ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรมวิทย์ฯ ยืนยัน ยังไม่พบสายพันธุ์เดลตาพลัสชนิด AY.4.2 ในไทยขณะนี้

กรมวิทย์ฯ ยืนยัน ยังไม่พบสายพันธุ์เดลตาพลัสชนิด AY.4.2 ในไทยขณะนี้ HealthServ.net
กรมวิทย์ฯ ยืนยัน ยังไม่พบสายพันธุ์เดลตาพลัสชนิด AY.4.2 ในไทยขณะนี้ ThumbMobile HealthServ.net

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับเครือข่าย มีการตรวจพันธุกรรมทั้งตัว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 450 ตัวอย่าง เมื่อตรวจเสร็จเราได้ลงข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ในฐานข้อมูลสากล GISAD ขณะนี้ลงข้อมูลไปแล้วจำนวน 5,302 ตัวอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ทั่วโลกได้ใช้เป็นข้อมูลเฝ้าระวังต่อไป

กรมวิทย์ฯ ยืนยัน ยังไม่พบสายพันธุ์เดลตาพลัสชนิด AY.4.2 ในไทยขณะนี้ HealthServ
28 ตุลาคม 2564 นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ เครือข่ายห้องปฏิบัติการว่า ข้อมูลการเฝ้าระวังทั้งประเทศ ระหว่าง 16-22 ตุลาคม 2564 จากการสุ่มตรวจผู้ติดเชื้อทั้งหมด 1,085 ราย เป็นสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 1,069 ราย (98.6 %) สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 9 ราย (0.8 %) และสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) จำนวน 7 ราย (0.6 %)
 

โดยในพื้นที่กรุงเทพมหานครสุ่มตรวจจำนวน 16 ราย เป็นสายพันธุ์เดลตา จำนวน 15 ราย (93.8%) สายพันธุ์อัลฟา จำนวน 1 ราย (6.2%) ส่วนสายพันธุ์เบตา ไม่พบผู้ติดเชื้อ ส่วนภูมิภาคสุ่มตรวจจำนวน 1,069 ราย เป็นสายพันธุ์เดลตา 1,054 ราย (98.6%) สายพันธุ์เบตา 9 ราย (0.8%)  และสายพันธุ์อัลฟา 6 ราย (0.5%)  
 
 
สำหรับในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนใต้ที่มีการแพร่ระบาดค่อนข้างมากนั้น จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ จำนวน 389 ราย พบว่าส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลตา 377 ราย (96.9%) สายพันธุ์เบตา 9 ราย (2.3%) และสายพันธุ์อัลฟา 3 ราย (0.7%) เพราะฉะนั้นเป็นเครื่องยืนยันว่าการระบาดในทั่วทุกภูมิภาคประเทศไทยขณะนี้ส่วนใหญ่คือสายพันธุ์เดลตาเป็นหลัก ส่วนอัลฟาลดลงเรื่อยๆ
 
กรมวิทย์ฯ ยืนยัน ยังไม่พบสายพันธุ์เดลตาพลัสชนิด AY.4.2 ในไทยขณะนี้ HealthServ
 

สายพันธุ์อัลฟาพลัส กับเดลตาพลัส

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่ออีกว่า มีประเด็นที่พูดถึงสายพันธุ์อัลฟาพลัส กับเดลตาพลัส นั้น ขอให้ข้อมูลว่า 
คำว่า "พลัส" คือมีพันธุกรรมของสายพันธุ์เดิมแล้วมีการพิ่มการกลายพันธุ์บางจุดขึ้นมา จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ขณะนี้เราตรวจพบอัลฟาพลัส ชนิด E484K คือมีการกลายพันธุ์ตรงตำแหน่ง E484K ซึ่งเป็นตำแหน่งที่หลบภูมิได้ โดยพบผู้ติดเชื้อจำนวน 18 ราย ในแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา 12 ราย และคนไทย 4 ราย ที่ทำงานในล้งลำไยในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและตราด และพบในผู้ต้องขังจังหวัดเชียงใหม่ 2 ราย ขณะนี้มีการเฝ้าระวังในพื้นที่และตรวจติดตามเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งสายพันธุ์อัลฟาพลัสนี้ไม่ใช่เชื้อใหม่ พบในอังกฤษเป็นประเทศแรก ปัจจุบันพบมีการระบาดในกัมพูชา หากพบสายพันธุ์นี้มากในไทยก็อาจจะเป็นปัญหา แต่จากข้อมูลการระบาดในกัมพูชาพบว่าสายพันธุ์อัลฟาพลัส E484K มีจำนวนลดลงแล้ว แสดงให้เห็นถึงว่ามีอำนาจในการแพร่กระจายไม่สูง อย่างไรก็ตามเราจะดำเนินการตรวจเพิ่มเติมในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
 
 

การเฝ้าระวัง

ส่วนการเฝ้าระวังสายพันธุ์ย่อยเดลตา หรือเดลตาพลัส ขณะนี้ในประเทศไทยตรวจพบสายพันธุ์ย่อย อยู่ 18 ชนิด และชนิดที่พบมากที่สุดคือ ชนิด AY.30 จำนวน 1,341 ราย จากจำนวนตรวจทั้งหมด 1,478 ตัวอย่าง
สำหรับเดลตาพลัส ชนิด AY.4.2 ที่กำลังระบาดในยุโรปและหลายประเทศ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีข้อมูลว่ามีอำนาจในการแพร่กระจายเพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้า 10-15% นั้น ณ วันนี้ยังไม่พบสายพันธุ์นี้ในประเทศไทย แต่ที่มีข้อมูลคือพบ สายพันธุ์เดลตาพลัส ชนิด AY.1 จำนวน 1 ราย จากจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตรวจพบโดยสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร และได้ประสานแจ้งมาที่กระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังตรวจเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ส่วนความกังวลว่าสายพันธุ์นี้จะรุนแรงหรือไม่ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่ามีฤทธิ์รุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลตาปกติแต่อย่างใด 
 
 
 
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับเครือข่าย มีการตรวจพันธุกรรมทั้งตัว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 450 ตัวอย่าง เมื่อตรวจเสร็จเราได้ลงข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ในฐานข้อมูลสากล GISAD ขณะนี้ลงข้อมูลไปแล้วจำนวน 5,302 ตัวอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ทั่วโลกได้ใช้เป็นข้อมูลเฝ้าระวังต่อไป 
กรมวิทย์ฯ ยืนยัน ยังไม่พบสายพันธุ์เดลตาพลัสชนิด AY.4.2 ในไทยขณะนี้ HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด