ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยุติบทบาท ศบค.และเลิกพรก.ฉุกเฉิน กันยายน 65

ยุติบทบาท ศบค.และเลิกพรก.ฉุกเฉิน กันยายน 65 HealthServ.net
ยุติบทบาท ศบค.และเลิกพรก.ฉุกเฉิน กันยายน 65 ThumbMobile HealthServ.net

ศบค.ประแผนและไทม์ไลน์การเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมสู่ยุคหลังโควิด (Post-Pandemic) กำหนดยกเลิกศบค.และ พรก.ฉุกเฉิน กันยายน 2565 ส่งไม้ต่อให้คณะกรรมโรคติดต่อกทม.และระดับจังหวัดดูแลต่อไป

 
19 สิงหาคม 2565 ศบค.แถลงสถานการณ์โควิดรายวัน โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งเปิดเผยถึง กรอบนโยบายแนวทางปฏิบัติ และห้วงเวลาในการดำเนินการเปลี่นผ่านสู่ภาวะ Post-Pandemic เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 โดยสาระสำคัญ ดังนี้

 
 
การประเมินสถานการณ์และความเสี่ยง 1 (ด้านการป้องกัน)
 
1. ทั่วโลกยังมีการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อหลังจากที่โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 ระบาด เนื่องจากการกลายพันธุ์ที่รวดเร็ว แต่จำนวนผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตไม่สูงมากเมื่อเทียบกับช่วงการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ BA.1/2 และเดลต้า
 
2. ผลการสำรวจภูมิต้านทานในประชาชนไทยเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565 พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 90 ตรวจพบภูมิต้านทานต่อ Spike protein (anti-S) หรือ Nucleocapsid protein (anti-N) แล้ว
 
3. ข้อมูลศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนใช้จริงในไทย พบว่าการฉีด 3 เข็มขึ้นไปในทุกสูตร สามารถป้องกันการป่วยรุนแรง และการเสียชีวิตสูงมากกว่า 90% และต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ป้องกันการติดเชื้อได้ต่ำ
 
4. คาดการณ์ว่า โควิด-19 จะมีลักษณะการเกิดโรคในประชากรจะคล้ายคลึงกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ซึ่งจะพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่อาจมีการระบาดในบางช่วงเวลา โดยการป่วยที่รุนแรงเสียชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนและกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคร่วม (กลุ่ม608) ที่รับวัคซีนไม่ครบ
 
 
การประเมินสถานการณ์และความเสี่ยง 2 (ด้านการรักษา)
 
1. จากการประเมิน อาการผู้ป่วยมีแนวโน้มไม่รุนแรง ยกเว้น ใน กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง และ กลุ่ม 608
 
2. การใช้ยาต้านไวรัส ควรให้เฉพาะกลุ่มที่มีอาการ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง
 
3.การจัดบริการด้านการรักษาพยาบาล พิจารณาอาการผู้ป่วย
ㆍ ถ้าไม่มีอาการให้แยกกักที่บ้าน
ㆍ ถ้ามีอาการอื่นๆ จากโรคประจำตัว ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง หรือ กลุ่ม608 และ/หรือระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94% ให้รับไว้ในโรงพยาบาล
 
4. ระยะเวลาในการแยกกัก ในกรณีที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ให้แยกกักหลังตรวจพบอย่างน้อย 5 วัน จากนั้นให้ปฏิบัติตนแบบ DMH อย่างเคร่งครัดต่ออย่างน้อยอีก 5 วัน
 
 
 
 
ไทม์ไลน์การปลดล็อกโควิด 
 
กรอบเวลาตั้งแต่ สิงหาคม - ธันวาคม 2565 จำแนกตามแนวปฏิบัติด้านต่างๆ 
ได้แก่ ด้านกฏหมาย การจัดการ สาธารณสุข การแพทย์ และสื่อสารสังคม ดังนี้
 
สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาต่อไปนี้ จนถึง ธันวาคม 2565
 
1. แนวทางในเดือนสิงหาคม 2565  ทั้งหมดจะยังคงเป็นไปตามแนวปฏิบัติดั้งเดิมที่เคยเป็นมาตั้งแต่ต้นปี ดังนี้
ด้านกฏหมาย :  ยังคงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้เช่นเดิม
กลไกการจัดการ : หน่วยงานที่ดูแล คือ ศบค.เช่นเดิม
ด้านการสาธารณสุข :  การรายงานสถานการณ์ ต้องรายงานรายวัน 
ด้านการแพทย์ : การแยกกักตัว กำหนด 10 วัน 
ด้านการสื่อสารต่อสังคม : เน้นหนักการฉีดวัคซีน ประโยชน์วัคซีน
 
 
2. เดือนกันยายน-ตุลาคม 2565   จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายหลัก รวมถึงเปลี่ยนกลไกการจัดการ  แม้จะคงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ แต่จะมีการประกาศลดระดับให้ "โควิดเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง" โดยกลไกการบริหาร จากเดิมภายใต้ ศบค.เพียงหน่วยเดียว จะมี "คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ" ทั้งระดับของกรุงเทพมหานครและระดับจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมการกำหนดแนวการจัดการ  
 
ด้านการสาธารณสุข :  การรายงานผู้ป่วย/ติดเชื้อ เปลี่ยนเป็นการรายงานรายสัปดาห์  จะทำการสอบสวนโรคเป็นไปตามเกณฑ์ หาพบมีผู้ติดเชื้อจำนวน 5 รายต่อสัปดาห์  จำนวนผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาล  จำนวนผู้เสียชีวิต  ใช้การเฝ้าระวังสายพันธุ์  การจัดหาและบริการวัคซีนเป็นไปตามกลไกปกติ 
 
การแยกกักตัว เป็นไปตามแนวทางที่กรมการแพทย์จะกำหนด ผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเข้ารับยาที่คลินิกเครือข่ายได้ หรือรับได้จากร้านยาชั้น 1 ที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยาเท่านั้น
 
ด้านการสื่อสารสังคม : เน้นหนักไปที่การจัดการเมื่อมีผู้ติดเชื้อในครอบครัวแทน เพื่อให้ครอบครัวดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
 
จุดสำคัญคือ การยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และ ศบค.จะสิ้นสุดสภาพ ณ สิ้นเดือนกันยายน จะมีหน่วยงาน EOC สาธารณสุขมาแทน และดูแลสถานการณ์ร่วมกับ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ของกทม.และระดับจังหวัด
 
3. เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2565  สองเดือนสุดท้ายของปี  การดูแลสถานการณ์เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการโรคติดต่อกทม.และระดับจังหวัด เท่านั้น  การเฝ้าระวังและบริการวัคซีนเป็นไปตามระบบปกติ 
 
 
 
เกณฑ์ระดับความรุนแรงการระบาดโควิด ระดับจังหวัด
พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่
1. จำนวนผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล เฉลี่ยต่อวัน ต่ำกว่า 5 รายต่อวันถือว่าปกติ มากกว่า 50 รายต่อวันถือว่าเป็นระดับรุนแรง
2. อัตราป่วย ตาย  ปกติจะอยู่ที่ร้อยละ 0.1-0.5  หากมากกว่า 1% ถือว่ารุนแรง
3. อัตราการครองเตียง ผู้ป่วยหนัก  ต่้ำกว่าร้อยละ 25 ถือว่าปกติ หากเกินร้อยละ 75 ถือว่ารุนแรง
4. การกระจายโรคตามนิยามทางระบาดวิทยา  หากพบการระบาดในวงจำกัด (Cluster ขนาดใหญ่) ถือว่ารุนแรงน้อย  หากเป็นระดับรุนแรงจะมีลักษณะระบาดกลุ่มก้อนขนาดใหญ่เป็นวงกว้าง ข้ามจังหวัด และจังหวัดควบคุมไม่ได้
 
ยุติบทบาท ศบค.และเลิกพรก.ฉุกเฉิน กันยายน 65 HealthServ
ยุติบทบาท ศบค.และเลิกพรก.ฉุกเฉิน กันยายน 65 HealthServ

1 ก.ย. ศบค. ผ่อนคลายการจัดซื้อ-จ่ายยารักษาโควิด

ดี-เดย์ 1 ก.ย. นี้  ศบค. ผ่อนคลายการจัดซื้อ-จ่ายยารักษาโควิด รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ Post-Pandemic
- หน่วยบริการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถจัดซื้อยาได้ 
- ร้านยาสามารถจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ได้
ทั้งนี้ให้ สธ. จัดซื้อยาให้พอเพียง เพื่อสนับสนุนยาหน่วยบริการ โดยในส่วนของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดซื้อยาได้ในวันที่ 1 ต.ค. 65 

ศบค.ขยายเวลาพำนักของชาวต่างชาติ เป็นไม่เกิน 45 วัน

ศบค. ขยายเวลาพำนักของชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย
1. ผู้ได้ยกเว้นการตรวจลงตราเข้าประเทศ จากไม่เกิน 30 วัน เป็นไม่เกิน 45 วัน 
2. ผู้ได้รับ Visa on Arrival จากไม่เกิน 15 วัน เป็นไม่เกิน 30 วัน
เริ่ม 1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66
ศบค.ขยายระยะเวลาการพำนักของผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร
เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ  เพิ่มรายได้ทางการท่องเที่ยว โดยกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง และเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ดังนี้
1. ขยายระยะเวลาพำนักสำหรับผู้ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราในการเข้าประเทศ (ผ.30)
ทั้งที่ไทยให้แต่ฝ่ายเดียว และที่มีความตกลงระหว่างกัน จากไม่เกิน 30 วัน เป็นไม่เกิน 45 วัน (ผ.45)
2. ขยายระยะเวลาพำนักสำหรับผู้ได้รับ Visa on Arrival จากไม่เกิน 15 วันเป็นไม่เกิน 30 วัน
การขยายระยะเวลาพำนักของผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรในข้อข้างต้นให้มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566 โดยมอบหมาย มท. กต. สตม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมติ ศบค. ต่อไป 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด