ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Cheewabhibaln Center Chulalongkorn Hospital

Logo

ศูนย์ชีวาภิบาล หรือ Palliative Care Center เป็นคำที่มาจากคำสองคำคือ “ชีวา” หรือ “ชีวิต” บวกกับ “อภิบาล” คือ การบำรุง ดูแลอย่างรอบด้าน เมื่อรวมกันจึงเป็น “ชีวาภิบาล” หมายถึง การบำรุงดูแลชีวิต ดังนั้น ศูนย์ชีวาภิบาลจึงเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การดูแลชีวิตช่วงท้ายของผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเน้นการทำงานแบบองค์รวมเพื่อให้ได้รับการตอบสนองครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกาย ด้านจิตใจอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตปัญญา

ที่อยู่/ติดต่อ
สภากาชาดไทย 1873 ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ ศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
ศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
#ศูนย์ชีวาภิบาล #โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
#ประคับประคอง #ผู้ป่วยระยะสุดท้าย #Palliativecare #Fellowshiptraining
 
 
          ศูนย์ชีวาภิบาล หรือ Palliative Care Center เป็นคำที่มาจากคำสองคำคือ “ชีวา” หรือ “ชีวิต” บวกกับ “อภิบาล” คือ การบำรุง ดูแลอย่างรอบด้าน เมื่อรวมกันจึงเป็น “ชีวาภิบาล” หมายถึง การบำรุงดูแลชีวิต ดังนั้น ศูนย์ชีวาภิบาลจึงเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การดูแลชีวิตช่วงท้ายของผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเน้นการทำงานแบบองค์รวมเพื่อให้ได้รับการตอบสนองครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกาย  ด้านจิตใจอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตปัญญา
 
         แรกเริ่มเดิมทีการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีจุดเริ่มต้นต่างจากกลุ่มงานอื่น ๆ คือ เริ่มโดยการรวมกลุ่มของบุคลากรในโรงพยาบาลที่สนใจและมีจิตอาสาทำงานด้านนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 และพัฒนามาเป็นคณะกรรมการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย จนกระทั่งได้รับการอนุมัติจากสภากาชาดไทย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2555 ให้จัดตั้งเป็น “ศูนย์ชีวาภิบาล” ด้วยนโยบายของโรงพยาบาลที่จะไม่แยกผู้ป่วยระยะท้ายออกเป็นหอพิเศษโดยเฉพาะ ดังนั้น ศูนย์ชีวาภิบาลจึงทำหน้าที่เป็น “ที่ปรึกษา” ให้กับทีมดูแลหลัก โดยร่วมมือกับแพทย์เจ้าของไข้ และบุคลากรในหอผู้ป่วย เพื่อช่วยกันดูแลตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและญาติ เพราะทีมดูแลหลักย่อมรู้จักและได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยเป็นทุนเดิม ทางศูนย์จะเป็นเพียงพลังเสริมให้การดูแลให้แกร่งขึ้น นอกจากนี้ ศูนย์ชีวาภิบาลยังมีทรัพยากรเครือข่ายอาสาสมัครเป็นแหล่งเติมเต็มความต้องการ เช่น การเยี่ยมเยียนแบบเพื่อน นอกจากบทบาทดังกล่าวแล้ว ศูนย์ชีวาภิบาลยังทำหน้าที่เป็นแหล่งส่งเสริมความรู้ให้แก่บุคลากร นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยการจัดการเรียนการสอน และการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
 
 
 
 
          นายเเพทย์พรเลิศ  ฉัตรแก้ว หัวหน้าศูนย์ชีวาภิบาล กล่าวว่า สำหรับหลายครอบครัวคงจะนึกไม่ออกว่า การที่ผู้เป็นที่รักของตนจะต้องตายจากไปจะมีอะไรที่เลวร้ายไปกว่านี้อีก แต่จริง ๆ แล้วยังมีเรื่องที่เลวร้ายได้มากกว่านั้น คือการที่คนที่เป็นที่รักต้องตายจากไปในสภาพที่เลวร้าย ความตายที่เลวร้ายอย่างที่ว่า คือตายไปอย่างทุกข์ทรมาน ตายโดยที่ต้องมีสายระโยงระยางติดกับเครื่องมือต่างๆ  หมายถึง “การปฏิเสธความตาย” ในบางด้านกลับกลายเป็นภาพลวงตา และเราจะเริ่มมีปฏิกิริยาในแบบที่เข้าใจไม่ได้ว่าอะไรเป็นอะไร และนี่คือภาพโดยรวมของสิ่งที่เรากำลังทำกันอยู่ สิ่งที่สำคัญที่ทุกคนพึงตระหนักคือ ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะยอมตายได้อย่างแท้จริง หากไม่ฝึกจิตเตรียมใจมาดี แม้ว่าความจริงของชีวิตคนเราทุกคนนั้นจะต้องพบเจอกับการเกิด แก่ เจ็บ และตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ป่วยที่ใกล้จะหมดลมหายใจ นอกจากการดูแลรักษาทางกายแล้วยังรวมถึงการดูแลรักษาทางจิตใจสังคม และจิตวิญญาณด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ รวมไปถึงการดูแลจิตใจญาติหลังจากผู้ป่วยจากไปแล้ว ซึ่งการพูดคุยสอบถามความต้องการของผู้ป่วยและญาติเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ไม่มีแบบแผนตายตัว แต่ต้องปรับเปลี่ยนตามความคาดหวัง ความต้องการของแต่ละบุคคล ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และญาติก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ เพราะหากผู้ป่วย และญาติมีความเชื่อมั่น และความรู้สึกที่ดีต่อแพทย์แล้ว การดูแลต่าง ๆ ก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่นขึ้น
แม้ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์รุดหน้าไปมาก มีอุปกรณ์และวิธีการรักษามากมายที่ช่วยยื้อชีวิตผู้ป่วยเพื่อต่อสู้กับความตาย ทำให้ผู้ป่วย ญาติ ตลอดจนแพทย์ผู้ดูแลรักษาจำนวนมาก รู้สึกว่าความตาย คือการพ่ายแพ้ และพยายามหลีกเลี่ยง หรือยื้อไว้ให้นานที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็ไม่สามารถชนะธรรมชาติได้ในที่สุด ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งก็ต้องเข้าสู่ช่วงท้ายของชีวิต ที่ไม่มีการรักษาเพื่อจะให้หายจากโรค และผู้ป่วยก็จะจากไปในไม่ช้า แม้ว่าการรักษาให้หายขาดจะทำไม่ได้แล้ว แต่สิ่งที่ญาติและแพทย์ยังทำได้คือ ให้ผู้ป่วยจากไปอย่างหมดกังวลและสงบที่เรียกว่า “ตายดี” หรือจากไปอย่างไม่สงบ เป็นกังวล และโดดเดี่ยว หรือที่เรียกว่า “หลงตาย” จึงเป็นเหตุผลให้การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เริ่มเข้ามามี บทบาทในวงการแพทย์มากขึ้น
 
 
 
ด้านนายแพทย์ ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร กล่าวว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่เพียงถูกความเจ็บปวดทางกายรุมเร้าเท่านั้น ยังถูกรบกวนด้วยความกลัว เช่น กลัวตาย กลัวถูกทอดทิ้ง ตลอดจนกลัวความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นการดูแลด้าน จิตสังคม จึงไม่มีสูตรการบำบัดรักษาที่แน่นอนตายตัว เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีภูมิหลัง ความทุกข์ใจ กังวลใจ และความต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน ดังนั้นองค์ประกอบที่สำคัญในการสนับสนุนทางอารมณ์แก่ผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ได้แก่ ความเมตตา โดยญาติควรสื่อสารแบบเอื้ออาทร แสดงความเห็นใจ เอาใจใส่ต่อความปรารถนาของผู้ป่วย การดูแลด้านร่างกายก็เช่นกัน ต้องควบคุมความทุกข์ทรมานทางร่างกาย โดยใช้สมาธิ หรือแม้กระทั่งการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมก็เช่นกัน เพราะสถานที่ที่ผู้ป่วยอยากใช้ชีวิตอยู่ในช่วงท้ายของชีวิต เช่น บ้าน สถานที่ที่ผู้ป่วยอยากไป หรือมีความผูกผันในอดีต เหมือนกับการ “เอาทุกข์ออก  เอาสุขให้  เอาใจว่าง”  คือ  เราทำให้ความทุกข์ทางกาย ทางใจ และทางสังคม จนกระทั่งจิตปัญญาของเขาเบาบางลง ให้เขาพบกับความสุขทางกาย ทางใจ ความสุขทางสังคม และความสุขทางจิตใจ จิตวิญญาณในระดับลึก ๆ มากขึ้น  เอาใจว่าง หมายถึง ปล่อยวางจากจากสังขาร
ซึ่งอาจจะทำให้เหมาะสมได้ยาก หากมองในสายตาของผู้ดูแล โดยเฉพาะทีมการรักษาพยาบาลซึ่งมีโอกาสเผชิญหน้ากับความพลัดพราก การสูญเสียอยู่เป็นประจำ การดูแลผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลที่มาจากหลากหลายพื้นฐาน การสื่อสารในทีมการรักษาที่ซับซ้อนหลายระบบ การให้ความรู้ปรับความเข้าใจต่อผู้รับบริการในเวลาที่เหมาะสมจริง ๆ จนกระทั่งผู้ป่วยยอมรับที่จะตายได้ จึงจัดเป็นการใช้ศิลปะที่ล้ำลึกอย่างมาก ซึ่งการดูแลที่สอดประสานสมดุลต่าง ๆ นั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานเยี่ยงหุ่นยนต์ ดังที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้งในงาน การดูแลผู้ป่วยทั่ว ๆ ไปที่ยังมีโอกาสหายขาดได้ ดังนั้นหากมองว่าญาติผู้ดูแลเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้รักษา การ “ยอมตาย” ได้ของผู้ป่วยก็จัดเป็นเป้าหมายของการดูแลรักษาที่ท้าทายที่สุดประการหนึ่ง แล้วถือเป็นความสมบูรณ์แบบของการอยู่ดีก่อนตายในระยะประคับประคอง ซึ่งจะสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตได้แน่นอนเพราะผู้ที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับชีวิตของตนเองแล้ว ก็จะไม่ทุกข์ทรมานทางจิตใจอีกต่อไป ความทุกข์ทรมานทางกายก็จะทุเลาลงได้แล้วนั่นก็สามารถสรุปว่า หากผู้ป่วยสามารถ “ยอมตาย” ได้…ก็เชื่อได้ว่าจะ “ตายดี” อย่างแน่นอน
 
 
 
 
 
“ลูก” เปรียบเสมือน “แก้วตาดวงใจ” เเม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกพบแต่สิ่งดี ๆ ไม่ว่าเรื่องการศึกษา การงาน คู่ชีวิต หรือแม้แต่สุขภาพ
 
          นางอุทัย เล็กเจริญสุข อายุ 56 ปี อาชีพแม่บ้าน คุณแม่น้องโต้ง วัย 22 ปี ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อน เล่าว่า “ตอนแรกน้องมีเพียงอาการปวดท้องก็ไม่ได้คิดว่าเป็นอะไรมาก จึงไปฉีดยาตามคลินิกแถวบ้าน แต่พอเริ่มปวดบ่อยเข้า น้องก็หาหมอที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งทางโรงพยาบาลก็ไม่ทำอะไรไปมากกว่าการฉีดยา จนน้องทนไม่ไหวหมอจึงตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ แม่ถึงได้รู้ว่าน้องเป็นมะเร็ง เมื่อทราบว่าลูกเป็นมะเร็งตับอ่อน วินาทีแรกแทบล้มทั้งยืน เพราะตั้งแต่เล็กจนโต น้องโต้งเป็นเด็กดี ไม่เคยต้องทำให้แม่เสียใจเลย มีแต่เรื่องให้แม่ภูมิใจ และไม่คิดว่าโรคนี้จะเกิดกับน้อง คิดตลอดว่าทำไมต้องเกิดกับลูกเรา หลังจากนั้นก็คุณครูน้องโต้ง แนะนำให้มารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ น้องก็ใช้สิทธิ์ในการรักษาเพราะเป็นนิสิตจุฬาฯ ตอนแรกคุณหมอก็ทำการรักษาเบื้องต้น จนวันหนึ่งพยาบาลให้น้องไปตรวจ แม่จึงทราบว่าน้องเป็นระยะสุดท้าย ซึ่งตอนนั้นน้องยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย จนคุณหมอมีการให้คีโมหนักขึ้นเรื่อย ๆ ไม่นานน้องก็มารู้ความจริงว่าตนเองเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายจากเบิลค่าใช้จ่ายที่พยาบาลนำมาให้ หลังจากนั้นแม่ก็ได้คุยกับน้อง ซึ่งตัวน้องเองก็เข้าใจ และยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น จนสามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งมาได้จนถึงทุกวันนี้ และเป็นลูกที่เป็นฝ่ายมาปลอบใจแม่ด้วยซ้ำ ว่าหลังจากที่เขาจากไป…แม่ต้องอยู่ได้!! ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ชีวาภิบาลได้ให้คำปรึกษา แนะนำ และให้กำลังใจน้อง ยอมรับกับโรคนี้อย่างไม่เป็นทุกข์ รวมถึงการให้กำลังใจตัวแม่เองด้วย เพราะถ้าไม่มีศูนย์นี้น้องและแม่คงตกอยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่ และหมดทางเยียวยาไปแล้ว”