ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถาบันวัคซีนแห่งชาติเผย ย้ำ! ว่าวัคซีนมีความปลอดภัย ทั้งองค์การอนามัยโลกและสหภาพยุโรป (EU) รับรอง

สถาบันวัคซีนแห่งชาติเผย ย้ำ! ว่าวัคซีนมีความปลอดภัย ทั้งองค์การอนามัยโลกและสหภาพยุโรป (EU) รับรอง HealthServ.net
สถาบันวัคซีนแห่งชาติเผย ย้ำ! ว่าวัคซีนมีความปลอดภัย ทั้งองค์การอนามัยโลกและสหภาพยุโรป (EU) รับรอง ThumbMobile HealthServ.net

สถาบันวัคซีนแห่งชาติเผย ย้ำ! ว่าวัคซีนมีความปลอดภัย ทั้งองค์การอนามัยโลกและสหภาพยุโรป (EU) รับรอง

สถาบันวัคซีนแห่งชาติเผย ย้ำ! ว่าวัคซีนมีความปลอดภัย ทั้งองค์การอนามัยโลกและสหภาพยุโรป (EU) รับรอง HealthServ
สถาบันวัคซีนแห่งชาติเผย การผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในไทยมีความก้าวหน้า ย้ำ! ทั้งองค์การอนามัยโลกและสหภาพยุโรป (EU) ให้การรับรองแล้วว่าวัคซีนมีความปลอดภัย
 
          สถาบันวัคซีนแห่งชาติเผยความก้าวหน้าในการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ มีความก้าวหน้าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ พร้อมทั้งอัพเดตข้อมูลประเด็นความปลอดภัยของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยให้ข้อมูลว่า ทั้งองค์การอนามัยโลก และหน่วยงานกำกับคุณภาพยาของสหภาพยุโรป (EU) มีข้อแนะนำให้แต่ละประเทศดำเนินการฉีดวัคซีนต่อไป ภายหลังจากคณะผู้เชี่ยวชาญได้ทำทบทวนข้อมูลด้านความปลอดภัยแล้ว ระบุว่าไม่พบความเกี่ยวข้องกับกรณีการเกิดลิ่มเลือดภายหลังการฉีดวัคซีนตามที่เป็นข่าว
 
         นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เผยว่า การผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในไทย มีความก้าวหน้าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยการดำเนินการผลิตวัคซีนของสยามไบโอไซเอนซ์ได้รับการควบคุมคุณภาพอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญของแอสตร้าเซนเนก้าให้เป็นไปตามมาตรฐานของบริษัท นอกจากนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการติดตามความก้าวหน้าของการผลิตวัคซีนจากการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
 
         ปัจจุบัน สยามไบโอไซเอนซ์ ได้ทยอยผลิตวัคซีนตั้งแต่ระดับต้นน้ำแล้วจำนวน 5 รุ่นการผลิต และอยู่ระหว่างการส่งตรวจคุณภาพวัคซีนที่ผลิตได้ ณ ห้องปฏิบัติการ อ้างอิงในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา พร้อมกันนี้ หน่วยงานควบคุมกำกับในประเทศ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ได้มีการติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในการดำเนินการ และสามารถส่งมอบวัคซีนได้ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งกำหนดการส่งมอบวัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้าให้แก่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อยู่ในช่วงกลางปี 2564 โดยจะทยอยส่งมอบในอัตราเดือนละ 5-10 ล้านโด๊ส จนครบ 61 ล้านโด๊ส ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนการฉีดวัคซีนของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
 
        ทั้งนี้ สยามไบโอไซเอนซ์เป็นบริษัทผู้ผลิตยาและชีววัตถุ ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 25 ฐานการผลิตวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยเป็นโรงงานที่ได้รับการเสริมศักยภาพจากที่มีอยู่เดิม ไม่ใช่การสร้างโรงงานใหม่ตามที่มีหลายฝ่ายเข้าใจ โดยสยามไบโอไซเอนซ์ได้รับการประเมินจากแอสตร้าเซนเนก้า ตั้งแต่ปลายไตรมาสที่สองของปี 2563 ภายใต้การพิจารณาองค์ประกอบหลายด้าน ได้แก่ ด้านศักยภาพและความเชี่ยวชาญของบุคลากร ความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์การผลิต การผ่านการรับรองมาตรฐานและคุณภาพการผลิตระดับสากล ฯลฯ และได้รับการคัดเลือกเป็นฐานการผลิตวัคซีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเดือนกันยายน 2563 โดยเริ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีในราวต้นเดือนตุลาคม 2563 จนสามารถเริ่มการผลิตจริงในราวกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
 
      สำหรับประเด็นชะลอการใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากมีรายงานการเกิดภาวะการเกิดลิ่มเลือดภายหลังการฉีดวัคซีนซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบที่ประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์นั้น องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานกำกับคุณภาพยาของสหภาพยุโรป (EU) ได้ให้การยืนยันว่า วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับวัคซีนจากบริษัทอื่นที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าได้มีการฉีดให้กับประชาชนในสหราชอาณาจักรแล้ว มากกว่า 16 ล้านโดส จากข้อมูลไม่พบความกังวลด้าน ความปลอดภัยของวัคซีน จึงมีข้อแนะนำให้แต่ละประเทศดำเนินการฉีดวัคซีนต่อไปได้ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้พิจารณาเริ่มการฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าตามข้อแนะนำของหน่วยงานข้างต้น พร้อมกับการวางมาตรการติดตามด้านความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชนไทย
 
          ส่วนการจัดหาวัคซีนอื่นที่จะนำมาฉีดให้แก่ประชาชนเฉพาะในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2564 นั้น กระทรวงสาธารณสุขได้จัดหาวัคซีนจากบริษัท ซิโนแวค ประเทศจีน จำนวน 2 ล้านโดส เพื่อใช้ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การระบาดของโรค ส่วนการส่งมอบวัคซีนล่าช้ากว่าแผนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่วัคซีนมีจำนวนจำกัด ขณะที่ความต้องการวัคซีนมีสูงมาก และประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศได้ทำการจองซื้อวัคซีนล่วงหน้าในจำนวนที่มากกว่าประชากรในประเทศหลายเท่าตัว ทั้งนี้การจัดหาวัคซีนโควิด 19 ในช่วงที่มีภาวะฉุกเฉิน มีการแปรเปลี่ยนของสถานการณ์อย่างมาก ทั้งในส่วนที่จะมีวัคซีนใหม่ๆ ทยอยประกาศผล ประเทศไทยจะสามารถพิจารณาจัดหาวัคซีนเพิ่มได้อย่างเหมาะสม และในส่วนที่มีการรายงานเชื้อกลายพันธุ์ที่อาจส่งผลต่อการใช้วัคซีนที่ผลิตรุ่นแรก การที่ประเทศไทยในเวลานี้สามารถวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนได้ตั้งแต่ต้นน้ำ จะเป็นหลักประกันอันดีว่าเราจะสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ในเวลาที่เหมาะสมและสามารถพึ่งพาตนเองในการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ทั้งในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 และโรคติดต่ออุบัติใหม่ในอนาคตได้
 
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ
15 มีนาคม 2564
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด