ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สต็อกโฮล์มซินโดรม (Stockholm Syndrome) ไม่ใช่อาการป่วยทางจิต แต่เป็นปฎิกิริยาสะท้อนอารมณ์อีกขั้ว

สต็อกโฮล์มซินโดรม (Stockholm Syndrome) ไม่ใช่อาการป่วยทางจิต แต่เป็นปฎิกิริยาสะท้อนอารมณ์อีกขั้ว HealthServ.net
สต็อกโฮล์มซินโดรม (Stockholm Syndrome) ไม่ใช่อาการป่วยทางจิต แต่เป็นปฎิกิริยาสะท้อนอารมณ์อีกขั้ว ThumbMobile HealthServ.net

อาการสต็อกโฮล์ม ซินโดรม (Stockholm syndrome) เป็นอาการตอบสนองทางอารมณ์ที่เรียกได้ว่าค่อนข้างจะสุดขั้ว ในสภาวะการณ์ที่ผู้ถูกจับเป็นตัวประกันหรือเป็น "เหยื่อ" ได้พัฒนากลไกเชิงจิตวิทยาอารมณ์ ที่แปรเปลี่ยนจากความรู้สึก "ด้านลบ" จากการถูกกระทำย่ำยี กลับกลายเป็นความรู้สึก "เชิงบวก" เป็นความเห็นอกเห็นใจ หลงไหลผูกพันธ์ ปกป้องไม่กล่าวโทษต่อผู้กระทำกับตน

สต็อกโฮล์มซินโดรม (Stockholm Syndrome) ไม่ใช่อาการป่วยทางจิต แต่เป็นปฎิกิริยาสะท้อนอารมณ์อีกขั้ว HealthServ
 
สต็อกโฮล์ม ซินโดรม ไม่ใช่อาการป่วยทางจิต  แต่เป็นการสะท้อนภาวะทางอารมณ์ของผู้ถูกกระทำที่มีต่อผู้ที่กระทำ
 
อธิบายได้จากในบางกรณีที่ผู้มีหน้าที่จับกุมหรือควบคุมผู้ต้องหา/ผู้ต้องขัง อาจเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อผู้ต้องหา/ผู้ต้องขัง  (ผู้ถูกกระทำ) เหล่านั้นก็ได้เช่นกัน ความรู้สึกเหล่านั้นอาจค่อยๆพัฒนาการขึ้นไปตามระยะเวลาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า (ผู้คุมกับนักโทษ) ด้วยความรู้สึกเชิงบวก ส่งผลเป็นความเห็นอกเห็นใจ สงสาร เข้าใจ อยากช่วยหรือกลายเป็นความรักก็ได้เช่นกัน (รักในเชิงเข้าใจเห็นใจ) 
 
สต็อกโฮล์ม ซินโดรม ก็สามารถอธิบายในทำนองเดียวกัน ผู้ร้ายอาจไม่ได้กระทำย่ำยีอย่างรุนแรงอย่างใดต่อตัวประกันเหล่านั้น เรื่องราวเหตุการณ์ในระหว่างที่จับตัวอาจไม่เป็นที่เปิดเผยหรือเข้าใจทั้งหมด บางสิ่งอาจเกิดขึ้นที่กระทบจิตใจและก่อเกิดเป็นความเข้าใจต่องการกระทำของผู้ร้ายมากกว่าจะปักใจเชื่อว่าเป็นเรื่องของความผิดบาปหรือร้ายแรง  
 
ความรู้สึกด้านบวกของตัวประกันในอาการสต็อกโฮล์ม ซินโดรม ผลักให้เกิดแรงต้านด้านลบไปยังกลุ่มตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายหรือกลุ่มอื่นใด (ทนาย อัยการ ผู้คนที่ประณาม) ที่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดการกับสถานการณ์และผู้กระทำผิดก็ได้เช่นกัน  อย่างกรณีเดียวกันนี้ที่ในเวลาต่อมา ตัวประกันไม่ยอมเป็นพยานต่อศาล และยังมีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือคดีให้กับผู้ร้ายแทนอีกด้วย
 
 
อาจจะเพราะเชื่อว่า "ผู้ร้ายไม่ได้ร้ายจริง ผู้ร้ายไม่ได้ต้องการที่จะทำร้ายคนบริสุทธิ์ ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้ร้ายโดยสันดาน แต่มีเหตุบีบคั้นบางอย่างขึ้นมา ลึกๆแล้วไม่อยากทำร้ายคนบริสุทธิ์"
 
ผู้เชี่ยวชาญ อธิบายว่า แท้จริงแล้วอาการลักษณะนี้มีในมนุษย์มาเนิ่นนานแล้ว เพียงแต่ไม่มีคำเรียกเฉพาะมาก่อน จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์การจับตัวประกัน 4 คน ในการปล้นธนาคารเครดิทบังเคน กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดนเมื่อ 23 สิงหาคม 1973 (พ.ศ.2516)  ต่อมานักอาชญวิทยา นิว เบเยโฮสต์ (Nils Bejerot) เป็นผู้ที่เรียกพฤติกรรมเหนือคาดหมายนี้ว่าเป็น "สต็อกโฮล์ม ซินโดรม" 
 
 
 
 
สต็อกโฮล์มซินโดรม (Stockholm Syndrome) ไม่ใช่อาการป่วยทางจิต แต่เป็นปฎิกิริยาสะท้อนอารมณ์อีกขั้ว HealthServ


สต็อกโฮล์ม ซินโดรม เกิดได้อย่างไร

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนแน่ที่จะมีอาการเช่นนี้ ภาวะล่อแหลมเสี่ยงภัยเสี่ยงตาย ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกด้านบวกต่อผู้คุกคามแน่นอน  บางกรณีเท่านั้นที่เป็นข้อยกเว้น แม้ว่าจะไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนว่าเหตุใด สต็อกโฮล์ม ซินโดรม ถึงเกิดขึ้นได้  อาจเป็นเพราะกลไกการเอาชีวิตรอดก็เป็นได้ มีการพยายามวิเคราะห์หาเหตุ ได้ต่างๆ อาทิเช่น
 
  • เหยื่อได้รับผลกระทบทางอารมณ์มาระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจจะนานสักระยะหนึ่ง
  • เหยื่อมีโอกาสอยู่ร่วมใกล้ชิดกับผู้ร้ายในสภาวะการณ์ที่เลวร้าย อย่างเช่น อดอยาก ขาดอาหาร สถานที่คุมขังค่อนข้างเลวร้าย เป็นต้น
  • เหยื่อพึ่งพิงปัจจัยพื้นฐานจากผู้ร้ายที่ควบคุมตัว
  • เหตุการณ์รุนแรงถึงชีวิตไม่เกิดขึ้น เช่น โดนฆ่า
  • ผู้ร้ายไม่ได้ร้ายจริง พอมีมนุษยธรรมอยู่บ้าง 
  • คนร้ายไม่ได้ลดทอนความเป็นมนุษย์ของเหยื่อ
 
ความจริงที่โหดร้ายในความคิดของผู้เป็นเหยื่อก็คือ ไม่ว่าจะเลวร้ายอย่างไร ผู้ร้ายก็เป็นความหวังเดียวของการรอดชีวิต  
 
 
กรณี สต็อกโฮล์ม ซินโดรม ในสวีเดนเป็นเหตุการณ์ใหญ่และเป็นที่รับรู้ต่อมา แต่กระนั้นก็ไม่มีการค้นคว้าไว้มากนัก ผู้เชี่ยวชาญพบว่าลักษณะทำนองเดียวกันนี้อาจเกิดในหลายรูปแบบได้ อาทิ 
 
การละเมิดเด็ก  การกระทำละเมิดมักจะก่อความสับสนให้เด็กอย่างมาก ด้านหนึ่งเป็นการกระทำละเมิดด้วยความรุนแรงขู่เข็ญ กระทั่งทำร้ายร่างกาย แต่ขณะที่อีกด้านที่ละเว้นการกระทำรุนแรงและแสดงความรักบ้างเห็นใจบ้าง แค่เพียงเท่านี้ ก็อาจเป็นจุดที่ก่อให้เกิดความรู้สึกแบบ สต็อกโฮล์ม ซินโดรม ได้เช่นกัน 
 
 
การละเมิดในวงการกีฬา เด็กหรือเยาวชนที่มีถูกโค้ชผู้ใหญ่ล่วงละเมิด อาจพัฒนาความรู้สึกบางด้านไปในเชิง สต็อกโฮล์ม ซินโดรม ได้ ด้วยความผูกพันธ์คุ้นเคย และรู้จักพฤติกรรมของผู้นั้น จากห้วงเวลาใช้ร่วมกันมาในระหว่างที่ฝึกซ้อมหรือทำงานร่วมกันมานาน 
 
 
การค้ามนุษย์ทางเพศ นี่อาจเป็นตัวอย่างที่ชัดของการต้องการมีชีวิตรอด ของเหยื่อที่ตกอยู่ในการควบคุมและต้องพึ่งพิงปัจจัยพื้นฐานให้มีชีวิตรอด
 
 
 
อาการสต็อกโฮล์ม ซินโดรม ไม่ได้ถูกจัดเป็นอาการทางจิตพื้นฐาน กระนั้นหากคิดว่ามีความกังวลต่ออาการนี้ หรือพบว่าคนใกล้ชิดมีความเสี่ยงต่ออาการนี้ มีคำแนะนำว่าต้องเข้าพบปรึกษากับจิตแพทย์จะดีที่สุด เพื่ออาหารผ่อนคลาย บรรเทา ลดความเครียดกังวลที่อาจมีผลกระทบตามมาได้ 
สต็อกโฮล์มซินโดรม (Stockholm Syndrome) ไม่ใช่อาการป่วยทางจิต แต่เป็นปฎิกิริยาสะท้อนอารมณ์อีกขั้ว HealthServ

Wikipedia


กลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม (อังกฤษ: Stockholm syndrome) เป็นคำอธิบายถึงอาการอย่างหนึ่งที่ตัวประกันเกิดความสัมพันธ์ทางใจกับผู้ลักพาตัวในระหว่างการถูกกักขัง ความสัมพันธ์ทางอารมณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างผู้จับกับเชลยในช่วงเวลาที่ได้ใกล้ชิดกัน แต่นี่อาจถือได้ว่าไม่มีสัญญาณด้านอันตรายหรือเกิดความเสี่ยงอันตรายต่อเหยื่อ กลุ่มอาการสต็อกโฮล์มไม่อยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต เนื่องจากขาดการวิจัยเชิงวิชาการ กลุ่มอาการนี่พบเห็นได้ยาก จากข้อมูลของระบบฐานข้อมูลการจับตัวประกัน ของสำนักงานสอบสวนกลาง และ Law Enforcement Bulletin ประเมินว่าพบการลักพาตัวประเภทนี้น้อยกว่า 5%
 
คำนี้มีการใช้ครั้งแรกโดยสื่อมวลชนในปี ค.ศ.1973 เมื่อมีการจับตัวประกัน 4 คนระหว่างการปล้นธนาคาร ที่สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตัวประกันได้ปกป้องผู้จับตัวพวกเขาหลังถูกปล่อยตัวและยังไม่ยอมเป็นพยานต่อศาลด้วย
 
สี่องค์ประกอบสำคัญที่แสดงคุณลักษณะของกลุ่มอาการสต็อกโฮล์ม คือ
  • ตัวประกันมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้จับตัว
  • ไม่มีความสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ระหว่างตัวประกันและผู้จับตัว
  • ตัวประกันไม่ให้ความช่วยเหลือต่อตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐบาล (เว้นแต่ผู้จับตัวจะถูกตำรวจบังคับ)
  • ตัวประกันเห็นถึงมนุษยธรรมในผู้จับตัว เพราะพวกเขาไม่ได้ถูกคุกคาม เพียงอยู่ในฐานะเป็นผู้บุกรุก

Ref 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด