ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จักสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร 37 แห่ง

รู้จักสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร 37 แห่ง HealthServ.net
รู้จักสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร 37 แห่ง ThumbMobile HealthServ.net

รู้หรือไม่ กรุงเทพมหานครมีสวนสาธารณะถึง 37 แห่งกระจายอยู่ใน 23 เขต มีสวนสาธารณะแห่งใหม่เกิดขึ้นหลายแห่งจากการพัฒนาของกทม. มีที่ไหนบ้างไปสำรวจกันดู

 


สวนฯ กรุงเทพมหานคร 37 แห่ง 

สำหรับสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร จำนวน 37 แห่ง ได้แก่
  1. สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ
  2. สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร
  3. สวนลุมพินี เขตปทุมวัน
  4. สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม
  5. สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร
  6. สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย
  7. สวนจตุจักร เขตจตุจักร
  8. สวนวารีภิรมย์ เขตคลองสามวา
  9. สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 7 รอบ เขตบางบอน
  10. สวนนวมินทร์ภิรมย์ เขตบึงกุ่ม
  11. สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค
  12. สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ
  13. สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน
  14. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา
  15. สวน 60 พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง
  16. สวนพระนคร เขตลาดกระบัง
  17. สวนวนธรรม เขตประเวศ
  18. สวนหนองจอก เขตหนองจอก
  19. สวนวัชราภิรมย์ เขตบางเขน
  20. สวนสิริภิรมย์ เขตมีนบุรี
  21. สวนวนาภิรมย์ร่มเกล้า เขตลาดกระบัง
  22. อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย
  23. สวนรมณีนาถ เขตพระนคร 
  24. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม
  25. สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด
  26. สวนสราญรมย์ เขตพระนคร
  27. สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (บางกอกน้อย) เขตบางกอกน้อย
  28. สวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 เขตลาดพร้าว
  29. สวน 50 พรรษา มหาจักรีสิรินธร เขตประเวศ
  30. สวนสันติภาพ เขตราชเทวี
  31. สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (สาทร) เขตสาทร
  32. สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง
  33. สวนพระยาภิรมย์ เขตมีนบุรี
  34. สวนสาธารณะสันติชัยปราการ เขตพระนคร
  35. สวนราษฎร์ภิรมย์ เขตหนองจอก
  36. สวนจรัญภิรมย์ เขตบางพลัด
  37. สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ เขตบางกอกน้อย 

สวนหลวง ร.9 พื้นที่ 500 ไร่

สวนหลวง ร.9 พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ อยู่ในแขวงหนองบอน เขตประเวศ เป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร สร้างเพื่อน้อมเกล้าถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 ในศุภมงคลสมัยเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เปิดให้บริการเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 มีจุดเด่นคือ หอรัชมงคล ซึ่งจัดเป็นสัญลักษณ์สำคัญของสวนหลวง ร.9  สวนหลวง ร.9 เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 05.00 - 19.00 น. [ภาพ Supanut Arunoprayote Wikipedia]

สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) พื้นที่ 375 ไร่

สวนวชิรเบญจทัศ หรือที่นิยมเรียกกันด้วยชื่อเดิมว่า สวนรถไฟ แต่เดิมเคยเป็นสนามกอล์ฟรถไฟ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับเปลี่ยนมาเป็นสวนสนรถไฟ พร้อมกับชื่อพระราชทานว่า สวนวชิรเบญจทัศ เมื่อ 28 กรกฎาคม 2545 ครอบคลุมเนื้อที่ 375 ไร่ ภายในสวนมีพื้นที่นันทนาการหลายรูปแบบ อาทิ เลนจักรยาน อุทยานผีเสื้อและแมลง สวนชุมชนรถไฟ สวนป่าใหญ่ในเมือง เมืองจราจรจำลอง สวนปิกนิก ฟ้าใสไม้สวย หอจดหมายเหตุพุทธทาส หรือสวนโมกข์กรุงเทพ 

สวนลุมพินี เนื้อที่ 360 ไร่

สวนลุมพินี เนื้อที่ 360 ไร่ เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงเทพ กำเนิดจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 6 เมื่อปี 2468 ทรงพระราชทานที่ดินบริเวณทุ่งศาลาแดงถัดจากพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกไป เพื่อจัดงาน สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ เมื่อแรกเริ่ม และจัดทำเป็นสวนพฤษชาติต่อเพื่อให้ประชาชนได้ใช้พื้นที่ พักผ่อน ในระยะต่อมา ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 04.30 – 21.00 น. 

สวนป่าเบญจกิติ (สวนเบญจกิติ) เนื้อที่ 300 ไร่

สวนเบญจกิติ เนื้อที่ 300 ไร่  ตั้งอยู่ที่ ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย จัดเป็นสวนสาธารณะระดับย่าน แรกเริ่มเกิดจากพัฒนาพื้นที่โดยรอบบึงยาสูบเดิม ชื่อสวนเบญจกิติได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ มาทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ปรับปรุงให้กลายเป็น "สวนป่าเบญจกิติ" เป็นสวนป่ากลางเมืองแห่งแรกและแห่งเดียว เพิ่มเฉลิมวโรกาสครบ 7 รอบสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (เมื่อปี 2559)  มีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 สิงหาคม 2565
[ภาพ Supanut Arunoprayote Wikipedia ]

สวนเสรีไทย เนื้อที่ 350 ไร่

สวนเสรีไทย เนื้อที่ 350 ไร่ เดิมเรียกว่า สวนน้ำบึงกุ่ม อยู่ในหมู่บ้านสหกรณ์ ซ.เสรีไทย 57 เขตบึงกุ่ม เริ่มมีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะตั้งแต่ปี 2528 และเปิดใช้งานมาจนกระทั่งเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2540 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นสวนเสรีไทย อย่างเป็นทางการ ตรงกับวันครบรอบ 52 ปี การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นการรำลึกถึงขบวนการเสรีไทย ที่กอบกู้ประเทศในมิให้ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จุดเด่นในสวนเสรีไทย อาทิ อาคารเสรีไทยอนุสารณ์ สวนน้ำขนาดใหญ่มีเกาะกลางน้ำ สวนป่า 3 สวน ลานดอกไม้หอม และลานไม้ผล

สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เนื้อที่ 15 ไร่

สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เนื้อที่ 15 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ถนนเวฬุวนาราม เขตดอนเมือง เดิมเรียกว่า สวนป่าสีกัน สำนักงานเขตดอนเมืองได้รับมอบจากกระทรวงมหาดไทย เมื่อ 14 กรกฎาคม 2540 และปรับปรุงใหม่ เปิดให้บริการเมื่อวันที่13 มิถุนายน 2548 กับชื่อพระราชทาน "รมณีย์ทุ่งสีกัน" ในสวนมีจุดเด่น อาทิ หอนาฬิกา อัฒจันทร์กลางแจ้ง บึงน้ำ ทางเดินออกกำลังกาย ศาลา ทางเดินริมยน้ำและสะพาน เปิดให้บริการทุกวัน 05.00 น. - 21.00 น. 

สวนธนบุรีรมย์ เนื้อที่ 63 ไร่

สวนธนบุรีรมย์ เนื้อที่ 63 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนพุทธบูชา เขตบางมด เดิมเป็นสวนผลไม้และทุ่งหญ้า เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เช่าพื้นที่โดยกรุงเทพมหานครเพื่อทำเป็นสถานที่เพาะชำต้นไม้บางมด  จนเมื่อปี 2511 พระยามไหสวรรย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครธนบุรีในสมัยนั้น เห็นว่าพื้นที่นี้เหมาะสม จึงได้จะทำเป็นสวนสาธารณะ ให้กับประชาชนในพื้นที่ธนบุรี พร้อมกับชื่อใหม่ว่า สวนธนบุรีรมย์ เป็นสวนสาธารณแห่งแรกในเขตธนบุรี 
    จุดเด่นในสวนธนบุรีรมย์ อาทิ ศาลาชมวิวดูนก บึงน้ำ สวนดอกไม้หายาก อาคารเพาะชำต้นไม้ ไม้ดอก สวนจราจรเยาวชนธนบุรีรมย์

สวนนวมินทร์ภิรมย์ เนื้อที่ 76 ไร่

สวนนวมินทร์ภิรมย์ เนื้อที่ 76 ไร่ ตั้งอยู่ ถนนศรีบูรพา เขตบึงกุ่ม เดิมเป็นพื้นที่ทะเลสาบเคหะชุมชนคลองจั่น (บึงลำพังพวย) ใช้เป็นพื้นที่รับน้ำตามโครงการแก้มลิง กรุงเทพมหานครได้ปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะ และเปิดให้บริการเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2553 พร้อมชื่อใหม่ "สวนนวมินทร์ภิรมย์"เปิดให้บริการทุกวัน  05.00 น. - 21.00 น. จุดเด่นในสวน อาทิ ลานไทเก็ก ลานเวทีกลางแจ้ง ลานแอโรบิก สถานีออกกำลังกาย ทางเดินทางวิ่งที่ยาวถึง 2000 เมตร ตามลักษณะของพื้นที่ที่บึงที่วางขนาบไปกับถนนศรีบูรพายาวกว่า 2 กิโลเมตร

สวนรมณีนาถ เนื้อที่ 29 ไร่

สวนรมณีนาถ เนื้อที่ 29 ไร่ ถนนศิริพงษ์ เขตพระนคร เดิมเป็นเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เรียกว่า คุกกองมหันตโทษ สร้างมาแต่สมัยร.5  ครั้นเมื่อปี 2534 กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบให้ย้ายเรือนจำออกไป เพื่อใช้พื้นที่สร้างเป็นสวนสาธารณะถวายเทิด พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุ 60 พรรษาในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 เปิดให้ใช้บริการได้เมื่อ 17 สิงหาคม 2542 ในการปรับปรุงครั้งนั้นมีการรื้อถอนอาคารบางส่วนออกไป แต่ยังคงอาคารบางส่วนซึ่งกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่แห่งนี้ อาทิ แนวรั้วกำแพงเรือนจำ ป้อมยาม 5 ป้อม 4 มุมของสวน และ 1 ป้อม กลางน้ำพุ ซุ้มทางเข้า อาคารพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ และประติมากรรมสังข์สัมฤทธิ์ ตั้งอยู่กลางสระน้ำพุเฉลิมพระเกียรติ เปิดให้บริการทุกวัน 05.00 -21.00 น.  พิพิธภัณฑ์เปิดวันอังคาร-เสาร์ เวลา 08.30-16.30 น. 

สวนสราญรมย์ เนื้อที่ 23 ไร่

 สวนสราญรมย์ เนื้อที่ 23 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ถนนราชินี เขตพระนคร เดิมคือ พระราชอุทยานสราญรมย์ ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวัง สวนสราญรมย์ก่อสร้างปี 2417 ในสมัยร.5 เพื่อให้เป็นสวนพฤษศาสตร์ รวบรวมพันธุ์ไม้แปลกๆ ตามอย่างต่างประเทศ กระทั่งปี 2503 รัฐบาลได้มอบสวนสราญรมย์ให้กรุงเทพมหานคร ปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะแก่ประชาชนทั่วไป จนถึงปัจจุบัน จุดเด่นในสวนสราญรมย์ อาทิ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์  อาคารสโมสรคณะราษฎร์สราญรมย์ เรือนกระจก ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง  
สวนสราญรมย์ เปิดให้บริการทุกวัน 05.00 -21.00 น.

สวนสันติภาพ พื้นที่ 20 งาน

สวนสันติภาพ เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็กเพียง 20 งาน  สร้างขึ้นบนที่ดินซึ่งกทม.เช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยจัดเป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในใจกลางเมือง ลักษณะเป็นสวนป่าที่ร่มรื่น ด้วยความหลากหลายของไม้ยืนต้น ไม้ดอกนานาชนิด  ชื่อ "สวนสันติภาพ" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงวันสิ้นสุดสงครามโลก ครั้งที่ 2 คือวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ซึ่งถือเป็นวันสันติภาพของมนุษย์ตัวอักษรที่เป็นชื่อสวนแห่งนี้นำมาจากลายมือของท่านพุทธทาสภิกขุ จุดเด่นของสวนแห่งนี้ก็คือประติมากรรมนกคาบช่อมะกอก ซึ่งแทนสื่อสันติภาพของโลก โดยนำมาจากผลงานของ ปิกัสโซ (Picasso) ศิลปินชาวสเปน เปิดให้บริการทุกวัน 05.00 -21.00 น.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด