ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผ่านพ.ร.บ.คู่ชีวิต รับรองสิทธิจดทะเบียนเพศเดียวกัน

ผ่านพ.ร.บ.คู่ชีวิต รับรองสิทธิจดทะเบียนเพศเดียวกัน HealthServ.net

ครมมีมติเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่ตราขึ้นเพื่อรองรับสิทธิบุคคล "ผู้มีความหลากหลายทางเพศ" สาระสำคัญ ประกอบด้วย 4 หมวด ได้แก่ การจดทะเบียนคู่ชีวิต เงื่อนไขการเป็นคู่ชีวิต บุตรบุญธรรม และมรดก นับเป็นกฏหมายที่สอดคล้องกับสังคมโลกและนานาประเทศในด้านการยอมรับเพศทางเลือก

ผ่านพ.ร.บ.คู่ชีวิต รับรองสิทธิจดทะเบียนเพศเดียวกัน ThumbMobile HealthServ.net
7 มิถุนายน 2565  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดย ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตฯ เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม ตราขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะ เพื่อรองรับ "สิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ" 

กล่าวได้ว่า เป็นกฏหมาย เพื่อการรองรับสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่ได้รับการรับรองในทางระหว่างประเทศ
 มุ่งส่งเสริม สร้างความเข้มแข็งของ "ครอบครัวที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ"  เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมของโลกในปัจจุบัน


ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย 4 หมวด 46 มาตรา ดังนี้

อารัมภบท คำนิยามสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะ คำว่า “คู่ชีวิต” 

หมวด 1 การจดทะเบียนคู่ชีวิต การจดทะเบียนคู่ชีวิต - กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการ จดทะเบียนคู่ชีวิต

หมวด 2 การเป็นคู่ชีวิต
- กำหนดหน้าที่ของคู่ชีวิตต่อกัน และกรณีที่คู่ชีวิตไม่สามารถอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวโดยปกติสุขได้
- กำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวมาใช้บังคับกับคู่ชีวิตหากไม่มีบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในหมวดนี้รวมถึงเรื่องอื่น ๆ เช่น ภูมิลำเนาของคู่ชีวิต อำนาจในการจัดการแทนผู้เสียหายและอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายของคู่ชีวิต
- ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิต
- ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต สินส่วนตัว ทรัพย์สินร่วมกันของคู่ชีวิต รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินร่วมกันของคู่ชีวิต
- ความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนคู่ชีวิต
- การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต

หมวด 3 บุตรบุญธรรม

มวด 4 มรดก



กำหนดสิทธิและหน้าที่คู่ชีวิต ตามร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เช่น 
1) หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
2) อำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญาเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา
3) สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน
4) สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
5) สิทธิและหน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หากอีกฝ่ายเป็นคนไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
6) สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย และ
7) สิทธิจัดการศพ

 


สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. อาทิ
 
  1. คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้
  2. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้ 
  3. การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย รวมทั้งกำหนดบุคคลต้องห้ามไม่ให้จดทะเบียนคู่ชีวิต เช่น ทั้งสองคนเป็นญาติสืบสายโลหิตกัน เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา เป็นต้น
  4. กรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล และเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิตแล้วผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะ 
  5. กำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับลักษณะความสัมพันธ์ของคู่ชีวิต เช่น ต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน 
  6. คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป. วิ อาญา)
  7. ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต แบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน 
  8. การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต คู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งกำหนดเหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต เช่น คู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ประพฤติชั่ว ทำร้าย ทรมานร่างกายหรือจิตใจ จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี
  9. บุตรบุญธรรม เมื่อคู่ชีวิตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ. นี้ และ ป.พ.พ. แล้ว สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้ 
  10. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ว่าด้วยมรดก 
  11. กำหนดให้นำบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ว่าด้วยคู่สมรส ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลมในบางกรณี

ส่วนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี “คู่สมรส” หรือ “คู่ชีวิต” อยู่ไม่ได้
2.กาหนดให้เหตุฟ้องหย่ารวมถึง กรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉัน “คู่ชีวิต”
3.ให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต 
 
ทั้งนี้ สิทธิที่เกี่ยวข้องกับคู่ชีวิตในกฎหมายฉบับอื่นๆ จะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป ภายหลังจากร่าง พ.ร.บ.นี้ มีผลบังคับใช้   [รัชดา ธนาดิเรก - รองโฆษกรัฐบาล]
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด