ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มุมมองเศรษฐกิจหลัง COVID-19 (Moving forward) - Krungthai Compass

มุมมองเศรษฐกิจหลัง COVID-19 (Moving forward) - Krungthai Compass HealthServ.net
มุมมองเศรษฐกิจหลัง COVID-19 (Moving forward) - Krungthai Compass ThumbMobile HealthServ.net

แม้ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2022 จะมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากปีก่อน แต่ยังเต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยง โดยสถานการณ์ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ทั่วโลกได้เข้าสู่จุดสูงสุดในช่วงเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปที่จำนวนผู้ติดเชื้อทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเข้มงวดน้อยกว่าในช่วงการระบาดของสายพันธุ์ Delta ควบคู่กับการเร่งระดมฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมและเพิ่มเข็มกระตุ้นให้แก่ประชาชนมากขึ้น บทเรียนจากการรับมือกับเช้ือ COVID-19 กลายพันธุ์ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติและหลายประเทศก็เริ่มปรับยุทธวิธีรับมือกับ COVID-19 ให้เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ควบคู่กันไปด้วย

มุมมองเศรษฐกิจหลัง COVID-19 (Moving forward) - Krungthai Compass HealthServ
 
 
อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตอาจยังต้องเผชิญข้อจำกัดด้านอุปทาน (Supply Constraint) ที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจกระทบต่อโมเมนตัมของการผลิตในหลายอุตสาหกรรม ตลอดจนต้นทุนราคาสินค้าขั้นต้นและขั้นกลางต่อเนื่องอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้


ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกยังเจอผลกระทบจากต้นทุนค่าขนส่งทางเรือทะเลที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากอุปทานจำนวนเรือและตู้คอนเทนเนอร์น้อยกว่าอุปสงค์ที่เติบโตเร่งขึ้น กอปรกับความล่าช้าในการขนส่งสินค้าจากการแพร่ระบาด ทำให้ค่าขนส่งทางเรือคาดว่าจะยังคงทรงตัวในระดับสูงตลอดทั้งปี 2022

 

ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน


และสิ่งที่ทั่วโลกกำลังจับตาอยู่คงหนีไม่พ้น ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนที่รุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่คาด เมื่อเทียบกับวิกฤตการณ์บนคาบสมุทรไครเมียร์ปี 2014 โดยครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายมีแนวโน้มที่จะเผชิญหน้ากันมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของทั้งรัสเซียและยูเครนแล้ว ยังทำให้ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นมาก โดยราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงจนแตะระดับ 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้โมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอลงได้ในระยะต่อไป
 
 

เงินเฟ้อเร่งตัวทั่วโลก


ดังนั้น ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นมาก และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน มีส่วนทำให้เงินเฟ้อทั่วโลกเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในระยะหลังเกิดจากปัจจัยด้านอุปทานตามการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสำคัญ ประกอบกับประเทศเศรษฐกิจหลักก็ได้รับแรงเสริมจากการฟื้นตัวของฝั่งอุปสงค์ หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคและการเปิดเมือง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในหลายประเทศพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหลายปี
 
 
 
มุมมองเศรษฐกิจหลัง COVID-19 (Moving forward) - Krungthai Compass HealthServ


ผลต่อเศรษฐกิจไทย


สำหรับเศรษฐกิจไทย Krungthai COMPASS ประเมินว่า ในปี 2022 เศรษฐกิจจะขยายตัว 3.8% ต่อเนื่องจากปีก่อนที่ขยายตัว 1.6% แต่แรงกดดันด้านเงินที่เฟ้อเพิ่มขึ้นยังเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตาม โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีอาจแตะ 2.0% โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปีที่เงินเฟ้อมีโอกาสเกิน 3.0% เนื่องจากระดับราคาสินค้าของไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 ค่อนข้างมาก ตามปัจจัยด้านอุปทานที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกหลายชนิดเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และอาจทรงตัวในระดับสูงเป็นระยะเวลานานกว่าที่คาดหากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนลากยาวออกไป ซึ่งจะกดดันการฟื้นตัวของการบริโภคจากกำลังซื้อที่ลดลง โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีความเปราะบางอยู่ก่อนแล้ว ขณะที่การส่งผ่านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้าขั้นสุดท้ายก็ทำได้ไม่มากนัก จนเริ่มกระทบต่อความสามารถในการทำกำไร (Margin) ของผู้ประกอบการ ส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
 

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของภาคธุรกิจยังคงไม่พร้อมเพรียงกัน (K-shaped recovery) ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจมีแนวโน้มที่จะกลับมาฟื้นตัวได้บ้างหลังจากภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ แต่ต้องยอมรับว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุค New Normal อีกทั้งความสามารถ รวมถึงศักยภาพในการปรับตัวของแต่ละธุรกิจยังมีความแตกต่างกัน ซึ่งก็จะส่งให้การฟื้นตัวของแรงงานในแต่ละภาคธุรกิจมีความเหลื่อมล้ำกันและส่งผ่านมาถึงกำลังซื้อของแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละภาคธุรกิจตามไปด้วย
 

 

การส่งออกขยายตัว


สำหรับภาคการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีตามเศรษฐกิจโลกและคู่ค้าที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลดีต่ออุปสงค์ต่างประเทศผ่านการนำเข้าสินค้าจากคู่ค้าอีกทั้งแรงหนุนด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่คาดว่าจะทรงตัวในระดับสูงอย่างน้อยในช่วงครึ่ง แรกของปีก็มีส่วนเสริมมูลค่าส่งออกของไทยผ่านการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ามันและสินค้าอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี เรายังต้องจับตาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่แม้ว่าผลกระทบทางตรงจากตลาดรัสเซียและยูเครนจะค่อนข้างจำกัด แต่อาจจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่สำคัญอย่างสหภาพยุโรปที่ชะลอลงได้ (เนื่องจากไทยส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครนรวมกันเพียงปีละ 1 พันล้านดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับไทยส่งออกไปยุโรปราวปีละ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ)

 
 
มุมมองเศรษฐกิจหลัง COVID-19 (Moving forward) - Krungthai Compass HealthServ


นักท่องเที่ยวทั้งปีคาด 5.8 แสนคน


ส่วนภาคการท่องเที่ยวนั้น บรรยากาศการท่องเที่ยวจากต่างชาติในช่วงครึ่งปีแรกจะยังไม่คึกคักมากนัก โดย Krungthai COMPASS คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 2022 อยู่ที่ราว 5.8 แสนคน และจะฟื้ นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีอานิสงส์จากที่ไทยกลับมาเปิดใช้มาตรการ Test & Go ซึ่งจะหนุนให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทยอยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังที่จะกลับมาคึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศ คาดว่าผลกระทบจากการระบาดของสายพันธุ์ Omicron ค่อนข้างจำกัดจากการกระจายวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรเกิน 70% อีกทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการอยู่ร่วมกับ COVID-19 มากขึ้น ทำให้กิจกรรมการ ท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 4)
 
 
 

ตลาดการเงินครึ่งแรกของปีผันผวนสูง


ส่วนตลาดการเงินคาดว่าจะยังคงผันผวนสูงในช่วงครึ่งแรกของปี จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นอีกหนึ่งแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดิมที่อยู่ในระดับสูงก่อนแล้ว ส่งผลให้นโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มจะเข้มงวดเร็วขึ้นและแรงขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ ส่งผลให้ตลาดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมส่งผลให้เกิดกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายและเงินบาทเทียบดอลลาร์ฯ มีโอกาสผันผวนไปในทางอ่อนค่าได้บางช่วง


ฉะนั้นแล้ว แม้ COVID-19 ดูเหมือนจะอยู่ในวิสัยที่ควบคุมได้ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนรับวิถี New Normal มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอปุ สงค์ในประเทศเริ่ม กลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในปีนี้อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปที่ยังฟ้ืนตัวได้ไม่เต็มที่และไม่พร้อมเพรียงกัน ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นมาก เงินเฟ้อเร่งขึ้นสวนทางกับกำลังซื้อที่ทยอยฟื้น อีกทั้งสถานการณ์ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงทวีความรุนแรงต่อไป การเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงตัวช่วยทางการเงิน ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยประคับประคองให้ผู้ประกอบการรอดพ้นจากทุกสภาวการณ์ได้ 
 
 
 
In the news - Krungthai Compass
นักวิเคราะห์ พิมฉัตร เอกฉันท์
บทความนี้เผยแพร่ในนิตยสาร SME Focus ฉบับเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2565 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด