ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยา Evusheld ของแอสตร้าเซนเนก้า ลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์โอมิครอนได้

ยา Evusheld ของแอสตร้าเซนเนก้า ลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์โอมิครอนได้ HealthServ.net

22 มีนาคม 2022 แอสตร้าเซเนก้า ประเทศไทย เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดจากหน่วยงานอิสระบ่งชี้ว่า Evusheld ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibody - LAAB) แบบผสม ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์โอมิครอนได้ รวมถึงสายพันธุ์ BA.2

ยา Evusheld ของแอสตร้าเซนเนก้า ลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์โอมิครอนได้ ThumbMobile HealthServ.net
ยา Evusheld ของแอสตร้าเซนเนก้า ลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์โอมิครอนได้ HealthServ

 ข้อมูลแรกจากการค้นคว้าในสิ่งมีชีวิตโดยมหาวิทยาลัยวอชิงตันแสดงให้เห็นว่า Evusheld ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถลดปริมาณไวรัสของสายพันธุ์ย่อยของไวรัสโคโรนา สายพันธุ์โอมิครอนทั้งหมดในปอดได้

 
ข้อมูลล่าสุดจากการทดสอบการลบล้างฤทธิ์ไวรัสโดยใช้ไวรัสที่มีชีวิต จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน แสดงให้เห็นว่า Evusheld (ส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีสองชนิด ได้แก่ tixagevimab และ cilgavimab) สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สามารถลบล้างเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอนที่เกิดขึ้นใหม่และระบาดอย่างรวดเร็วอย่างเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อย SARS-CoV-2 BA.21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อมูลยังบ่งชี้อีกว่า Evusheld ยังสามารถลบล้างเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน BA.1 และ BA.1.1 ได้1
 
นอกจากนี้ ข้อมูลจากการค้นคว้าในสิ่งมีชีวิต ซึ่งใช้หนูที่ติดเชื้อจากสายพันธุ์โอมิครอน BA.1, BA.1.1 และ BA.2 แสดงให้เห็นว่าการใช้ Evusheld สามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสลงได้เป็นอย่างมาก และจำกัดการอักเสบในปอดที่ติดเชื้อมาจากสายพันธุ์ย่อยทั้งสามสายพันธุ์1 ซึ่งปริมาณเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีความเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรคและอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นรวมถึงสภาวะหลังโควิด (Long COVID)2,3
 
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้หนูที่ดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อประเมิน Evusheld สำหรับใช้ในการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 เช่นเดียวกันกับการใช้ Evusheld ในคลินิก ข้อมูลนี้คือข้อมูลชุดแรกจากการค้นคว้าในสิ่งมีชีวิตเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ Evusheld ต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน โดยเปรียบเทียบกับการศึกษาการลบล้างไวรัสในเซลล์ที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองก่อนหน้านี้
 
 

ข้อมูลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันได้รับการเผยแพร่บนเวบไซต์ bioRxiv, คลังเก็บเอกสารวิชาการก่อนการตีพิมพ์
 
นายแพทย์ไมเคิล เอส. ไดมอนด์ ศาสตราจารย์ The Herbert S. Gasser คณะแพทยศาสตร์ สาขาอณูชีววิทยาระดับโมเลกุล พยาธิวิทยา และภูมิคุ้มกันวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “ข้อมูลใหม่ที่มาจากการค้นคว้าในหนูทดลองนั้น ยืนยันถึงประสิทธิภาพของ Evusheld ในการลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน ดังที่แสดงจากผลการศึกษาในห้องทดลองก่อนหน้า ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า Evusheld มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในปอด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญสำหรับโรคโควิด -19 ที่มีอาการรุนแรง ต่อทุกสายพันธุ์ย่อยของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอนได้”
 
จอห์น เปเรซ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าแผนกการพัฒนาขั้นสุดท้าย ฝ่ายวัคซีนและภูมิคุ้มกันบำบัด
 
แอสตร้าเซนเนก้า กล่าวว่า “ข้อมูลสำคัญเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า Evusheld สามารถลดปริมาณไวรัส และจำกัดการอักเสบที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน ข้อมูลนี้ช่วยสนับสนุนให้ Evusheld เป็นตัวเลือกสำคัญที่มีศักยภาพในการช่วยปกป้องผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งหากติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 อาจทำให้เกิดโรครุนแรงได้”
 
ข้อมูลเพิ่มเติมของการใช้ไวรัสที่มีชีวิตจาก มหาวิทยาลัยเอ็กซ์-มาร์แซย์ และการทดสอบไวรัสเทียมจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่า Evusheld สามารถลบล้างฤทธิ์สายพันธุ์ BA.24,5 องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า ปัจจุบันพบผู้ป่วยจากสายพันธุ์ BA.2 ใน 85 ประเทศซึ่งคาดว่าจะมีการระบาดมากขึ้นในหลายๆ ส่วนทั่วโลก6
 
Evusheld ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกา และอีกหลายๆ ประเทศ Evusheld สามารถใช้ได้กับกลุ่มประชากรที่เปราะบาง เนื่องมาจากการรักษาทางการแพทย์ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน และผู้ที่อาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ไม่เพียงพอ รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้
 

Notes

 
Evusheld
Evusheld เดิมชื่อ AZD7442 คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibody - LAAB) ที่ผสมยา LAAB สองชนิด ได้แก่ tixagevimab (AZD8895) และ cilgavimab (AZD1061) ซึ่งมาจากบีเซลล์ที่ได้รับการบริจาคจากผู้ที่เคยป่วยจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งถูกค้นพบโดยศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์ และได้อนุญาตให้แอสตร้าเซนเนก้านำมาพัฒนาต่อเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2563 โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ 2 ตัวนี้จะมีความจำเพาะที่ต่างกัน เพื่อจับกับโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-27 ในคนละจุด และถูกพัฒนาต่อโดยแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิต(half-life) เพื่อเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ และปรับให้มีการจับกันของ Fc Receptor ที่ลดลง โดยการขยาย half-life นั้น สามารถเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ได้มากกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับแอนติบอดี้ทั่วไป8-10   จากข้อมูลของการทดลองในระยะที่ 3 แสดงให้เห็นว่าระดับของแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจํานวนของไวรัส (neutralizing antibody) คงอยู่ได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน11 และการปรับให้มีการจับของ Fc Receptor ที่ลดลงนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะ antibody-dependent enhancement (ADE) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แอนติบอดี้ของเชื้อไวรัสเข้าไปกระตุ้นแทนที่จะยับยั้งการติดเชื้อ12
 
Evusheld ได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม 2564  สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในผู้ที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันบกพร่องปานกลางถึงรุนแรง เนื่องมาจากการรักษาทางการแพทย์ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน และผู้ที่อาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ไม่เพียงพอ รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ประชากรทั่วโลกประมาณ 2% มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่เพียงพอ13.14
 
Evusheld ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ และจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก
 
จากการศึกษา พรูฟเวนท์ (PROVENT) ระยะที่ 3 ในการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ มีข้อมูลเบื้องต้น สนับสนุนว่า Evusheld ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกา แสดงถึงการลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคโควิด-19 แบบมีอาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (77% ของการวิเคราะห์เบื้องต้น 83% การวิเคราะห์มัธยฐานที่งระยะเวลา 6 เดือน) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo)  การทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงการป้องกันไวรัสที่ยาวนานอย่างน้อย 6 เดือน4 ยังคงจำเป็นต้องมีการศึกษาติดตามเพิ่มเติมเพื่อกำหนดระยะเวลาที่ Evusheld สามารถป้องกันได้ต่อไป
 
เดือนตุลาคม 2564 แอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลลัพธ์ที่ดีจากการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 สำหรับการรักษาผู้ป่วยนอก ในการใช้ Evusheld ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหนึ่งโดสที่ 600 มิลลิกรัม โดยมีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ดี4 แอสตร้าเซนเนก้ากำลังหารือเกี่ยวกับข้อมูลการรักษา COVID-19 ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางจากการศึกษาแท็คเคิล (TACKLE) นี้กับหน่วยงานสาธารณสุข
 

Evusheld มีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ดี

 
Evusheld ที่กำลังพัฒนาอยู่นี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ รวมไปถึงเงินทุนจากหน่วยงานด้านสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐฯ ภายใต้การกำกับดูแลของ Office of the Assistant Secretary for Preparedness and Response และ Biomedical Advanced Research and Development Authority ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหม และ Joint Program Executive Office for Chemical, Biological, Radiological and Nuclear Defense ภายใต้สัญญาหมายเลข W911QY-21-9-0001
 
ภายใต้ข้อตกลงกับแวนเดอร์บิวท์ แอสตร้าเซนเนก้าจะจ่ายส่วนแบ่งค่าสิทธิจากยอดขายในอนาคต
 
 

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า
แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.com และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca


เอกสารอ้างอิง
1. Case, J et al. Resilience of S309 and AZD7442 monoclonal antibody treatments against infection by SARS-CoV-2 Omicron lineage strains. Available at  https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.03.17.484787v1 [Last accessed March 2022]
 
2. Fajnzylber, J et al.  SARS-CoV-2 viral load is associated with increased disease severity and mortality. Available at https://www.nature.com/articles/s41467-020-19057-5/ [Last accessed March 2022}
 
3. Su Y, et al. Multiple early factors anticipate post-acute COVID-19 sequelae. Cell. 2022;185(5):881-895.e20.
 
4. FACT SHEET FOR HEALTHCARE PROVIDERS: EMERGENCY USE AUTHORIZATION FOR EVUSHELD™ (tixagevimab co-packaged with cilgavimab). Available at: https://www.fda.gov/media/154701/download [Last accessed: March 2022].
 
5. Zhou H, et al. Neutralization of SARS-CoV-2 Omicron BA.2 by Therapeutic Monoclonal Antibodies. Available at: https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.02.15.480166v2.full.pdf [Last accessed March 2022].
 
6. World Health Organization. Weekly epidemiological update on COVID-19 - 22 February 2022. Available from:  https://www.who.int/publications/m/item/weekly-epidemiological-update-on-covid-19---22-february-2022 [Last accessed: March 2022].
 
7. Dong J, et al. Genetic and structural basis for recognition of SARS-CoV-2 spike protein by a two-antibody cocktail. bioRxiv. 2021; doi: 10.1101/2021.01.27.428529.
 
8. Robbie GJ, et al. A novel investigational Fc-modified humanized monoclonal antibody, motavizumab-YTE, has an extended half-life in healthy adults. Antimicrob Agents Chemother. 2013; 57 (12): 6147-53.
 
9. Griffin MP, et al. Safety, tolerability, and pharmacokinetics of MEDI8897, the respiratory syncytial virus prefusion F-targeting monoclonal antibody with an extended half-life, in healthy adults. Antimicrob Agents Chemother. 2017; 61(3): e01714-16.
 
10. Domachowske JB, et al. Safety, tolerability and pharmacokinetics of MEDI8897, an extended half-life single-dose respiratory syncytial virus prefusion F-targeting monoclonal antibody administered as a single dose to healthy preterm infants. Pediatr Infect Dis J. 2018; 37(9): 886-892.
 
11. AstraZeneca news release. New analyses of two AZD7442 COVID-19 trials in high-risk populations confirm robust efficacy and long-term prevention.  Available at: https://www.astrazeneca.com/media-centre/press-releases/2021/new-analyses-of-two-azd7442-covid-19-phase-iii-trials-in-high-risk-populations-confirm-robust-efficacy-and-long-term-prevention.html. [Last accessed: March 2022].
 
12. van Erp EA, et al. Fc-mediated antibody effector functions during respiratory syncytial virus infection and disease. Front Immunol. 2019; 10: 548.
 
13. Harpaz et al. Prevalence of immunosuppression among US adults, 2013. JAMA. 2016 Dec 20;316(23):2547-2548. Available at: https://doi.org/10.1001/jama.2016.16477.
 
14. AstraZeneca data on file.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด