้างมีความจำเป็นหรือมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล
 
     การจ่ายค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
 

6) ในกรณีลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 1,300 บาท
 

7) ผลบังคับใช้  โดยในปัจจุบันใช้กฎกระทรวง ค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2563


 

/////////////////////

หลักการปฏิบัติและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง

 
หน้าที่ของนายจ้าง
 
วิธีปฏิบัติในการส่งลูกจ้างเข้ารักษา
  1. นายจ้างต้องแน่ใจว่าลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องจากการทำงานจริง
  2.  ให้นายจ้างกรอกข้อความในแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) ซึ่งชุดหนึ่งมี 2 แผ่น โดยให้ลูกจ้างนำไปแสดงต่อโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนทำความตกลงไว้
  3. ให้นายจ้างส่งสำเนาแบบ กท.44 ไปยังสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบแจ้งการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย (กท.16) และใบรับรองแพทย์
  4.  ในการส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาตามแบบ กท.44 นี้ หากภายหลังสำนักงานกองทุนเงินทดแทนหรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา วินิจฉัยว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิรับเงินทดแทน นายจ้างผู้ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษา จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่สถานพยาบาล ที่ให้การรักษาแก่ลูกจ้างนั้นเอง
 

หน้าที่ของลูกจ้าง
 
หน้าที่ของลูกจ้างผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
  1.  รีบแจ้งนายจ้างทันทีที่ประสบอันตราย แม้จะเป็นการประสบอันตรายเพียงเล็กน้อยก็ต้องแจ้ง เพราะอาจจะมีอาการกำเริบมากขึ้นได้ในภายหลัง
  2. กรอกข้อความหรือตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้อง และลงลายมือชื่อในแบบแจ้ง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย (กท.16) ในส่วนของลูกจ้าง
  3. ต้องรักษาพยาบาลกับแพทย์ปัจจุบันชั้น 1
  4. ถ้าลูกจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้ว ให้รีบนำใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลมาเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา แล้วแต่กรณี
  5. หากลูกจ้างได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ  ในการทำงาน ให้ไปติดต่อสมัครเข้ารับการฟื้นฟูฯ ได้ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน หรือที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทน หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกจังหวัด
  6. ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทน (กท.16) ได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย
 
 
 
 
 
/////////////////////

วิธีการแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยพร้อมเอกสารประกอบการยื่นคำขอ


การแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน
 
           นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจ แจ้งตามแบบ กท.16 โดยยื่นเรื่อง ณ สำนักงานประกันสังคมที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนา ซึ่งสามารถส่งเอกสารได้โดยตรงที่สำนักงานประกันสังคมหรือส่งทางไปรษณีย์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง หรือลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหาย หรือหากการเจ็บป่วยเกิดหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย
 
หลักฐานการแจ้งการประสบอันตรายหรือการขอรับเงินทดแทนทุกกรณี
  1. แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16)
  2. แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) (กรณีนายจ้างส่งตัวเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน) ต้นฉบับพร้อมสำเนา
  3.  ใบรับรองแพทย์ (กท.16/1) หรือใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาล
  4. การประสบอันตรายที่ไม่ชัดเจน เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ เกิดเหตุนอกสถานที่ เป็นต้น ต้องขอหลักฐานเพิ่ม เช่น หลักฐานการลงเวลาทำงาน บันทึกประจำวันตำรวจ แผนที่เกิดเหตุ เป็นต้น
  5. ใบเสร็จรับเงิน (กรณีนายจ้าง ลูกจ้างสำรองจ่ายไปก่อน)
  6. กรณีเสียชีวิตหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน ต้องมีหลักฐานแสดงการเสียชีวิต ใบชันสูตรศพ ใบมรณะบัตรของลูกจ้าง บันทึกประจำวันตำรวจ (ถ้ามี) พร้อมด้วยหลักฐานของผู้มีสิทธิ ดังนี้ สูติบัตรของบุตร ทะเบียนสมรสของลูกจ้างกับสามีหรือภรรยา ทะเบียนสมรสของบิดา - มารดา ทะเบียนบ้านของลูกจ้าง บิดา - มารดา ภรรยาหรือสามี บุตร / ทะเบียนหย่าของลูกจ้างหรือบิดามารดาหรือคู่สมรส (ถ้ามี) / หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุลของลูกจ้าง บิดา มารดา คู่สมรส บุตร (ถ้ามี) หรือถ้ากรณีผู้มีสิทธิเสียชีวิต ควรมีหลักฐาน ดังนี้ สามีหรือภรรยา บิดามารดา หรือบุตร ต้องมีหลักฐานใบมรณะบัตรของทุกคนมาแสดง เพื่อประกอบการพิจารณา                                                                        
 
          ทั้งนี้ การยื่นแบบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย (กท.16) เพียงครั้งเดียว สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้ทุกกรณี ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ค่าทำศพ ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทำงานได้ ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ และค่าทดแทนกรณีตายหรือสูญหาย

ข้อมูล 

/////////////////////


วิธีการส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล
 
กรณีเข้ารักษา ณ สถานพยาบาลที่ตกลงไว้
 
           นายจ้างจะส่งผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาล ซึ่งกองทุนเงินทดแทนทำความตกลงไว้ โดยใช้แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) ในกรณีนี้นายจ้างและลูกจ้างไม่ต้องทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สถานพยาบาลนั้นๆ จะเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนโดยตรง แต่นายจ้างต้องนำส่ง กท.16 และสำเนา กท.44 ก่อน
 
กรณีเข้ารักษา ณ สถานพยาบาลทั่วไป
 
           นายจ้างจะส่งลูกจ้างผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลใดๆ ก็ได้ ทั้งของเอกชนและของรัฐบาล แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นสถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายให้ทำการรักษา และลงชื่อรับรองในใบความเห็นของแพทย์ การส่งลูกจ้างไปรับการรักษา ณ สถานพยาบาลดังกล่าวนี้ นายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาเป็นหลักฐานขอเบิกเงินจากกองทุนเงินทดแทนได้
 
 

 
กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานฯ
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด