ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วิงเวียน บ้านหมุน (Vertigo) องค์ความรู้ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

วิงเวียน บ้านหมุน (Vertigo) องค์ความรู้ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน HealthServ.net
วิงเวียน บ้านหมุน (Vertigo) องค์ความรู้ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ThumbMobile HealthServ.net

องค์ความรู้ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน กับอาการวิงเวีย (Vertigo) รศ. นพ.จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วิงเวียน บ้านหมุน (Vertigo) องค์ความรู้ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน HealthServ

 

อาการวิงเวียน บ้านหมุน
 
วิงเวียน (บ้านหมุน) มีอาการตาลาย หน้ามืด เวียนศีรษะ รู้สึกว่าตนเองหรือสิ่งรอบๆ ตัวหมุน ในรายที่อาการไม่หนักให้หลับตาอาการก็หายไปได้ ในรายที่หนักจะรู้สึกโคลงเคลง บ้านหมุน ยืนไม่ติด และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีเหงื่อออก กระทั่งล้มลงหมดสติได้ อาการวิงเวียนที่เป็นอาการตามของโรคแผนปัจจุบัน เช่น ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ หลอดเลือดสมองแข็ง เส้นเลือด vertebrobasilar ขาดเลือด โรค Ménière โลหิตจาง neurasthenia สามารถจัดอยู่ในขอบข่ายการวินิจฉัยและการรักษาตามหัวข้อนี้
 
 
สาเหตุและกลไกของโรค

สาเหตุที่สําคัญได้แก่ อารมณ์ อาหาร ความอ่อนแอของร่างกาย สูงอายุอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเกิดจากเสลดคั่งค้างจนเกิดเป็นความร้อนขึ้นไปรบกวนศีรษะ เกิดจากลมภายในจากตับขึ้นไปรบกวนศีรษะและตา ไขสมองพร่องไม่สามารถหล่อเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ
 
การกําเริบมักมีความเกี่ยวข้องกับความเครียด อารมณ์ไม่ผ่อนคลาย โมโหรุนแรง อาหารที่มีรสชาติเข้มข้น การทํางานหนัก
 
กลไกของโรค อารมณ์ไม่เบิกบานทําให้ชี่ติดขัดเกิดความร้อนขึ้นในร่างกาย หรือเกิดลมและหยางรบกวนขึ้นข้างบน อารมณ์ร้อนโมโหง่ายทําให้หยางของตับกําเริบขึ้นรบกวนสมองให้ขุ่นมัว การทานอาหารหวานจัดหรือรสชาติเข้มข้นทําให้ม้ามทํางานไม่ดี เกิดความชื้นและเสมหะอุดกั้นที่ท้อง ทําให้สารอาหารที่เป็นหยางที่ใสติดขัดไม่สามารถเคลื่อนขึ้นได้ตามปกติ ส่วนบนของร่างกายจึงถูกครอบคลุมด้วยยินที่ขุ่น ร่างกายอ่อนแอซึ่งอาจมาจากพื้นฐานร่างกายแต่เดิมหรืออ่อนแอหลังจากการเจ็บป่วย จะทําให้ร่างกายขาดชี่และเลือด สมองขาดชี่และเลือดมาหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ การทํางานหนักจะพร่องสารจิง ไขสมองจึงขาดการบํารุง ปัจจัยข้างต้นล้วนทําให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้ทั้งสิ้น 
 
กล่าวโดยสรุป การเกิดอาการวิงเวียนมีสาเหตุสามประการได้แก่ สมอง (ปกติเป็นข่องที่ใส) ถูกรบกวน สมองถูกปิดล้อม หรือ สมองขาดการหล่อเลี้ยง
 
 

การวินิจฉัยจําแนกกลุ่มอาการ

1. หลักสําคัญในการวินิจฉัย

ที่สําคัญคือการวินิจฉัยอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องกับภาวะพร่องหรือแกร่งเกิน อาการวิงเวียนแม้ตําแหน่งเกิดโรคจะอยู่ที่ช่องที่ใสหรือสมอง แต่มีความเกี่ยวข้องกับการทํางานของตับ ม้ามและไตที่ผิดปกติไปเป็นอย่างมาก ในทางคลินิกมักพบเป็นภาวะพร่อง หรือเป็นภาวะพร่องแต่แสดงออกเป็นแกร่งเกิน โดยมียินของตับหรือไตพร่อง ชี่และเลือดพร่องเป็นเหตุพื้นฐาน และแสดงออกเป็นภาวะเกี่ยวกับลม ความร้อน เสมหะหรือเลือดคั่ง
 
2. อาการสําคัญและอาการแสดงออก

เวียนศีรษะ ตาลาย อยากอาเจียน กระทั่งวิงเวียนจะล้มลง
 
 
3. อาการตามและการจําแนกกลุ่มอาการ

1) กลุ่มอาการแกร่งเกิน
หยางจากตับกําเริบขึ้น มีอาการตามได้แก่ เป็นคนที่หงุดหงิดโมโหง่าย ปากขม มีเสียงในหู ลิ้นมีสีแดง ฝ้ามีสีเหลือง ชีพจรตึง เสมหะชื้นอุดกั้นส่วนท้อง มีอาการตามได้แก่ หนักศีรษะแบบถูกบีบ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ ซึมเซาอ่อนล้า ลิ้นอวบ ฝ้าลิ้นมีสีขาวเหนียว ชีพจรนิ่มและลื่น
 
2) กลุ่มอาการพร่อง
สารจิงพร่อง มีอาการตามได้แก่ มีเสียงในหู ปวดเมื่อยเอวเข่าอ่อน น้ําอุสจิเคลื่อนออกเอง ลิ้นมีสีซีด ชีพจรจมและเล็ก ชี่และเลือดขาดแคลน มีอาการจิตใจอ่อนล้าอ่อนเพลีย หน้าซีดขาว ลิ้นซีด ชีพจรเล็ก
 
 
 



การรักษา

1. การรักษาโดยวิธีพื้นฐาน

 
1) กลุ่มอาการแกร่งเกิน

หลักการรักษา ทําให้ตับสงบ สลายเสมหะ ทําให้อาการวิงเวียนสงบ จุดฝังเข็มที่ใช้ ไป่ฮุ่ย เฟิงฉือ ไท่ชง เน่ยกวาน
 
เหตุผลในการเลือกใช้จุด ลมจากตับจะอาศัยเส้นลมปราณตับในการเคลื่อนไหว เส้นตับเป็นเส้นคู่เปี่ยวหลี่กับเส้นถุงน้ําดี ดังนั้นจึงเลือกใช้จุดเฟิงฉือในเส้นถุงน้ําดีและจุดไท่ชงในเส้นตับ เพื่อฟอกเส้นตับและถุงน้ําดีให้ใส ระงับหยางจากตับที่กําเริบขึ้นข้างบน จุดเน่ยกวานช่วยผายอกทําให้ชี่ไหลเวียนคล่อง ทําให้ท้องสงบ สลายเสมหะ ระงับอาเจียน จุดไป่ฮุ่ยใช้วิธีกระตุ้นแบบขับระบายทําให้การไหลเวียนในสมองคล่อง รักษาอาการวิงเวียนการเพิ่มและลดจุดตามกลุ่มอาการ
 
หยางของตับกําเริบขึ้น เพิ่มจุดไท่ซี ไท่ชง จุดไท่ชงมีสรรพคุณบํารุงน้ําให้ธาตุไม้ ทําให้ตับสงบ เก็บหยาง จุดไท่ซีใช้วิธีฝังเข็มแบบบํารุง ส่วนจุดอื่นๆ ใช้วิธีบํารุงและขับระบายเสมอกันเสลดอุดกั้นส่วนท้อง เพิ่มจุดจงหวาน เน่ยกวาน จู๋ซันหลี่ เฟิงหลง เพื่อช่วยบํารุงม้ามและทําให้ท้องสงบ ขจัดความชื้นสลายเสมหะ วิธีฝังเข็มทุกขุดใช้การบํารุงและขับระบายเสมอกัน
 

2) กลุ่มอาการพร่อง

หลักการรักษา บํารุงชี่บํารุงเลือด ทําให้อาการวิงเวียนสงบ

จุดที่ใช้ เฟิงฉือ ไป่ฮุ่ย กานซู เซิ่นซู จู๋ซันหลี่ 

เหตุผลในการเลือกใช้จุด จุดกานซูและเซิ่นซูบํารุงตับและไต บํารุงเลือดและสารจิง มีสรรพคุณในการบํารุงพื้นฐานร่างกายให้แข็งแรง เป็นการรักษาที่รากฐานของโรค จุดจู๋ซันหลี่มีสรรพคุณบํารุงชี่และเลือด จุดเฟิงฉือใช้วิธีการแทงเข็มแบบบํารุงและขับระบายเสมอกันเพื่อทําให้ชี่และเลือดที่บริเวณศีรษะไหลเวียนได้คล่อง จุดไป่ฮุ่ยใช้วิธีแทงแบบบํารุงเพื่อดึงชี่และเลือดขึ้น การใช้จุดเฟิงฉือและไป่ฮุ่ยร่วมกันมีบทบาทในการบํารุงไขสมองและเพื่อรักษาอาการ
ที่แสดงออก
 
การเพิ่มและลดจุดตามกลุ่มอาการ
 
ชี่และเลือดพร่อง เพิ่มจุดผีซู เว่ยซู ชี่ไห่ เซว่ไห่ จู๋ซันหลี่ เพื่อบํารุงม้ามและกระเพาะอาหาร บํารุงชี่และเลือด วิธีการแทงเข็มทุกจุดใช้วิธีบํารุงหรือใช้การรมโกฐร่วมด้วย
 
สารจิงที่ไตพร่อง เพิ่มจุดเซิ่นซู ไท่ซี เพื่อเพิ่มเติมสารจิงและบํารุงไต มีบทบาทเสริมพื้นฐานของร่างกายให้แข็งแรง การแทงเข็มที่จุดเหล่านี้ใช้วิธีบํารุงหรือใช้ 
 
การรมด้วยโกฐจุฬาลําภาร่วมด้วย ส่วนจุดอื่นๆ ใช้วิธีแทงเข็มแบบกระตุ้นและบํารุงเสมอกัน
 

2. การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ


2.1 การฝังเข็มศีรษะ เลือกแนวเส้นกลางกระหม่อม ทําการแทงไปใต้หนังศีรษะหมุนเข็มอย่างรวดเร็ว รักษาวันละ 1 ครั้ง แต่ละครั้งคาเข็มไว้ 30 นาที 
 
2.2 การฝังเข็มหู เลือกใช้จุดเซิ่นซ่างเสี้ยน ผีจื้อเซี่ย หน้าผาก ในกรณีที่มีภาวะหยางตับกําเริบขึ้น เพิ่มจุดตับ ถุงน้ําดี ภาวะเสมหะชื้นเพิ่มจุดม้าม ภาวะชี่และเลือดพร่องเพิ่มจุดม้าม กระเพาะอาหาร ภาวะสารจิงในไตพร่องเพิ่มจุดไตสมอง ใช้ เข็มแทงหรือใช้เม็ดหวางปู้หลิวสิงแปะที่จุด
 
 

คําแนะนําท้ายบท

1. การฝังเข็มมีผลในการรักษาอาการวิงเวียนที่ค่อนข้างดี แต่พึงต้องทําการตรวจหาสาเหตุที่ทําให้เกิดโรคและวินิจฉัยกลุ่มอาการให้แม่นยํา หากเป็นอาการที่เกิดตามโรคอื่นๆ ต้องให้การรักษาโรคเดิมด้วย
 
2. ในขณะที่มีอาการกําเริบ ควรให้ผู้ป่วยนอนหลับตา อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบ หากมีอาการอาเจียนต้องไม่ให้สิ่งที่อาเจียนออกมาพลัดหลงเข้าหลอดลม
 
3. ผู้ป่วยควรรักษาอารมณ์จิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนทางจิตใจ ดูแลอาหารที่รับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารหวานมัน ออกกําลังกายให้เหมาะสม เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
 

 
 
 



ความก้าวหน้าในงานวิจัยการรักษาเวียนศีรษะด้วยการฝังเข็ม

 
ในปัจจุบันการฝังเข็มเพื่อรักษาอาการเวียนศีรษะมีการใช้อย่างกว้างขวางและได้ผลดีในการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาอาการเวียนศีรษะที่มีปัญหามาจากต้นคอ จากเอกสารงานวิชาการ ในระหว่างปี 2008-2014 นํามาประมวลสรุปได้ดังต่อไปนี้
 
1. การรักษาด้วยวิธีแทงเข็ม

จูจินหลิ่ว ได้ใช้วิธีการรักษาอาการเวียนศีรษะที่มีสาเหตุจากต้นคอในผู้ป่วยจํานวน 120 คน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 60 คน กลุ่มรักษาใช้จุดฝังเข็มได้แก่ เฟิงฉือ ไป่ฮุ่ย เน่ยกวาน และจุดตามแนวกระดูกสันหลัง(เจียจี๋) เป็นหลัก และปรับเพิ่มจุดตามกลุ่มอาการที่สังกัด โดยใช้วิธีฝังเข็มตามแบบพื้นฐาน กลุ่มเปรียบเทียบใช้ยาฉีดที่เตรียมจากสารสกัดใบแปะก๊วย 20 ซีซี หยดเข้าเส้น ทั้งสองกลุ่มให้การรักษาวันละ 1 ครั้ง รักษาต่อเนื่องเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มศึกษาได้ผลรักษารวมร้อยละ 93.33 กลุ่มเปรียบเทียบได้ผลรักษารวมร้อยละ 68.33 ผลการรักษาของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p  <  0.05)
 
2. การรักษาด้วยวิธีแทงเข็มร่วมกับการรมโกฐ

ลู่เหยา ได้ใช้เข็มอุ่นรักษาอาการเวียนศีรษะที่มีสาเหตุจากต้นคอ โดยทําการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยจํานวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 28 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 26 คน กลุ่มศึกษาจุดหลักที่ใช้ ได้แก่ เฟิงฉือ หวานกู่ เทียนจู้ และจุดตามแนวกระดูกสันหลัง C4-7 เล่เชว อวิ้นทิง ไป่ฮุ่ย ในกรณีที่มีภาวะชี่และเลือดพร่อง เพิ่มจุด จู๋ซันหลี่ กวานหยวน ชี่ไห่ หลังจากปักเข็มแล้วใช้ก้อนจุฬาลําภาปั้นติดกับด้ามเข็มแล้วเผาเป็นเวลา 30 นาที ที่ไป่ฮุ่ยใช้วิธีการรมโกฐแบบนกจิก 10 นาที กลุ่มเปรียบเทียบให้รับประทาน Flunayizine Hydrochloride 10 มก. ก่อนนอน ทั้งสองกลุ่มให้การรักษาวันละ 1 ครั้ง 10 ครั้งเป็นหนึ่งชุดรักษา ผลการรักษา กลุ่มศึกษาได้ผลในการรักษารวมร้อยละ 89.3 กลุ่มเปรียบเทียบได้ผลรวมร้อยละ 46.2 ผลที่ได้ของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p  <  0.05) ติงอี[3] ใช้การฝังเข็มกับการรมด้วยแท่งโกฐแบบหมุนวน (เสวียนจิว) รักษาอาการเวียนศีรษะที่มีสาเหตุจากต้นคอ ในกลุ่มผู้ป่วยจํานวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มศึกษาใช้จุดเฟิงฉือ และจุดขนาบกระดูกสันหลัง (หัวโถเจียจี๋) 
 
และใช้แท่งโกฐรมที่จุดไป่ฮุ่ยแบบหมุนวนเป็นเวลา 5-7 นาที จนผิวแดงเรื่อๆ กลุ่มเปรียบเทียบให้รับประทาน Sibelium capsule 5 mg ทั้งสองกลุ่มให้การรักษาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น 10 วันเป็นหนึ่งชุดรักษา รวม 3 ชุดรักษา ผลการรักษา กลุ่มศึกษาหายดีร้อยละ 65 ได้ผลรวมร้อยละ 96 กลุ่มเปรียบเทียบรักษาหายดีร้อยละ 42.5 ผลการรักษารวมร้อยละ 83.3 ผลที่ได้ของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p  <  0.05)
 
จางหง  ได้ใช้วิธีแทงเข็มร่วมกับการรมโกฐรักษาผู้ป่วย 320 ราย จุดหลักได้แก่ ไป่ฮุ่ย เฉียงเจียน เหน่าฮู่ โดยคาเข็มไว้ 30 นาที ระหว่างนี้ทําการกระตุ้นเข็ม 1 ครั้งและใช้แท่งโกฐรมที่จุดฝังเข็ม 15 นาที วันละ 1 ครั้ง 15 ครั้งเป็น 1 ชุดรักษาผลการรักษารวมร้อยละ 96.9 รายที่เห็นผลเร็วที่สุดคือทําเพียงครั้งเดียวก็เห็นผล รายที่รักษานานที่สุดใช้เวลา 15 วันหรือหนึ่งชุดรักษา
 
3. การรักษาด้วยวิธีแทงเข็มปล่อยเลือด

เลี่ยวฟางหรง ได้ทําการศึกษาวิธีแทงเข็มปล่อยเลือดรักษาผู้ป่วยเวียนศีรษะที่มีสาเหตุจากต้นคอจํานวน 92 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้เข็มดอกเหมยเคาะที่ บริเวณจุดเน่ยกวาน จู๋ซันหลี่ ไท่ชง ทั้งสองข้าง จากนั้นทําการเคาะไปตามแนวเส้นตูม่าย เส้นเท้าซ่าวหยางและเส้นเท้าไท่หยางกระเพาะปัสสาวะทั้งสองข้าง ให้มีเลือดพอซึมออก หลังจากเคาะแล้วทําการครอบแก้วที่บริเวณคอและบ่าเป็นเวลา 5 นาที จากนั้นเช็ดเลือดที่ซึมออกมาให้แห้ง รักษาวันละ 1 ครั้ง 6 วันเป็น 1 ชุดรักษา พัก 1 วันแล้วทําการรักษาชุดต่อไปรวม 2 ชุดรักษา กลุ่มเปรียบเทียบให้รับประทาน BetahistinemesilateTablet 6 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ผลการรักษารวมของกลุ่มศึกษาคิดเป็นร้อยละ 95.6 กลุ่มเปรียบเทียบร้อยละ 69.6 ผลการรักษารวมของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p  <  0.05)


4. การรักษาด้วยวิธีแทงเข็มกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

เหวียนเหวินเทา ได้ใช้การแทงเข็มกระตุ้นด้วยไฟฟ้ารักษาผู้ป่วยเวียนศีรษะที่มีสาเหตุจากต้นคอจํานวน 102 คน โดยใช้จุดเฟิงฉือ ไป่ฮุ่ย แนวขมับเส้นหลัง (เน่โห้เสี้ยน) เส้นด้านข้างใต้กระดูกท้ายทอย(เจิ่นโฮ่เสี้ยน) หากมีอาการคลื่นไส้เพิ่มจุดจู๋ซันหลี่ เมื่อปักเข็มเรียบร้อยแล้วเชื่อมกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เลือกใช้คลื่นต่อเนื่อง ค่อยๆ เพิ่มความแรงจนถึงระดับที่ผู้ป่วยทนได้ กระตุ้น 20 นาที รักษาวันละ 1 ครั้ง 7 วัน เป็นหนึ่งชุดรักษา แล้วทําการติดตามอาการของผู้ป่วยไปอีก 2-3 เดือน ผลการรักษาหายดี 58 ราย ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 39 ราย ไม่ได้ผล 5 ราย ผลการรักษารวมคิดเป็นร้อยละ 95.1
 
หลัวเหรินเฮ่า ได้แบ่งคนไข้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 50 คน กลุ่มศึกษาใช้จุดไป่ฮุ่ยเฟิงฉือ(ทั้งสองข้าง) เฟิงฝู่ เจียจี๋ C1-3 เป็นหลัก และเพิ่มจุดตามกลุ่มอาการ จากนั้นเชื่อมกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เลือกใช้คลื่นสลับในความแรงที่ผู้ป่วยทนได้ เป็นเวลา 30 นาทีวันละ 1 ครั้ง กลุ่มเปรียบเทียบให้รับประทานยา Flunayizine Hydrochloride capsule 50 มก. วันละ 1 ครั้งก่อนนอน และ Betahistinemesilate Tablet 6 มก. วันละ 3 ครั้ง รักษาติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างนี้ให้หยุดยาอื่นๆ รวมทั้งยาจีนผลการรักษารวมของกลุ่มรักษาร้อยละ 100 กลุ่มเปรียบเทียบร้อยละ 60.9 ผลการรักษาของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p  <  0.01) การไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดง basilar artery หลังจากผ่านการรักษา กลุ่มรักษาดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างเห็นได้ชัด (p  <  0.05)
 
 
5. การรักษาด้วยวิธีแทงเข็มที่ท้อง

กว่านหวายอี้ ได้ใช้วิธีแทงเข็มที่ท้องรักษาผู้ป่วยเวียนศีรษะจํานวน 42 ราย โดยเลือกใช้จุดที่มีบทบาทในการดึงชี่กลับสู่ที่ตั้ง (ได้แก่ จงหว่าน เซี่ยหว่าน ชี่ไห่ กวานหยวน) เป็นจุดหลัก จุดรองได้แก่ สุ่ยเฟิน หวาโร่วเหมิน ประกอบกับจุดที่ลําตัวอื่นๆได้แก่ ไป่ฮุ่ย เน่ยกวาน ซันยินเจียว จู๋ซันหลี่ รักษาวันละ 1 ครั้ง 5 ครั้งต่อสัปดาห์ 10 ครั้งเป็นหนึ่งชุดรักษา เมื่อครบหนึ่งชุดรักษาพัก 3 วัน โดยทั่วไปทําการรักษา 1-2 ชุด ผลการรักษารวมคิดเป็นร้อยละ 95.3 หลี่เหมยอิงและคณะ[9] ได้ศึกษาการรักษาเวียนศีรษะที่มีสาเหตุจากต้นคอด้วยวิธีแทงข็มที่ท้องในผู้ป่วย 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษาจุดหลักใช้ เทียนตี้เจิน (จงหว่าน กวานหยวน) เซี่ยหว่าน ชี่ไห่ กลุ่มเปรียบเทียบ ใช้วิธีแทงเข็มตามปกติ จุดหลักได้แก่ ไป่ฮุ่ย เฟิงฉือ อิ้นถาง จุดกดเจ็บ ต้าจุย จุดตามกระดูกสันหลังส่วนคอ (จิ่งเจียจี๋) ทําการรักษาวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 5 วันในหนึ่งสัปดาห์ แล้วพัก 2 วัน 10 ครั้งเป็นหนึ่งชุดรักษา เมื่อผ่านการรักษาหนึ่งชุดแล้วทําการประเมินผล ผลการรักษา กลุ่มศึกษามีผลการรักษารวมร้อยละ 93.3 กลุ่มเปรียบเทียบมีผลรักษารวมร้อยละ 83.3 ผลในการรักษาของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) กลุ่มศึกษาได้คะแนนประสิทธิผลในการรักษา (6.52+0.11) มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ(4.98+0.60) อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05)
 
 
6. การรักษาด้วยเข็มร้อน

หวงชางจิ่น ได้ใช้เข็มร้อนรักษาโรคเวียนศีรษะที่สังกัดกลุ่มอาการเสลดขึ้นอุดกั้นในผู้ป่วยจํานวน 30 คน โดยใช้เข็มร้อนจิ้มที่จุดไป่ฮุ่ยลึกประมาณ 1 มม. โดยทําอย่างรวดเร็วและกระตุ้นแบบถี่ๆ ต่อเนื่องกัน เมื่อเข็มเย็นลงให้นําเข็มมาเผาไฟและทําตามวิธีข้างต้นอีกจนผู้ป่วยมีความรู้สึกถึงความร้อนแผ่ซ่านไปถึงข้างใน ทําการรักษาด้วยวิธีนี้วันละ 1 ครั้ง 7 ครั้งเป็นหนึ่งชุดรักษา เมื่อครบหนึ่งชุดรักษาแล้วทําการประเมินผลผลการรักษารวมคิดเป็นอัตราร้อยละ 76.7 ผลการรักษาในระดับหายดี ร้อยละ 53.3 จางหมิงเจี้ยน [11] ได้ใช้เข็มร้อนรักษาผู้ป่วยเวียนศีรษะ 278 ราย โดยแต่ละครั้งใช้เข็มร้อนจิ้มที่จุดไป่ฮุ่ยนับสิบครั้ง รักษาวันละ 1 ครั้ง 3 วันเป็นหนึ่งชุดรักษา จนเกิดเป็นแผลขนาด 0.5X0.5 ซม. รอให้ตกสะเก็ดและ สะเก็ดหลุดออก หากยังมีอาการโรคอยู่ให้ทําตามวิธีข้างต้นอีก 1-2 ชุดรักษา ผลการรักษารวมร้อยละ 99.28 ในหนึ่งชุดรักษามีผู้หายจากอาการโรค 163 ราย ในสองชุดรักษามีผู้หาย 62 ราย และในสามชุดรักษามีผู้หาย 53 ราย
 
 
7. การฉีดยาเข้าจุดฝังเข็ม

จางจื้อเซิ่ง ได้ใช้วิธีฉีดยาเข้าจุดซันยินเจียวรักษาผู้ป่วยจํานวน 84 คน ตัวยาที่ใช้ได้แก่ ยาน้ําตังกุยสําหรับฉีดและยาน้ําหวงฉีสําหรับฉีด ปริมาณที่ใช้ ตัวยาละ 2 ซีซี วิธีฉีด เข้าเข็มตั้งฉากกับจุดซันยินเจียวลงไป 1.5 ซม. แล้วกระตุ้นโดยการสอดเข็มขึ้นลงประมาณ 1-2 นาที จนผู้ป่วยมีความรู้สึกเต๋อชี่ แล้วสูบกระบอกฉีดขึ้นตรวจดูว่าไม่มีเลือด แล้วเดินยาช้าๆ เข้าไป 2 ซีซีรักษาวันเว้นวัน 7 วันเป็นหนึ่งชุดรักษา รวมรักษา 2 ชุด ผลการรักษารวมมีอัตราร้อยละ 92 เผิงชิง[13] ได้ศึกษาการฉีดยาเข้าจุดฝังเข็มเพื่อรักษาเวียนศีรษะที่มีสาเหตุจากต้นคอในคนไข้ 62 คน โดยแบ่งคนไข้ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษาฉีดยาเข้าจุดเหรินอิ๋ง ตัวยาที่ใช้ได้แก่ procaine 2% 2 ซีซี + วิตามิน B12 1 ซีซี+ น้ําเกลือ 2 ซีซี โดยฉีดเข้าจุดเหรินอิ๋งข้างซ้ายกับขวาสลับกัน กลุ่มเปรียบเทียบใช้วิธีแทงเข็มตามปกติ จุดที่ใช้ได้แก่ เฟิงฉือ ต้าจุย จุดตามแนวกระดูกสันหลังส่วนคอ (จิ่งเจียจี๋) ต้าจู้ ทั้งสองกลุ่มทําการรักษาตามวิธีข้างต้นวันละ 1 ครั้ง 10 ครั้งเป็นหนึ่งชุดรักษาแล้วประเมินผล กลุ่มศึกษามีอัตราผลการรักษารวมร้อยละ 93.7 กลุ่มเปรียบเทียบมีอัตราผลการรักษารวมร้อยละ 80.0 ผลการรักษาของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05) คะแนนทางด้านอาการก่อนและหลังการรักษาของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05)
 
 
8. การรักษาด้วยการฝังเข็มที่หู

จางหงและคณะ ได้ใช้มาตรฐานการประเมินอาการเวียนศีรษะที่มีสาเหตุจากต้นคอ มาทําการประเมินผลการรักษาวิงเวียนด้วยการฝังเข็มหูวิธีต่างๆ ในผู้ป่วย 48 คน โดยวิธีที่ใช้ประกอบด้วย การนวดจุดที่หู การใช้เมล็ดพืชกดที่บริเวณอวิ้นชีว์ ก้านคอเสินเหมิน เจียวก่าน กระดูกคอ และกระดูกคอ3-4 ที่หลังใบหู และแทงปล่อยเลือดที่ ใบหูประมาณ 20 หยด แทงปล่อยเลือดที่เขตที่ 4 ของวงใบหู ประมาณ 15-20 หยดผลการรักษา ได้ผลดีร้อยละ 91.7 ได้ผลร้อยละ 6.2 ไม่ได้ผลร้อยละ 2.1 เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.05)
 
 

สรุป

จากข้อมูลมที่นํามาประมวลไว้ดังข้างต้นทําให้เห็นได้ว่าการรักษาเวียนศีรษะด้วยการฝังเข็มนั้นมีหลากหลายวิธี ทั้งวิธีรักษาที่เห็นผลในทันทีหรือเห็นผลด้วยการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นวิธีการที่ผู้ป่วยรับได้ จึงเป็นวิธีที่สามารถนําไปใช้ในทางคลินิกอย่างแพร่หลายต่อไป และควรพิจารณาตามหลัก "การรักษาตามเหตุของโรค" ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนเพื่อเลือกใช้วิธีรักษาให้สอดคล้องกับกลุ่มอาการต่างๆ เช่น ผู้ที่มีภาวะหยางของตับกําเริบขึ้น ควรเลือกใช้วิธีแทงเข็มและกระตุ้นด้วยไฟฟ้า การแทงปล่อยเลือดและครอบแก้ว ผู้ที่มีภาวะชี่และยินพร่องควรเพิ่มการรมด้วยโกฐจุฬาลําภา ผู้ที่มีภาวะเสลดอุดกั้นศีรษะควรเลือกใช้วิธีแทงด้วยเข็มร้อน ผู้ที่มีภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือดฝอยควรใช้วิธีแทงปล่อยเลือดและใช้แก้วครอบที่จุดต้าจุย และทุกวิธีข้างต้นสามารถเสริมด้วยการฝังเข็มหูเพื่อช่วยยกประสิทธิภาพในการรักษา

 
  • กรมแพทย์แผนไทย  รศ. นพ.จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด