ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา

ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา เป็นภาวะที่พบบ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในเพศหญิงจะพบภาวการณ์ขยายตัวของหลอดเลือดแดง (Telangiectasis) ได้มากกว่าเพศชายถึง 4 เท่า

ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา เป็นภาวะที่พบบ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในเพศหญิงจะพบภาวการณ์ขยายตัวของหลอดเลือดแดง(Telangiectasis) ได้มากกว่าเพศชายถึง 4 เท่า แต่ขณะเดียวกันขนาดของเส้นเลือดขอดของหลอดเลือดดำ(Varicose vein) ในเพศชายจะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบได้ในเพศหญิงถึง 2 เท่า เส้นเลือดขอดเกิดจากความผิดปกติของวาวล์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการไหลย้อนกลับของเลือดทำให้มีการคั่งของเลือดภายในเส้นเลือดและเกิดการโป่งตึงของหลอดเลือดบริเวณนั้นขึ้นมา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการไหลกลับของหลอดเลือดนั้น คือ ภาวการณ์ตั้งครรภ์ การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และรวมถึงการมีประวัติญาติพี่น้องที่มีอาการดังกล่าวด้วย นอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณขาแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อ การอุดตันของหลอดเลือดและการเกิดเลือดออกเฉียบพลันบริเวณดังกล่าวด้วย
 

ปัจจุบันทางโรงพยาบาลมีการรักษาหลายวิธี เช่น
 
1. การฉีดสารเพื่อทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดบริเวณนั้น ๆ  เช่น  Sodium tetradecyl sulfate และ Polidocanol โดยสารดังกล่าวจะทำให้เส้นเลือดบริเวณที่ฉีดเกิดการแข็งตัวและเกิดพังผืดจนทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในที่สุด วิธีนี้เป็นวิธีการรักษามาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดได้ เช่น การเกิดรอยดำจากการฉีดยา แผลอักเสบ การอักเสบของหลอดเลือดบริเวณที่ได้รับการฉีดยา การเกิดการอุดตันของหลอดเลือดดำภารในปอด เนื่องมาจากการฉีดยาในปริมาณมากเกินไปหรือฉีดในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดแดงซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดปลายเท้าได้
 
2. การใช้เลเซอร์ Nd:YAG ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีทำให้เส้นเลือดขอดลดลงถึงร้อยละ 75 หลังจากการรักษา 1 ครั้ง มีประสิทธิภาพที่ดีต่อทั้งหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง โดยใช้เป็นการรักษาหลักหรือรักษาเสริมจากการที่ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยามาแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้นก็ได้
 
3. การผ่าตัดเส้นเลือดขอด เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งมีประสิทธิภาพดีในผู้ป่วยที่มีลักษณะของเส้นเลือดขอดที่ใหญ่หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากเส้นเลือดขอดมาก
 
ทั้งนี้นอกจากการรักษาดังกล่าวแล้ว การป้องกันการเกิดภาวะเส้นเลือดขอดนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องยืนทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและหญิงตั้งครรภ์ วิธีการป้องกกันที่ได้ผลดี เช่น การยกขาบริเวณที่เป็นและการสวมถุงน่อง (Compression stockings) เพื่อให้เลือดได้ไหลเวียนกลับสู่หลอดเลือดดำได้สะดวกขึ้น และลดการไหลย้อนกลับของเลือดลงสู่ส่วนที่ต่ำกว่ารวมถึงการรับประทานยาต้านการอักเสบ เข่น Ibuprofen และ aspirin ในกรณีเกิดการอักเสบของหลอดเลือด
 
                                                                                                          
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด