ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มาตรการป้องกันและควบคุมโรค สำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง

มาตรการป้องกันและควบคุมโรค สำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง HealthServ.net
มาตรการป้องกันและควบคุมโรค สำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง ThumbMobile HealthServ.net

มาตรการป้องกันและควบคุมโรค สำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง

มาตรการป้องกันและควบคุมโรค สำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง HealthServ

มาตรการป้องกันและควบคุมโรค สำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง ในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

จัดทำโดย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
 
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักไป
ทั่วโลก ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรงภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคมะเร็ง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะรับเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย หากไม่ได้มีการดูแลและป้องกันอย่างดีสถานดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง เป็นสถานประกอบการที่มีผู้สูงอายุอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งช่วยเหลือตนเองได้ และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว จึงได้ออกแนวทางการดำเนินการและการบริหารจัดการสำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้สถานประกอบการสามารถเปิดบริการได้อย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน ถูกต้องตามหลักวิชาการและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นการควบคุมการระบาดของโรค ป้องกันการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ และการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยรายใหม่ได้ในวงกว้าง สนับสนุนการประคับประคองเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถฟื้นตัวและพัฒนาได้ต่อไป
 
องค์ประกอบของการจัดบริการสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (สำหรับผู้ประกอบการ)

1. ผู้ประกอบการ มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

1.1 การจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์

1) จัดพื้นที่ต้อนรับผู้รับบริการให้เหมาะสม กำหนดให้มีช่องทางเข้าออกเพียงทางเดียว โดยให้มีระยะห่าง 1 เมตรระหว่างลูกค้าหรือผู้มาติดต่อแต่ละท่าน เพื่อความปลอดภัยและมีระบบการซักประวัติความเสี่ยงควรจัดให้พื้นที่แยกออกจากส่วนปฏิบัติงานของพนักงาน โดยให้พนักงานต้อนรับ หรือพนักงานที่อยู่ในส่วนสำนักงาน สวมถุงมือ หน้ากากอนามัย และกระจังหน้า (Face shield) หรือแว่นตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
 
2) จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบมือถือ (Hand-Held Thermometer) หรือเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด เป็นต้น โดยกำหนดให้มีจุดคัดกรองอุณหภูมิร่างกายแก่ผู้รับบริการและพนักงานทุกคน ก่อนเข้าสถานประกอบการหรือในที่เหมาะสม
 
3) จัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 70% ล้างมือไว้ในบริเวณเคาน์เตอร์ เพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุผู้มาติดต่อ และพนักงาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อระหว่างบุคคล
 
4) จัดให้มีบริการชำระเงินที่ปลอดภัย เพื่อลดปริมาณการพูดคุย สัมผัส ระหว่างพนักงานของสถานประกอบการกับผู้รับบริการหรือ Online Payment
 
5) เก้าอี้พักคอย จัดให้มีระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร อยู่ในบริเวณที่บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
 
6) สถานประกอบการต้องจัดให้มีความกว้างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า1 เมตร
 
7) จัดให้มีพื้นที่สำหรับเยี่ยมญาติแยกจากห้องพักผู้สูงอายุ ด้านนอกอาคารหรือบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แทนการใช้ห้องปรับอากาศและไม่อนุญาตให้ญาติเข้าไปในบริเวณของที่พักผู้สูงอายุ
 
8) การเข้าเยี่ยมของญาติ และผู้มาติดต่อ กำหนดเวลาและจำกัดจำนวนคนในการเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุได้ครั้งละ 1 คนเยี่ยมต่อครั้ง และไม่เกิน 30 นาที เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
 
9) หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่ต้องรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก หากจำเป็นให้จัดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 2 เมตร เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
 
10) จัดให้มีระบบการส่งต่อในกรณีผู้รับบริการเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉิน กรณีที่ต้องพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ ต้องจัดเตรียมหน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์เจลสำหรับ ให้ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลทุกครั้ง
 
11) กำหนดจุดรับส่งวัตถุดิบปรุงอาหาร และดูแลการรับส่งวัตถุดิบให้สด สะอาด และปลอดภัย
 
12) จัดให้มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลและคู่มือการปฐมพยาบาลไว้ในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพและพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
 
13) กำหนดให้มีจุดรับของจากญาติ และผู้ที่มาติดต่อ โดยให้มีการเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนทำการแจกจ่าย หรือจัดเก็บ
 

1.2 การจัดเตรียมบุคลากร

1) ให้ข้อมูลความรู้ คำแนะนำ หรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคกับผู้สูงอายุรวมทั้งพนักงานในสถานดูแลเช่น โปสเตอร์ป้ายประกาศ แนะนำให้ล้างมือ และการสวมหน้ากากอนามัย
 
2) ให้พนักงานทุกคน ทุกคนสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเองขณะปฏิบัติงาน ได้แก่ หน้ากากอนามัย และกระจังหน้า (Face shield) หรือแว่นตา เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อ
 
3) ให้พนักงานที่ไม่ใช่ผู้ดูแลระมัดระวังการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ โดยเว้นระยะห่างในการติดต่อกับผู้สูงอายุ และพนักงานด้วยกันเอง อย่างน้อย 1 เมตร

2. ผู้ดำเนินการสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

2.1 สอบถามบันทึกข้อมูลสุขภาพพื้นฐาน คัดกรองผู้สูงอายุทุกราย และจัดทำทะเบียนประวัติเพื่อจัดบริการที่เหมาะสมแก่สุขภาพของผู้สูงอายุ หากผู้รับบริการมีอาการไข้(อุณหภูมิเกิน 37.3 องศาเซลเซียส) ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้แนะนำให้รีบไปพบแพทย์
 
2.2 ให้ความรู้ และชี้แจงเกี่ยวกับการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19 ให้พนักงาน ญาติและผู้รับบริการ ทราบและ จัดเป็นระเบียบปฏิบัติ และระเบียบข้อบังคับ
 
2.3 การต้อนรับเว้นระยะห่างในการติดต่อกับผู้รับบริการ และพนักงานด้วยกันอย่างน้อย 1 เมตร
 
2.4 ควบคุมดูแลการบริการ อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุ ให้ได้มาตรฐานถูกสุขลักษณะ และใช้ได้อย่างปลอดภัย
 
2.5 คัดกรองพนักงานทุกคนก่อนเข้าสถานประกอบการทุกวันและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
 
2.6 จัดแยกสำรับอาหารของผู้สูงอายุและพนักงานเฉพาะบุคคล หรือจัดให้อุปกรณ์สำหรับรับประทานอาหารส่วนตัว และทานอาหารที่อุ่นร้อน
 
2.7 จัดเตรียมห้องแยกสำหรับผู้สูงอายุหลังกลับจากโรงพยาบาล หรือผู้สูงอายุที่ต้องติดตามสังเกตอาการ ให้พนักงานติดตามสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
 
2.8 ให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ก่อนและหลังสัมผัสดูแลผู้สูงอายุ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก นอกจากนี้ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ นอน
หลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีอาการป่วย ให้หยุดงาน และรีบไปโรงพยาบาล ที่อยู่ใกล้เคียง พร้อมแจ้งประวัติการสัมผัสคลุกคลีกับผู้รับบริการให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป
 

3. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ปฏิบัติตัว ดังนี้

3.1 ระมัดระวังการสัมผัสใกล้ชิดขณะปฏิบัติหน้าที่ ต้องสวมหน้ากากอนามัย และสวมกระจังหน้า (Face shield) หรือแว่น ทุกครั้งที่สัมผัสผู้สูงอายุ
 
3.2 หากพบว่าผู้สูงอายุมีอาการผิดปกติในร่างกาย เช่น มีไข้ (อุณหภูมิเกิน 37.3 องศาเซลเซียส) ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้แจ้งผู้ดูดำเนินการทราบ
 
3.3 ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสดูแลผู้สูงอายุ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก นอกจากนี้ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีอาการป่วย ให้หยุดงาน และรีบไปโรงพยาบาล ที่อยู่ใกล้เคียง พร้อมแจ้งประวัติการสัมผัสคลุกคลีกับผู้รับบริการให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป
 
3.4 หากมีไข้(อุณหภูมิเกิน 37.3 องศาเซลเซียส) ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดให้บริการ และรีบไปพบแพทย์
 
3.5 สังเกตอาการทางสุขภาพของผู้สูงอายุ เช่น มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ควรแนะนำให้ผู้สูงอายุสวมหน้ากากอนามัย ให้แจ้งผู้ดำเนินการทราบ
 
3.6ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อน ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าและผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
 
3.7 เว้นระยะห่างในการปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 เมตร ยกเว้น กรณีการพลิกตัว เช็ดตัว การเคลื่อนย้าย ให้ใช้ความระมัดระวังการไอ จาม จากผู้รับบริการและใช้อุปกรณ์สำหรับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น  หน้ากากอนามัย ถุงมือ และface shield ทุกครั้ง
 
3.8 สำหรับผู้ดูแลที่พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล หรือออกนอกสถานดูแลผู้สูงอายุต้องอาบน้ำ สระผม
และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที (โดยไม่เข้าไปในบริเวณที่พักผู้สูงอายุก่อนการอาบน้ำโดยเด็ดขาด)
 

4. ผู้สูงอายุในสถานประกอบการ ปฏิบัติตัว ดังนี้

4.1 สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อมีการทำกิจกรรมหรืออยู่ใกล้ชิดบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือกรณีเดินทางออกนอกสถานดูแลผู้สูงอายุ
 
4.2 ให้ความร่วมมือในการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายและสัญญาณชีพต่าง ๆ ทุกวันและมีบันทึกไว้เป็นข้อมูล
 
4.3 ล้างมือเป็นประจำด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอล์เจล
 
4.4 ปฏิบัติตามคำแนะนำของสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ
 
4.5 หลีกเลี่ยงการพบปะคนอื่น ๆ หรือไปในสถานที่ที่มีกลุ่มคนรวมตัวกัน
 
4.6 หากมีอาการผิดปกติในร่างกาย เช่น มีไข้ (อุณหภูมิเกิน 37.3 องศาเซลเซียส) ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้แจ้งผู้ดูแลให้ทราบ
 
4.7 หากมีความจำเป็นต้องไปรับยาที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องให้ญาติหรือเจ้าหน้าที่ไปรับยาแทน
 

5. การรับผู้สูงอายุรายใหม่ ดังนี้

5.1 หากผู้สูงอายุถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลต้องมีใบรับรองแพทย์ หรือผลการตรวจโควิด -19และกรณีที่มาจากบ้าน ต้องมีผลการตรวจโควิด-19
 
5.2 จัดพื้นที่สำหรับผู้รับบริการรายใหม่ ให้มีระยะห่าง 1 เมตร เพื่อความปลอดภัย ในการซักประวัติ การเจ็บป่วย การเดินทางไปต่างประเทศ และประเมินความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ
 
5.3 ให้ญาติและผู้สูงอายุสวมหน้ากากอนามัยตลอด 14 วัน
 
5.4 ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบมือถือ ล้างมือด้วยแอลกอฮอลล์ 70 % ทุกคน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อระหว่างบุคคล
 
5.5 ให้ความรู้และอธิบายให้ผู้รับบริการรายใหม่และญาติทราบเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19
 
5.6 แยกห้องสำหรับผู้สูงอายุรายใหม่หลังกลับจากโรงพยาบาล ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
 
5.7 อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนเสื้อผ้าผู้สูงอายุรายใหม่ทันทีที่ตรวจประเมินทางร่างกายเรียบร้อยแล้วและใส่หน้ากากอนามัยให้ผู้เข้าพักในรายที่ใส่ได้ (ในรายที่เป็นอัลไซเมอร์อาจงดเว้นเป็นกรณีพิเศษ)
 
5.8 จัดทีมพนักงานสำหรับดูแลเฉพาะผู้สูงอายุรายใหม่ และใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองขณะดูแล 14 วัน
 
5.9 หลังครบกำหนดการติดตาม 14 วัน ถ้าอาการทั่วไปปกติดีให้สามารถย้ายเข้าห้องพักในพื้นที่
ปกติได้
 

6. ผู้มาติดต่อ และผู้เข้าเยี่ยม ปฏิบัติตัว ดังนี้

6.1 หากมีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงในระยะเวลา 14 วันก่อนหน้า ให้งดการเข้ามาในสถานประกอบการโดยเด็ดขาด
 
6.2 หากมีอาการไข้ (อุณหภูมิเกิน 37.3 องศาเซลเซียส) ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบให้งดเยี่ยมผู้สูงอายุโดดเด็ดขาด
 
6.3 ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสดูแลผู้สูงอายุ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก ของตนเอง และผู้สูงอายุ
 
6.4 เข้าเยี่ยมเฉพาะญาติของผู้สูงอายุ งดการทำกิจกรรม งดการกอด หอม และการสัมผัสผู้สูงอายุคนอื่น ๆ
 
6.5 งดการพาผู้สูงอายุออกนอกสถานประกอบการ เว้นแต่พาไปพบแพทย์ตามแผนการรักษา
 

7. แนวทางปฏิบัติพิเศษสำหรับการเฝ้าระวังในการดูแลผู้สูงอายุ / ผู้เข้าพัก

7.1 การสังเกตอาการของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิดเพราะการติดเชื้ออาจมีอาการไม่ชัดเจน เช่น ไม่มีไข้ แต่มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลงอย่างรวดเร็ว ให้รีบปรึกษาแพทย์
 
7.2 การป้องกันการติดเชื้อภายในสถานดูแลโดยการใช้ อุปกรณ์ ภาชนะ อาหาร ส่วนตัวของแต่ละคน ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ เว้นระยะห่างระหว่างกัน 1 เมตร ใส่หน้ากากอนามัยถ้ามีการพูดคุยสื่อสาร
 
7.3 การจัดเตรียมสถานที่และแผนในการรองรับ กรณีเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เมื่อเกิดการติดเชื้อดังนี้

1) รายงานการติดเชื้อไปยังหน่วยงานศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และส่งต่อผู้ติดเชื้อไปโรงพยาบาล โดยประสานงานกับ 1669

2) เฝ้าระวังสังเกตอาการและตรวจอุณหภูมิร่างกายและสัญญาณชีพของผู้สูงอายุและผู้ดูแลที่มีความเสี่ยงสัมผัสผู้ติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ

3) ส่งต่อผู้สูงอายุเข้ารับการรักษาเมื่อมีไข้สูง โดยประสานงานกับ 1669

4) แยกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสัมผัสเชื้อ โดยประสานงานกับ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อส่งตัวไปยังสถานที่กักตัว 14 วัน หรือ กักตัวให้สถานดูแลผู้สูงอายุในห้องแยก
 

8. การทำความสะอาดเพื่อควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ

8.1 พนักงานทำความสะอาด ปฏิบัติตัว ดังนี้

1) พนักงานทำความสะอาด ต้องสวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล ได้แก่ หมวกคลุมผม หน้ากากอนามัย ถุงมือ และสวมกระจังหน้า (Face shield) หรือแว่น เป็นต้น

2) ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนอุปกรณ์หรือสิ่งของที่ให้บริการอย่างถูกสุขลักษณะทุกครั้งหลังให้บริการ เช่น แก้วน้ำ ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ปลอกหมอน เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ไม่ควรใช้ซ้ำ โดยใช้สารทำความสะอาดตามรายละเอียดข้อ 8.2

3) ทำความสะอาดบริเวณที่มีคนเดินผ่าน รวมถึงบริเวณที่มีคนสัมผัสร่วมกัน เช่น ลูกบิด ประตูเคาน์เตอร์รับบริการ ราวบันได อ่างล้างมือ ห้องน้ำ โต๊ะ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องพักผ่อน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน ด้วยสารทำความสะอาดตามรายละเอียดข้อ 8.2 ทุก 2 ชั่วโมงหรือทุกครั้งหลังมีผู้ใช้บริการไม่แนะนำให้พ่นยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อแบบละอองฝอย หากทำได้ไม่ถูกวิธี รวมถึงไม่มีการใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองจะก่อให้เกิดความเสี่ยงติดเชื้อแก่ผู้ทำความสะอาด

4) การเก็บผ้าปูเตียง ปลอกหมอน เสื้อผ้าใช้แล้ว ผ้าขนหนู โดยให้ม้วนออกห่างจากตนเอง ไม่ควรสะบัดผ้า เพราะจะทำให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซักล้างทำความสะอาดหรืออุปกรณ์หรือสิ่งของภายในสถานประกอบการอย่างถูกสุขลักษณะ เช่น ผ้าม่าน ผ้าขนหนู ปลอกหมอน ผ้าปูเตียง เสื้อผ้า เป็นต้น โดยใช้สารทำความสะอาดตามรายละเอียดข้อ 8.2

5) ควรมีการจัดการขยะติดเชื้อ สิ่งปฏิกูล และน้ำเสียที่เหมาะสม เช่น ผ้าหรือกระดาษชำระที่ผ่านการใช้แล้ว อาจปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้รับบริการเป็นต้น ก่อนทิ้งขยะติดเชื้อควรใส่ถุงปิดให้มิดชิดหรือทิ้งในถังขยะติดเชื้อ และล้างมือทำความสะอาดเพื่อป้องกันการตกค้างของเชื้อโรค

6) ทำความสะอาดห้องสุขาสำหรับญาติหรือบุคคลภายนอกทุกครั้งหลังมีการใช้บริการกรณีห้องสุขารวมต้องทำความสะอาดทุก 1 ชั่วโมง

7) ควรแยกห้องน้ำสำหรับบุคคลภายนอกและบุคคลภายในอย่างชัดเจน

8) หากมีรถพยาบาลสำหรับสถานประกอบการเอง ให้ทำความสะอาดรถพยาบาลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ทุกครั้งหลังรับ - ส่งผู้ป่วย
 

8.2 สารทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อ

เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถอยู่บนพื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ เป็นเวลา 1 - 3 วัน พื้นผิวที่อาจสัมผัสปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงต้องได้รับการความสะอาดและฆ่าเชื้อ โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด ดังนี้

1) น้ำยาฟอกขาวสามารถใช้สำหรับทำความสะอาดพื้นผิวได้ โดยผสมในอัตราส่วนดังนี้
  • พื้นผิวทั่วไป เช่น พื้นที่เตรียมอุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ใช้น้ำยาฟอกขาวเจือจาง 1 ส่วนในน้ำ 99 ส่วน (ความเข้มข้น 0.05% หรือเท่ากับ 500 ppm)
  • พื้นผิวที่มีน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ สารคัดหลั่ง เช่น ห้องสุขา โถส้วม อ่างล้างมือใช้น้ำยาฟอกขาวเจือจาง 1 ส่วนในน้ำ 9 ส่วน (ความเข้มข้น 0.5%) ราดทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที
2) สำหรับพื้นผิวที่เป็นโลหะ สามารถใช้แอลกอฮอล์ 70% ทำความสะอาดได้

3) วัสดุที่เป็นผ้าที่อาจปนเปื้อนด้วยเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอนควรทำความ
สะอาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้น้ำที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส หรือแช่ผ้าในผงซักฟอกที่เจือจาง ผงซักฟอก 1 ส่วน กับน้ำ 99 ส่วน แล้วแช่ทิ้งไว้เป็นเวลา 30 นาที ก่อนซักปกติ

4) เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้ดำเนินการฆ่าเชื้อให้ถูกต้องตามหลักการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
 
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
 
มาตรการป้องกันและควบคุมโรค สำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด