ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง แผลเล็ก หายเร็ว ฟื้นฟูได้ไว

การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องไม่จำเป็นต้องเปิดแผลกว้าง การหายของแผลผ่าตัดและเยื่อหุ้มข้อใช้ระยะเวลาสั้นกล้ามเนื้อและการฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อที่ได้รับการผ่าตัดกลับสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น

การผ่าตัดส่องกล้องคืออะไร
     ความหมายทางการแพทย์ Arthroscopy คือ ส่องกล้องเข้าไปมองดูในข้อ ระยะแรกเริ่มเมื่อ 20 กว่าปีก่อนแพทย์จะใส่กล้องมีลักษณะเป็นท่อยาวๆ เข้าไปในข้อ แล้วมองดูผ่านกล้องตรงๆ ต่อมามีการพัฒนา Video cameras และเครื่องมือผ่าตัดพิเศษขนาดพิเศษขนาดเล็ก แพทย์สามารถจะตรวจหาความผิดปกติของข้อ และผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือเล็กๆ เจาะรูใส่เข้าไปในข้อได้ โดยมองผ่านจอภาพที่ต่อออกมาจาก Video cameras ได้ชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยถูกต้อง และผ่าตัดรักษาได้ผลดีกว่า วิธีผ่าตัดแบบปกติ
 
     การผ่าตัดทั่วไป จำเป็นต้องเปิดแผลและตัดเสื้อเยื่อที่ดี เพื่อให้เห็นบริเวณผ่าตัดชัดเจน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการผ่าตัดข้อ เพราะการจะเห็นในข้อจำเป็นต้องเปิดเยื่อหุ้มข้อเป็นแผลเป็น และเกิดภาวะข้อยึดติดได้ง่าย นอกจากนั้นการเปิดแผลใหญ่ มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น และผิวข้อที่ถูกเปิดแผลใหญ่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น และผิวข้อที่ถูกเปิดออกมาถูกอากาศนานๆ ระหว่างผ่าตัด มีผลเสียต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ อาจทำให้ผิวเสียได้
 
     การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลกว้าง เพียงแต่เจาะผ่านเยื่อหุ้มข้อเข้าไปในข้อ และขณะเดียวกันข้อที่รับการผ่าตัดยังอยู่ในสภาพที่มีเยื่อหุ้มข้อปิดโดยรอบ ลดภาวะติดเชื้อ และป้องกันผิวข้อไม่ให้แห้ง การหายของแผลผ่าตัดและเยื่อหุ้มข้อใช้ระยะเวลาสั้นกล้ามเนื้อและการฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อที่ได้รับการผ่าตัดกลับสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น
 
     นอกจากนั้นการวินิจฉัยโรคหรือภาวะหรือภาวการณ์ผิดปกติของข้อซึ่งเดิมทำได้ยากหรือไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติ การตรวจเอ๊กซเรย์ CT scan หรือ MRI (คลื่นแม่เหล็ก) การส่องกล้องช่วยให้ การวินิจฉัยได้ถูกต้องชัดเจน และผ่าตัดรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
 
ผ่าตัดส่องกล้องที่ข้อไหนบ้าง
     1. ข้อเข่า มีการผ่าตัดส่องกล้องมากที่สุด ได้ผลดีมากเมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิดข้อ ซึ่งเป็นวิธีผ่าตัดที่ใช้น้อยลงในปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องที่ทำกันมากเช่น การรักษาหมอนรอง กระดูกข้อเข่าขาด กระดูกอ่อนแตก การผ่าตัดสร้างเอ็นในข้อเข่า
     2. ข้อหัวไหล่ ผ่าตัดซ่อมเอ็นหัวไหล่ขาด ข้อหัวไหล่หลุด ผ่าตัดซ่อมเยื่อหุ้มข้อ ผ่าแก้ไขข้อข้อหัวไหล่ติด
     3. ข้อมือ ผ่าตัดรักษาเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ วินิจฉัยผ่าตัดรักษาอาการปวดข้อมือเรื้อรัง
     4. ข้อเท้า ตรวจวินิจฉัยอาการปวดข้อเท้าเรื้อรัง กระดูกอ่อนแตก เยื่อหุ้มข้ออักเสบ
     5. ข้อสะโพก ข้อศอก มีการผ่าตัดส่องบ้างแต่น้อยกว่าข้ออื่น
 
การผ่าตัดส่องกล้องตรวจภายในข้อทำอย่างไร
     การผ่าตัดส่องกล้อง จัดว่าเป็นการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในเวลาเดียวกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้ยาชาเฉพาะที่การดมยาสลบ หรือทำให้ผู้ป่วยชาเฉพาะบริเวณ
 
     ผู้ป่วยได้รับการเตรียมข้อที่ผ่าตัด เช่นเดียวกับการผ่าตัดใหญ่ทั่วไปเพื่อป้องกันการติดเชื้อแพทย์จะเจาะรูเข้าไปในข้อมีบาดแผลเล็กๆ ขนาด 0.8-1.0 ซ.ม. ซึ่งเพียงพอที่จะใส่กล้องเข้าไปในข้อเพื่อตรวจดูภายในข้อ หากพบความผิดปกติที่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะเจาะรูเพิ่มอีกเพื่อใส่เครื่องมือผ่าตัด ขณะผ่าตัดสามารถต่อกล้องเข้ากับจอภาพ และบันทึกเก็บภาพได้ หลังผ่าตัดเย็บแผลปิด 1 เข็ม บางรายแผลเล็กมากอาจไม่ต้องเย็บแผล
 
ข้อดีของการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง
     1. แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก บางครั้งมองเกือบไม่เห็นแผลผ่าตัด
     2. ไม่ต้องตัดเยื่อหุ้มข้อ เนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ การบาดเจ็บจากแผลผ่าตัดน้อยลง
     3. การเคลื่อนไหวของข้อหลังผ่าตัดทำได้เร็วขึ้น
     4. การฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อกลับคืนสู่สภาพปกติได้เร็ว
     5. ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดน้อยมาก
     6. วินิจฉัยได้ถูกต้อง แม่นยำ และรักษาได้ทันที หรือวางแผนผ่าตัดในอนาคตได้
 
การทำผ่าตัดส่องกล้อง จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยราคาค่อนข้างแพง และต้องอาศัยความชำนาญของศัลยแพทย์ การเลือกผู้ป่วยและโรคสำหรับการผ่าตัดส่องกล้องที่เหมาะสม จะช่วยให้ผลการรักษาได้ดีคุ้มค่าและมีประโยชน์ต่อคนไข้มาก 
 
ด้วยความปรารถนาดีจาก
คลินิก ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลวิภาวดี โทร. 0-2561-1111 กด 1
(ผู้ป่วยนอก) 7.00 – 21.00 น.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด