ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กทม.ประชุมขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2565

กทม.ประชุมขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2565 HealthServ.net
กทม.ประชุมขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2565 ThumbMobile HealthServ.net

กทม.ประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ผลการประชุม มีฉันทมติร่วมกัน 2 มติ มีมติแนวทางการขับเคลื่อน แนวทางการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย จัด 6 กลุ่มเครือข่ายสมัชชาฯ และ หารือ Theme การจัดงานสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2565 ตามนโยบาย กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน

กทม.ประชุมขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2565 HealthServ
 
 
 
10 ส.ค. 65 เวลา 09.30 น. ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2565 โดยมี นางวันทนีย์ วัฒนะ นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ อาทิ เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สโมสรโรตารีกรุงเทพ สโมสรไลอ้อนส์กรุงเทพ สภาองค์กรชุมชนเขตธนบุรี อาสาสมัครสาธารณสุข กทม. สหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุ กทม. สภาเด็กและเยาวชน กทม. เครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรังทุกประเภท มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิช่วยการสาธารณสุขชุมชน สำนักอนามัย กทม. สำนักพัฒนาสังคม กทม. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง


 
ในที่ประชุมได้รายงานผลการจัดงานสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2564 ซึ่งมีฉันทมติร่วมกัน จำนวน 2 มติ ได้แก่

1.การสานพลังพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะของชุมชน

นโยบายสาธารณะนี้มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะของชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถเข้าถึงได้ และนโยบายนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งสุขภาวะเพื่อทุกคน ด้วยกระบวนการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม คำนึงถึงบริบทและความต้องการเฉพาะของแต่ละพื้นที่และของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย


2.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับภาวะวิกฤติ

นโยบายสาธารณะในประเด็นระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร เป็นวาระร่วมที่ต่อเนื่องจากธรรมนูญสุขภาพกรุงเทพมหานคร (ฉันทมติประกาศในสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร วันที่ 26 พฤศจิกายน 2563) ที่สะท้อนแนวคิดการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ ความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ การลดความเหลื่อมล้ำในด้านต่าง ๆ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีโดยมุ่งหวังให้เกิดสุขภาพในทุกมิติ ทั้งกาย จิตปัญญา และสังคมแก่ประชาชนทุกคนในกรุงเทพมหานคร
 
 
กทม.ประชุมขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2565 HealthServ



แนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ดังนี้


1.นำข้อเสนอจากมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2564

ที่ขอให้คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขตพื้นที่ 13 เป็นกลไกสนับสนุน ติดตาม ประสานงาน และขับเคลื่อนมติ ต่อที่ประชุม กชป.เขตพื้นที่ 13 เพื่อทราบและมอบหมายให้คณะทำงานกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ตามที่ กชป.เขตพื้นที่ 13 แต่งตั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าเพื่อรายงานผลต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานครในครั้งต่อไป

2.คณะทำงานกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร

ร่วมกับกรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรหลักที่สนับสนุนการจัดและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบมติ พร้อมทั้งทบทวนเส้นทางเดินของมติ (Road map) เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนและติดตามผลร่วมกัน 3.คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนชน เขตพื้นที่ 13 รายงานผลการขับเคลื่อนมติต่อที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) และที่ประชุมสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2565








 
จากนั้น ในที่ประชุมได้รายงานผลการดำเนินงานและการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งที่ผ่านมา ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2563

1.ธรรมนูญสุขภาพกรุงเทพมหานคร

มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพระดับเขต จำนวน 12 เขต ได้แก่ ทวีวัฒนา บางบอน ทุ่งครุ ธนบุรี คลองสาน บางคอแหลม ลาดพร้าว วังทองหลาง บึงกุ่ม ดอนเมือง สายไหม และลาดพร้าว

2.การจัดการหาบเร่แผงลอยและการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกันของคนกรุงเทพมหานคร

ทบทวนประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขาย หรือจำหน่ายสินค้าในพื้นที่สาธารณะ ลงวันที่ 28 มกราคม 2563 และมีมติ ครม. กุมภาพันธ์ 2563 และมีข้อเสนอของ ศบค. ให้เปิดพื้นที่หาบเร่แผงลอย ช่วงโควิด-19  ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2564

          1.การสานพลังพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะของชุมชน We ! park พัฒนา คู่มือ small green public space ร่วมกับ สสส.
          2.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับภาวะวิกฤติ คณะทำงานระบบสุขภาพปฐมภูมิโดย กทม. และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายผู้ว่าฯ กทม. จำนวน 5 คณะ
 
 

กทม.ประชุมขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2565 HealthServ
 
 

แนวทางการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย


สำหรับกระบวนการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อกำหนดเป็นระเบียบวาระสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2565 ได้มีการเปิดรับประเด็นสาธารณะเพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีเครือข่ายเสนอทั้งสิ้น 62 เครือข่าย สามารถจำแนกประเด็นร่วมได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ภายใต้ประเด็นหลักสุขภาวะคนเมืองหลังวิกฤตโควิด-19 หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตคนเมืองหลังวิกฤตโควิด-19 ได้แก่

Urban Environment พื้นที่เศรษฐกิจ ปลอดภัย ภายใต้ความหลากหลาย

Urban Health สุขภาพดีทุกช่วงวัยด้วยระบบบริการสุขภาพเขตเมืองที่เน้นคุณค่า


 

จัด 6 กลุ่มเครือข่ายสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร


มีการทบทวนการจัดกลุ่มเครือข่ายสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 6 กลุ่มเครือข่าย ดังนี้


1.กลุ่มเครือข่ายพื้นที่ (MA : Member of Area)
กำหนดให้ครอบคลุมกลุ่มเครือข่ายพื้นที่ทั้ง 50 เขต ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขต ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข ประธานชุมชนระดับเขต และ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขระดับเขต


2.กลุ่มภาคประชาสังคม (MS : Member of Sociality)
ปรับเปลี่ยนโดยเลือกกลุ่มองค์กรที่ทำงานใน กทม. โดยดูจากประเด็นที่จะนำเข้าเป็นระเบียบวาระในปีนี้เป็นหลัก


3.กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ (MP : Member of Public servant)
ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่มีการดำเนินงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร


4.กลุ่มภาควิชาการ (MK : Member of Knowledge) ประกอบไปด้วย สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน (CO : Committee Organizer)


5.กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (EX : Exclusive)
กลุ่มผู้ทำงาน เจ้าหน้าที่ (WK : Worker)


6. กลุ่มผู้สังเกตการณ์ ผู้ติดตาม (WI : Walk In)







 
นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับ Theme การจัดงานสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2565 สถานที่จัดงานที่มีความพร้อมและสะดวกต่อการเดินทาง รูปแบบจัดสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นรูปแบบ Onsite 500 คน เพื่อพิจารณาและรับฟังความคิดเห็นต่อระเบียบวาระ และหาฉันทามติ โดยมีห้องประชุมใหญ่ 1 ห้อง รองรับผู้ร่วมประชุมได้ 500 คน และห้องประชุมย่อย 2 ห้อง รองรับผู้ร่วมประชุมได้ 200 คน เพื่อแบ่งหน้าที่ให้อนุกรรมการดำเนินการประชุมในแต่ละห้องประชุมได้เปิดเวทีพิจารณาระเบียบวาระ รวมไปถึงลานจัดนิทรรศการและเสวนาภายนอกห้องประชุม โดยกำหนดจัดสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน 2565


 
ทั้งนี้ กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน คือโจทย์หลักที่ใช้ในการออกแบบนโยบาย ทีมเพื่อนชัชชาติจึงศึกษาดัชนีชี้วัดเมืองน่าอยู่ (The Global Liveability Index) ของ Economist Intelligence Unit (EIU) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดกลุ่มนโยบายและดัดแปลงให้ครอบคลุมบริบทของเมืองกรุงเทพฯ จึงนำมาสู่ กรุงเทพฯ 9 ดี หรือนโยบาย 9 มิติ ประกอบด้วย ปลอดภัยดี สร้างสรรค์ดี สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี เดินทางดี สุขภาพดี โครงสร้างดี เรียนดี บริหารจัดการดี อย่างไรก็ตามนโยบาย 9 ดี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับกระบวนการสมัชชาสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2565 จึงเป็นการทำงานที่สอดคล้องกัน ทุกภาคส่วนสามารถมาร่วมกันทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน
 
-----  (จิรัฐคม...สปส.รายงาน)
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด