ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ยาหมดอายุ ยาเก่า ยาเสื่อมคุณภาพ ดูอย่างไร

ยาหมดอายุ ยาเก่า ยาเสื่อมคุณภาพ ดูอย่างไร HealthServ.net

อย.ระบุว่า การนำยาหมดอายุ ยาเก่า ยาเสื่อมสภาพ ยาที่ไม่ได้มาตรฐาน มาจำหน่าย เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556

ยาหมดอายุ ยาเก่า ยาเสื่อมคุณภาพ ดูอย่างไร ThumbMobile HealthServ.net
ยาหมดอายุ ยาเก่า ยาเสื่อมคุณภาพ ดูอย่างไร HealthServ
ยาเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อเจ็บป่วยก็ต้องใช้ยาเพื่อรักษาบรรเทา แต่ก่อนจะกินยา สิ่งสำคัญที่ต้องทำก่อนคือดูว่า ยาหมดอายุหรือไม่ ยานั้นเสื่อมคุณภาพหรือไม่ เพราะหากพลาดเผลอกินยาที่หมดอายุ หรือเสื่อมคุณภาพไปแล้ว นอกจากจะไม่ช่วยรักษาโรค กลับจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 
 
 อย.ระบุว่า การนำยาหมดอายุ ยาเก่า ยาเสื่อมสภาพ ยาที่ไม่ได้มาตรฐาน มาจำหน่าย เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย  เนื่องจากปัจจุบันมีร้านยาบางร้านแอบลักลอบทำ  หากประชาชนพบร้านยาใดนำยาหมดอายุ หรือไม่ได้มาตรฐานมาขาย สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 ในวันและเวลาราชการ
 
 

วิธีดูสภาพยา


วิธีการดูว่ายามีความผิดปกติหรือไม่ อย. ได้ออกคำแนะนำ เรื่องวิธีการในการสังเกตยา ว่าจะดูอย่างไร โดยดูจากฉลากยาและลักษณะของยา 3 รูปแบบ ได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ และยาแบบอื่นๆ มีรายละเอียดดังนี้
 
ก.วิธีดูจาก "ฉลากยา"

ดูจากวันหมดอายุที่ระบุบนฉลากยาหรือบรรจุภัณฑ์ 

*ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดที่จำหน่ายโดยถูกต้องตามกฏหมายต้องระบุวันหมดอายุไว้ทั้งสิ้น รวมทั้งระบุเลขที่ใบอนุญาตของอย. ด้วย

ภญ.ณัฐกร จริยภมรกุล เภสัชกรประจำ รพ.วิภาวดี ได้ให้ข้อมูลว่า การเสื่อมสภาพของยาอาจสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในตัวยา ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า วิธีที่จะช่วยตรวจสอบวิธีหนึ่ง คือ การสังเกตข้อมูลวันผลิตและวันหมดอายุบนฉลากยา ดังนี้
 
1.ข้อมูลวันผลิต จะดูที่คำว่า “Manu. Date” หรือ “Mfg. Date” ซึ่งจะตามด้วยเลขวัน-เดือน-ปี ของวันผลิต
 
2.ข้อมูลวันหมดอายุ จะดูที่คำว่า “Expiry Date” หรือ “Exp. Date” หรือ “Exp.” หรือ “Used before” หรือ “Expiring” หรือ “Used by” ซึ่งจะตามด้วยเลขวัน-เดือน-ปี ของวันหมดอายุ และในกรณีที่ระบุวันหมดอายุไว้เพียงเลขเดือน-ปี จะให้นับวันที่สุดท้ายของเดือนนั้นๆ เป็นวันหมดอายุ ตัวอย่างเช่นExp. 08/60 หมายความว่า ยาจะหมดอายุในวันที่ 31 เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2560
 
ในกรณีที่พบยาบางชนิดระบุไว้เพียงวันผลิต แต่ไม่ได้ระบุวันหมดอายุ หลักเกณฑ์ทั่วไปจะกำหนดให้
  • ยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้สามารถเก็บไว้ได้ 3 ปี นับจากวันผลิต
  • แต่ หากยาน้ำถูกเปิดใช้แล้วและมีการเก็บรักษาที่ดีจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 เดือน
  • ส่วนยาเม็ดสามารถเก็บไว้ได้ 5 ปี นับจากวันผลิต
  • แต่หากยาเม็ดมีการแบ่งบรรจุใส่ในถุงซิป วันหมดอายุของยาจะนับจากวันแบ่งบรรจุออกไป 1 ปี โดยไม่เกินวันหมดอายุจริงที่ระบุบนฉลากยา

 
 
ข.วิธีดูจาก "ลักษณะของยา"

ก็โดยการดูจากลักษณะกายภาพภายนอก ของเม็ดยา สี กลิ่น รส  ตามลักษณะชนิดยาที่แตกต่างกันไปดังนี้ 

1. ยาเม็ดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ 
สังเกตได้จากวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลาก หรือบรรจุภัณฑ์ แต่หากยาเม็ดไม่ได้บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์สามารถสังเกตได้จาก
 
1.1 ยาเม็ด
ลักษณะของยาเม็ดที่ไม่ได้คุณภาพ:  เม็ดยาเยิ้ม เม็ดแตก กร่อน ชื้น บิ่น นิ่ม เปลี่ยนสี
หากเป็น ยาเม็ดที่เป็นแบบเคลือบน้ำตาล ซึ่งมีลักษณะมันเงา (เช่น วิตามินรวม) เม็ดยามักดูเยิ้มเหนียวมีกลิ่นหืน หรือบูด
 
1.2 ยาแคปซูล
ลักษณะของยาเม็ดที่ไม่ได้คุณภาพ: 
- เปลือกแคปซูลมักบวมโป่ง
- มีจุดเชื้อราขึ้นที่เปลือกแคปซูล
- ภายในแคปซูลผงยาอาจเปลี่ยนสี
 
1.3 ยาผงแห้ง
ลักษณะของยาเม็ดที่ไม่ได้คุณภาพ: 
- ผงยาจะจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง ไม่สามารถละลายได้
- ภาชนะบรรจุมีไอน้ำ หรือหยดน้ำเกาะ
 
 
2. ยาน้ำรูปแบบต่างๆ 
นอกจากจะสามารถสังเกตดูวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากแล้ว ยังสามารถสังเกต สี กลิ่น และรสที่เปลี่ยนไป  และสามารถสังเกตได้จาก
 
2.1 ยาน้ำใส
ลักษณะของยาน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน: มีตะกอนเกิดขึ้น หรือขุ่น
 
2.2 ยาน้ำแขวนตะกอน
ลักษณะของยาน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน: เมื่อเขย่าขวดแรง ๆ ยาจะไม่กลับมาเป็นเนื้อเดียวกันหรือตะกอนยังเกาะติดแน่นกัน
 
          
 
3. ยารูปแบบอื่น ๆ 
สามารถสังเกตได้จาก
 
3.1 ยาขี้ผึ้ง
ลักษณะของยาที่ไม่ได้มาตรฐาน: แยกชั้น สี เนื้อสัมผัส ความหนืด เปลี่ยนไป ของเหลวออกมาเยิ้มที่ผิวหน้าของยา มีกลิ่นเหม็นหืน
 
3.2 ยาครีม
ลักษณะของยาที่ไม่ได้มาตรฐาน: แยกชั้น สี เนื้อสัมผัส ความหนืด เปลี่ยนไป มีกลิ่นเหม็นหืน
 
3.3 ยาเจล
ลักษณะของยาที่ไม่ได้มาตรฐาน: เนื้อเจลขุ่น ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
 
 
ยาหมดอายุ ยาเก่า ยาเสื่อมคุณภาพ ดูอย่างไร HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด