ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อาการปวดท้องน้อยในสตรี ควรใส่ใจ ไม่ควรมองข้าม

อาการปวดท้องน้อยในสตรี ควรใส่ใจ ไม่ควรมองข้าม HealthServ.net
อาการปวดท้องน้อยในสตรี ควรใส่ใจ ไม่ควรมองข้าม ThumbMobile HealthServ.net

การปวดท้องน้อย (Pelvic Pain) เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้หญิงทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ การปวดท้องน้อยแบบเรื้อรัง การปวดท้องน้อยแบบเฉียบพลัน


ในชีวิตของผู้หญิงหลาย ๆ คน จะต้องมีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดในอุ้งเชิงกรานบ้างบางทีปวดน้อยบางทีปวดมากบางทีปวดนาน ๆ ครั้งบางทีก็ปวดบ่อยบางทีก็ปวดก่อนขณะมี หรือ หลังมีประจำเดือน ฯลฯภายในอุ้งเชิงกรานก็มีอวัยวะไม่กี่อย่างคืออวัยวะสืบพันธ์ (ได้แก่ช่องคลอดมดลูกรังไข่และท่อรังไข่) ทางเดินปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะ และท่อไต)ลำไส้ใหญ่สำไส้เล็กกล้ามเนื้อหลอดเลือดการที่จะหาสาเหตุของอาการปวดบางทีก็เป็นเรื่องยุ่งยากในการค้นหาและบางอย่างก็เป็นอันตรายได้โดยเฉพาะถ้าปวดจนทำให้รู้สึกว่ามันทำให้ชีวิตประจำวันธรรมดาของเราเสียไปหรือมากจนสุดทนในบางคราว


ถ้าเป็นดังกล่าวสิ่งที่คุณผู้หญิงคงอยากทราบว่าอะไรที่ทำให้ปวดท้องน้อยได้บ้างจะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดจากอะไรและแล้วจะรักษาอย่างไร


ลักษณะของการปวดท้องน้อย


อาการปวดจะแตกต่างกันไปจากสาเหตุที่แตกต่างกันอาการปวดอาจเป็นพัก ๆ หรือตลอดเวลาอาจเกี่ยวข้องกับระยะของประจำเดือนการถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะหลังจากรับประทานอาการหรือ ระหว่างหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์บางทีก็ร้าวไปที่อวัยวะอื่นซึ่งมักเป็นหลังก้นกบต้นขาเป็นต้นอาการปวดดังกล่าวอาจรบกวนการทำงานการเคลื่อนไหวการนอนการมีเพศสัมพันธ์และบางครั้งก็ปวดจนสุดที่จะทนได้ถ้าเกิดขึ้นนาน ๆ ก็ทำให้เกิดความเครียดร่างกายและจิตใจผิดปกติไป

ถ้าคุณสามารถอธิบายลักษณะการปวดได้ว่าเป็น ๆ หาย ๆ หรือตลอดเวลาปวดตื้อๆ หรือแปลบ ๆ ปวดร้าวไปที่ไหนและเมื่อไรที่ คุณจะรู้สึกว่ามันปวดมากขึ้นเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้แพทย์ช่วยวินิจฉัยได้ง่ายขึ้น

 


 สาเหตุของการปวดท้องน้อย


การปวดท้องน้อยอาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันอาจเป็นลักษณะทันทีทันใดหรือเป็นเรื้อรังนาน ๆ ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต่างกัน เมื่อจะไปหาแพทย์แพทย์มักจะถามหลายคำถามเกี่ยวกับลักษณะการปวดและการรบกวนผิดปกติที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันขณะที่มีอาการปวด การปวดท้องน้อยแบ่งออกเป็น 2ลักษณะคือ

1.การปวดท้องน้อยอย่างทันทีทันใด (Acute Pelvic Pain)
การปวดท้องน้อยทันทีทันใดมักเกิดจากสาเหตุอย่างหนึ่งอย่างเดียว เช่น การอักเสบ มดลูกอักเสบ เนื้องอกของรังไข่ หรือ ท้องนอกมดลูก

การอักเสบได้แก่มดลูกอักเสบปีกมดลูกอักเสบการอักเสบของทางเดินปัสสาวะลำไส้ หรือ ไส้ติ่งอักเสบ

มดลูกอักเสบ(Pelvic in flammatory disease)โดยทั่วไปหมายถึงมีการอักเสบของทางเดินปัสสาวะอาจมีอาการปัสสาวะลำบากปัสสาวะบ่อยมีอาการปวดหลังร่วมด้วย

เนื้องอกรังไข่อาจมีลักษณะเป็นเนื้องอกตันหรือถุงน้ำ (Cyst)อาการปวดอาจมีลักษณะปวดตื้อๆ ถ่วง ๆ ท้องน้อยจะมีอาการปวดแบบทันทีทันใดถ้าถุงCystมีการรั่วทำให้น้ำหรือเลือดออกมาในช่องท้องหรือมีการบิดตัวที่ขั้วCyst

ท้องนอกมดลูกคือการตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไปเกาะเจริญที่อื่นนอกตัวมดลูกมักเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่คือหลังจากปฏิสนธิตัวอ่อนซึ่งควรจะเคลื่อนเข้ามาในมดลูกแต่มาไม่ได้อาจจะเกิดจากมีพังผืดในท่อนำไข่เมื่อเจริญมากขึ้นก็ดันท่อนำไข่โป่งและแตกมีเลือดไหลออกมาในช่องท้องทำให้ปวดและมีอาการเสียเลือดอาจมีอาการช็อกและเสียชีวิตได้

2.การปวดท้องน้อยเรื้อรัง
อาจมีสาเหตุเดียวหรือเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุร่วมกันอาการเริ่มแรกมักปวดเป็นๆ หาย ๆ แล้วต่อมาปวดตลอดเวลาหรือ บางรายปวดร่วมกับการมีรอบประจำเดือนตัวอย่างเช่นปวดประจำเดือนสาเหตุจากโรคอวัยวะอื่น ๆเนื้องอกมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่

ปวดประจำเดือนเมื่อสตรีมีประจำเดือนไม่ควรจะปวด หรือปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สึกถ้าปวดมากมักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น อาจเกิดจากการมีสารเคมีบางอย่าง ที่ทำให้มดลูกบีบตัวมากเกินไป (Prostaglandin)หรือจากมีเนื้องอกมดลูก หรือจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ถ้าปวดช่วงกลาง ๆ รอบเดือน (คือ ประมาณวันที่14 - 15ของรอบเดือน)บางครางมีเลือดออกด้วยน้อย ๆ อาจเกิดจากการตกไข่เชื่อว่า น้ำจากถุงรังไข่ขณะตกไข่ไหลออกมาระคายเคืองเยื่อบุช่องท้องที่อาจมีความผิดปกติบางอย่าง ซึ่งอาจจะมีอาการน้อย ๆ หรือปวดมากก็ได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่หมายความว่าการที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกที่มีหน้าที่เลี้ยงตัวอ่อนเวลาเริ่มตั้งครรภ์หรือเมื่อหลอดเลือดออกมาพร้อมกับเลือดจากโพรงมดลูกเวลามีประจำเดือนนั้นไปขึ้นอยู่นอกโพรงมดลูกซึ่งอาจจะเป็นว่าขึ้นอยู่ภายในเนื้อมดลูก หรือขึ้นอยู่ภายนอกมดลูกในอุ้งเชิงกรานซึ่งโรคนี้จะทำให้มีอาการปวดประจำเดือนโดยเฉพาะในวันแรกๆ ของประจำเดือนหรือวันก่อนมีประจำเดือนมาแล้วมักจะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ

สำหรับคนที่มีคู่แล้วอาจมีปัญหาว่าเจ็บในท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์หรือมีบุตรยากทั้งนี้เพราะการที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปขึ้นผิดที่ทำให้มีปฏิกิริยาของร่างกายบริเวณนั้นต่อต้านเหมือนมีการอักเสบเมื่อนาน ๆ เข้าก็เกิดเป็นพังผืดเกิดขึ้นและการที่เลือดออกเหมือนประจำเดือนก็ทำให้เลือดขังอยู่โดยเฉพาะในเนื้อมดลูกและรังไข่ทำให้เกิดเป็นถุงCystขึ้นและทำให้ปวดบางครั้งเลือดที่ขังอยู่ในCystรั่วหรือแตกออกมาระคายเคืองเนื้อเยื่อช่องท้องก็ทำให้มีอาการปวดรุนแรงฉับพลันได้ส่วนที่ขึ้นอยู่ในเนื้อมดลูกทำให้ตัวมดลูกโตขึ้นทำให้เลือดประจำเดือนมามากขึ้นเหมือนอาการของเนื้องอกมดลูกได้

เนื้องอกมดลูกหมายถึงกล้ามเนื้อของมดลูกกลายเป็นเนื้องอกคือแบ่งตัวเจริญเร็วกว่าธรรมดาไม่หยุดนิ่งแต่ไม่ใช่มะเร็งเพราะไม่ลุกลามไปที่อื่นแต่มดลูกที่โตจะไปเบียดบังอวัยวะอื่นทำให้ปวดหรือ เนื้อดีของมดลูกพยายามบีบตัวไล่ก้อนเนื้องอกเวลามีประจำเดือนเพราะคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมจึงทำให้มีอาการปวดขึ้นได้

สาเหตุจากโรคอวัยวะอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธ์ก็ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยได้เช่นกล้ามเนื้อหน้าท้องหลังกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอักเสบลำไส้อักเสบกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือที่ท่อไตหรือแม้กระทั่งภาวะทางจิตใจหรือภาวะเครียด

 


การวินิจฉัยโรคปวดท้องน้อย


เนื่องจากสาเหตุของการปวดท้องน้อยมีหลายอย่างเมื่อไปพบแพทย์แพทย์อาจจะต้องใช้เวลาในการหาสาเหตุที่ถูกต้องเริ่มต้นด้วยการซักถามประวัติเกี่ยวกับการปวดการมีประจำเดือนการมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยรวมทั้งความเป็นอยู่สภาพจิตใจและการตรวจร่างกายรวมทั้งการตรวจภายในอาจต้องปรึกษาแพทย์ต่างแผนกบ้างแล้วแต่ว่านึกถึงโรคอื่นใดนอกเหนือจากโรคทางสตรีอาจต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมนอกเหนือจากการตรวจภายในและการตรวจร่างกายแล้วแต่ว่าอาการและการตรวจของแพทย์สงสัยโรคอะไรเพื่อความมั่นใจในการวินิจฉัยเช่น

-การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะของมดลูกและปีกมดลูกได้ดี
-การส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
-การตรวจทวารหนักและส่องตรวจสำไส้ใหญ่
-การส่องตรวจทางหน้าท้องดูในอุ้งเชิงกราน
-การทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็มอาร์ไอ
-การฉีดสีดูระบบทางเดินปัสสาวะ
-การกลืนแป้งหรือสวนแป้งเอกซ์เรย์ดูทางเดินอาหาร

การซักประวัติ:ให้บอกแพทย์ให้ละเอียดว่าลักษณะการปวดเป็นอย่างไร
-เป็นมากเวลาไหน
-ปวดประจำเดือนหรือไม่
-เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
-การถ่ายอุจจาระ
-การมีเพศสัมพันธ์
-ท่าทางการเดินนั่งในชีวิตประจำวัน
-การออกกำลังกาย
-การหลับนอนกลางคืน

เล่าให้แพทย์ฟังถึงลักษณะการปวด

-ปวดจี๊ดๆหรือ ตื้อๆ
-ปวดเป็นพักๆ หรือปวดตลอดเวลา
-ระยะเวลาที่ปวดมาก
-ความรุนแรง
-ตำแหน่งที่ปวดอยู่ที่เดียวหรือเปลี่ยนตำแหน่ง
-อะไรทำให้ดีขึ้นหรือ เลวลง

การรักษา
เมื่อทราบสาเหตุแล้วแพทย์จะแนะนำหรือรักษาโดยทางเลือกต่างๆ ที่จะทำให้การปวดหายหรือดีขึ้นหรือไม่เลวลงคือ

1.โดยการใช้ยารักษาเช่นยาปฏิชีวนะถ้ามีการอักเสบติดเชื้อเช่น มดลูกอักเสบยาลดการอักเสบถ้ามีการอักเสบที่ไม่ติดเชื้อเช่น เยื่อบุมดลูกเจริญขึ้นผิดที่หรือบางทีอาจทำให้ยาฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดเพื่อลดอาการปวดประจำเดือนส่วนใหญ่การให้ยาในโรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่หรือเนื้องอกมดลูกมักเป็นการรักษาแบบชั่วคราวเมื่องดยาอาการก็เกิดขึ้นอีก

2.การผ่าตัดโรคบางอย่างต้องรักษาโดยการผ่าตัดเช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ในอุ้งเชิงกรานการผ่าตัดโดยวิธีการส่องกล้องผ่านช่องท้องจะทำให้รู้สาเหตุและรักษาสาเหตุไปในคราวเดียวกันได้บางอย่างเช่นเนื้องอกมดลูกหรือ มีถุงน้ำรังไข่ (Cyst)ก็ทำการผ่าตัดวิธีใดวิธีหนึ่งได้โดยทราบวินิจฉัยก่อนผ่าตัดได้ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้อธิบายให้ฟังก่อนการผ่าตัดถึงความจำเป็นผลดีและโรคแทรกซ้อนขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคอะไร

3.การรักษาวิธีอื่น ๆเช่นการให้กายภาพบำบัดการให้ยาคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อการฉีดยาชาเฉพาะที่รวมทั้งการสอนให้มีการออกกำลังกายการฝึกท่าทางการเดินการนั่งฯลฯ


สรุป
การปวดท้องน้อยมีทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังส่วนใหญ่เกิดจากอวัยวะสืบพันธุ์แต่ก็เกิดจากอวัยวะอื่นใกล้เคียงอาจจำเป็นต้องรักษาแบบฉุกเฉินซึ่งอาจจะเป็นโดยยาหรือผ่าตัดหรือแพทย์ทางเลือกแล้วแต่สถานการณ์และสาเหตุซึ่งแพทย์ที่ชำนาญจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำได้


ข้อเขียนโดย นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล
สูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาผู้มีบุตรยาก
รพ.วิภาวดี แผนกสูติ-นรีเวช
โทร.0-2941-2800กด1

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด