ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

24 กันยายน วันมหิดล พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย

24 กันยายน วันมหิดล พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย HealthServ.net
24 กันยายน วันมหิดล พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย ThumbMobile HealthServ.net

ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง โภคทรัพย์และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์

24 กันยายน วันมหิดล พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย HealthServ
24 กันยายน วันมหิดล 
วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย"

"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง โภคทรัพย์และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง  ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์ "

 
24 กันยายน วันมหิดล พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย HealthServ
          สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2435 ณ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ยุโรป พร้อมด้วย สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย และนักเรียนทุนหลวงอีกหลายคน โดยพระองค์เข้าศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ (Harrow) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จนถึงปี พ.ศ. 2450 ได้ย้ายไปศึกษาต่อในวิชาทหารบกที่โรงเรียนนายร้อยชั้นต้น เมืองพอทสดัม ประเทศเยอรมนี และโรงเรียนนายร้อยชั้นสูงทหารบกที่โกรสลิชเตอร์เฟลเด้ (Gross Lichterfelde) เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
 
          ในระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศเยอรมัน นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระองค์จึงเสด็จกลับประเทศสยาม เพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระองค์ได้เสด็จกลับไปประเทศเยอรมนีเพื่อศึกษาต่อ พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารบกและสอบได้เป็นแฟนริคช์ (Fähnrich) คือ นักเรียนทำคะแนนได้ดีมาก โดยพระองค์เขียนและแต่งเรียงความได้อย่างดีไม่ต้องสอบปากเปล่า การสอบในครั้งนั้นมีนักเรียนเข้าสอบประมาณ 400 คน โดยมีคนที่ทำคะแนนได้เท่าพระองค์เพียงคนเดียว ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นคนไทยคนแรกที่สอบไล่ได้คะแนนสูงสุดเช่นนี้
 
          หลังจากนั้น พระองค์ได้เปลี่ยนไปศึกษาวิชาทหารเรือ แทนวิชาทหารบกที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้ เนื่องจากกองทัพสยามในสมัยนั้นยังขาดแคลนนายทหารเรือที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก พระองค์เข้าศึกษาวิชาทหารเรือ ณ โรงเรียนนายเรือเฟลนส์บูร์ก มุรวิก (Marineschule Flensburg Mürwik) โดยเป็นนักเรียนนายเรือเยอรมันรุ่น 2455 (CREW 1912) และสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรด้วยผลการศึกษาขั้นดีเยี่ยมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และทรงเข้ารับราชการในกองทัพเยอรมัน ซึ่งก่อนหน้านี้พระองค์ได้รับพระราชทานยศนายเรือตรีแห่งราชนาวีสยามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและยศนายเรือตรีแห่งจักรวรรดินาวีเยอรมันจากสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี
 
          ในปี พ.ศ. 2457 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์ต้องออกจากกองทัพเรือเยอรมัน และเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย พระองค์เข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ ในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือ โดยได้รับพระราชทานยศเป็น "นายเรือโท" ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2458 และย้ายไปรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกแต่งตำรา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2458 จนกราบถวายบังคมลาออกจากราชการทหารเรือ เมื่อ 20 มกราคม พ.ศ.2459 รวมเวลารับราชการในกระทรวงทหารเรือ 9 เดือน 18 วัน ภายหลังได้เสด็จไปศึกษาต่อทางด้านวิชาการสาธารณสุขและวิชาการแพทย์ 
 
          ในช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับราชการในกองทัพเรือ ได้ทรงจัดทำโครงการเกี่ยวกับเรือดำน้ำ ถึงแม้จะไม่ได้ดังพระประสงค์ในช่วงเวลานั้น แต่อีก 20 ปีต่อมา กองทัพเรือก็ได้สั่งต่อเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ คือ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล จากประเทศญี่ปุ่น นอกจากเรื่องเรือดำน้ำ พระองค์ยังได้ทรงร่างโครงการสร้างกำลังทางเรือทั้งกองทัพไว้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือได้จัด ตั้งฐานทัพเรือ และสถานีทหารเรือ พร้อมกับจัดส่งกำลังทางเรือ ไปประจำตามฐานทัพเรือและสถานีเรือ สอดคล้องกับแนวพระราชดำริโครงการสร้างกองเรือรบ 
 
          พระราชนิพนธ์ “เจ้าฟ้าทหารเรือ” ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงกล่าวถึง พระประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก ว่า "ทรงสำเร็จวิชาการทหารเรือจากประเทศเยอรมันนี เสด็จกลับมารับราชการในกระทรวงทหารเรือรับพระราชทานยศ นายเรือโท กรมเสนาธิการทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2458 ภายหลังทรงย้ายไปรับราชการ ตำแหน่งกองอาจารย์นายเรือ แผนกตำรา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ แม้ทรงรับราชการทหารเรือในช่วงเวลาไม่นาน แต่ทรงฝากผลงานวิชาการที่ทันสมัย เช่น บันทึกรายงานเรื่องเรือ ส. ซึ่งหมายถึงเรือดำน้ำต่อเสนาธิการทหารเรือ ความเห็นเรื่องเรือ ส. นี้อีก 20 ปีต่อมาในปี 2479 กองทัพเรือจึงสั่งต่อเรือดำน้ำสี่ลำจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งปลดระหว่างประจำการแล้ว"
 
          จากการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อกองทัพเรือจนเป็นที่ประจักษ์จึงทรงได้รับการยกย่องเป็น "เจ้าฟ้าทหารเรือ"

กองทัพเรือ Royal Thai Navy
24 กันยายน วันมหิดล พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด