ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปัจจัยการเสื่อมของข้อเข่า

การเสื่อมของข้อเข่านอกจากการใช้งานตามอายุยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย

ปวดเข่าเป็นปัญหาที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์อยู่เสมอทั้งนี้เพราะเข่าเป็นข้อต่อของร่างกายที่ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักตัว เช่น ในขณะที่เรา  ยืน เดิน วิ่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
 
ดังนั้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็นท่านั่ง ข้อเข่าจึงมีโอกาสเสื่อมสภาพได้ง่าย การรักษาอาจต้องเปลี่ยนข้อเข่า
 
 
สาเหตุของข้อเข่าเสื่อม
 
การเสื่อมของผิวข้อกระดูกอ่อนจากการใช้งานตามอายุที่มากขึ้นปัจจัยอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
 
1.กรรมพันธุ์
2. การใช้ข้อเข่าอย่างสมบุกสมบันมากเกิน
3. การดูแลสุขภาพไม่ดีน้ำหนักตัวมากเกินไป
4.เคยได้รับการบาดเจ็บหรือโรคภัยไข้เจ็บมาก่อน ทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น
 
 
รู้ได้อย่างไรว่าเริ่มมีข้อเสื่อมแล้ว
 
• เริ่มมีอาการปวดเข่าเวลามีแรงกดบนข้อเข่ามากขึ้น
 
• นั่งเหยียดเข่า หรือนอนพักอาการปวดเข่าจะน้อยลง
 
• ข้อเริ่มยึด เวลาตื่นนอนตอนเช้า พอเริ่มเดินไปแล้วอาการดีขึ้น
 
• อาการปวดเข่า อาจจะไม่แน่นอน
 
•เข่าเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการปวดบวมมากขึ้น
 
• ข้อเข่าเสื่อมเป็นมานานๆ เข่าอาจโก่งผิดรูป งอเหยียดได้น้อยลง กล้ามเนื้อต้นขาลีบลง
 
 
 
 
 
ข้อควรปฏิบัติ
 
 
1. การใช้ความเย็นหรือความร้อน
  •  ใช้ความเย็นประคบในกรณีที่ปวดบวมเฉียบพลัน โดยเฉพาะในช่วง 24 ชั่วโมงหลังที่ได้รับบาดเจ็บ ห้ามนวด  ถู ดัด ในระยะนี้เด็ดขาด
  • ใช้ความร้อนประคบเมื่อเลย 24 ชั่วโมงไปแล้ว หรือในกรณีที่เป็นเรื้อรัง
 
2.พันผ้ายืดหรือใส่ที่พยุงเข่าเพื่อช่วยประคับประคองข้อเข่าเมื่อจำเป็นต้องเคลื่อนไหว
 
3.พักการใช้งานของข้อเข่า หรือใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า เพื่อแบ่งเบาน้ำหนักตัวที่ข้อเข่าต้องแบกรับ
 
4.การถนอมข้อเข่า
 
  • การไม่ยืนเดินมากเกินไป
  • ขึ้น ลง บันไดเท่าที่จำเป็น
  • ลดหรือควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป
  • ไม่งอหรือพับข้อเข่ามากๆ เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งขัดสมาธิ พับเพียบ นั่งคุกเข่า เป็นต้น
  • ใช้เครื่องช่วยเดิน


การออกกำลังกายเพื่อบริหารข้อเข่าให้แข็งแรงควรทำเมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว
 
 
ท่าบริหารข้อเข่า
 
1.นอนหงาย
ใช้หมอนรองใต้เข่า เหยียดเข่าให้ตรง เกร็งค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วปล่อยทำสลับกัน ให้ทำข้างละ 10-20 ครั้ง
 
2.นั่ง
ทำได้โดยนั่งห้อยข้างบนเก้าอ้ หรือโต๊ะ เอามือยันพื้นเก้าอี้หรือโต๊ะไว้ หรือพิงพนัก (ถ้ามี) เหยียดข้อเข่าให้ยื่นออกมาตรงๆ เกร็งค้างไว้ 5-10 วินาที ทำข้างละ 10-20 ครั้ง
 
3.นอนคว่ำ
งอเข่าให้งอเข้าไป  เกร็งค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วเหยียดลง ข้างละ 10-20 ครั้ง
 
4.นอนหงายยกเข่าติดเตียง
นอนหงายเหยียดเข่าให้ตรง กดเข่าลงให้ติดเตียงเกร็งค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วปล่อยทำสลับกัน  ให้ทำข้างละ 10-20 ครั้ง
 
การบริหารในแต่ละท่า หากทำได้ดีแล้วอาจใช้ถุงทราย ถ่วงที่บริเวณข้อเท้าโดยเริ่มจากน้ำหนักน้อยๆและจำนวนครั้งน้อยๆก่อน อาจเริ่มจากน้ำหนัก 0.5-2.0 กิโลกรัม ขึ้นกับวัยและสภาพของผู้ออกกำลังกาย
 
 
แต่ถ้าหากมีอาการปวดมากขึ้น หรืออาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ โดยแนวทางรักษามีหลายอย่าง รวมไปถึงการเปลี่ยนข้อเข่า
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด