ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 6 พบปัจจัยเสี่ยงน่ากังวล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

สำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 6 พบปัจจัยเสี่ยงน่ากังวล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น HealthServ.net

ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งนี้ พบว่าบางปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ภาวะอ้วน ภาวะเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น ฯลฯ

สำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 6 พบปัจจัยเสี่ยงน่ากังวล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ThumbMobile HealthServ.net
บทคัดย่อสำหรับผู้บริหาร
การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563 
 
 
การสำรวจสุขภาพประชาชน ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563 นี้ดำเนินการโดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีโดยความร่วมมือจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและกระทรวงสาธารณสุข วัตถุประสงค์หลักของการสำรวจฯ คือ แสดงความชุกของโรคและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญ การกระจายตามเพศและกลุ่มอายุในระดับประเทศ ภาคและเขตการปกครองตัวอย่างแบบ multi-stage random sampling จากประชาชนไทยที่อาศัยใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ และกรุงเทพฯ อายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 23,760 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนาม เมื่อสิงหาคม 2562 - ตุลาคม 2563 ผลการสำรวจได้ผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 22,698 คน คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 95.5 ผลการสำรวจในกลุ่มสุขภาพผู้ใหญ่ วัยแรงงานและสูงอายุมีดังนี้
 

พฤติกรรมสุขภาพ

 
การสูบบุหรี่

1. ความชุกของการสูบบุหรี่ในประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป
สูบในปัจจุบันร้อยละ 18.7 (ชายร้อยละ 35.5และหญิงร้อยละ 2.8)
สูบบุหรี่เป็นประจำร้อยละ 15.2 (ชายร้อยละ 29.5 และหญิงร้อยละ 1.8)

การสูบเป็นประจำตามกลุ่มอายุ
ในเพศชายความชุกเริ่มตั้งแต่ร้อยละ 30.7 ในกลุ่มอายุ 15 - 29 ปี
และเพิ่มขึ้นตามอายุสูงสุดในกลุ่มอายุ 30 - 44 ปี ร้อยละ 37.6
ความชุกลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

อย่างไรก็ตามพบว่า หนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุชาย ยังคงสูบบุหรี่อยู่

ส่วนในเพศหญิง ความชุกของการสูบบุหรี่สูงในวัยผู้สูงอายุ โดยสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 3.6)

2. ความชุกของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
เคยใช้ร้อยละ 3.5 (ชายร้อยละ 6.7 หญิงร้อยละ 0.5)
ผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าใน 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 1.0 (ชายร้อยละ 1.9 หญิงร้อยละ 0.3)
กลุ่มอายุที่ใช้มากที่สุดคือ 15 - 29 ปีร้อยละ 3.6 (ชายร้อยละ 5.8 หญิงร้อยละ 1.2)

3. ใน 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 69.9 ของคนที่ไม่สูบบุหรี่ได้รับควันบุหรี่มือสอง

4. เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจสุขภาพประชาชนครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่าร้อยละการสูบบุหรี่ลดลง

จากการสำรวจฯครั้งที่ 5 คือผู้ชายสูบบุหรี่เป็นประจำลดลงจากร้อยละ 31.1เป็นร้อยละ 29.5 ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เป็นประจำคงเดิม คือร้อยละ 1.8 จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบในผู้ชายลดลงจากเฉลี่ยวันละ 11.2 มวน เป็นวันละ 9.7 มวน และในผู้หญิงลดจากเฉลี่ยวันละ 7.7 มวน เป็นวันละ 5.7 มวน สัดส่วนของคนที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่มือสองลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 72.6 ในการสำรวจฯครั้งที่ 5 ปี 2557 เป็นร้อยละ 69.9 ในการสำรวจฯครั้งนี้
 
 
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

5. ความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไป
การดื่มใน 12 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 44.6 (ชายร้อยละ 59.0 หญิงร้อยละ 31.0)
ความชุกการดื่มใน 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 32.5 (ชายร้อยละ 47.3 หญิงร้อยละ 18.6)

6. ความชุกของการเสี่ยงต่อการติดสุรา
พบว่าเป็นแบบเสี่ยงติดสุรา (alcohol dependence) ร้อยละ 0.7
แบบอันตราย (harmful use) ร้อยละ 1.6
แบบเสี่ยง (hazardous drinker) ร้อยละ 12.9
และแบบเสี่ยงต่ำ (low risk drinker) ร้อยละ 84.7

7. เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจสุขภาพประชาชนครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563 นี้กับการสำรวจฯ
ครั้งที่5 พ.ศ. 2557 พบว่า สัดส่วนของประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไปที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์ใน 12 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น มีร้อยละ 44.6 (ชายร้อยละ 59.0 และหญิงร้อยละ 31.0) ซึ่งเพิ่มจากการสำรวจฯครั้งที่ 5 มีร้อยละ 38.9 (ชายร้อยละ 55.9 และหญิงร้อยละ 23.0)

8. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก (binge drinking) ใน 30 วันที่ผ่านมา พบว่าการสำรวจฯ ครั้งที่ 6
นี้มีร้อยละ 12.9 (ชายร้อยละ 18.0 หญิงร้อยละ 8.2) สำหรับการสำรวจฯครั้งที่ 5 มีร้อยละ 10.9 (ชายร้อยละ 19.4, หญิงร้อยละ 2.9)
 
 
กิจกรรมทางกาย

9. สัดส่วนของประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอมีร้อยละ30.9 (ชายร้อยละ28.9
และหญิงร้อยละ 32.7)

10. การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ มีมากในกลุ่มผู้สูงอายุพบร้อยละ 43.4 ในกลุ่มอายุ 70-79 และมากที่สุด
ในกลุุ่มมอายุ 80 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 61.4 สัดส ่วนของคนในเขตเทศบาลที่มีกิจกรรมทางกายไม ่เพียงพอมีมากกว่า คนนอกเขตฯ (ร้อยละ 36.1 และ 28.0 ตามลำดับ)

11. กลุ่มอาชีพที่มีลักษณะการทำงานไม่ต้องใช้แรงกายมากเช่น งานเสมียน นักวิชาการผู้บริหารและไม่มีอาชีพ
ซึ่งรวมแม่บ้านมีความชุกของการมีกิจกรรมยามว่างระดับปานกลางขึ้นไปร้อยละ 16 - 30

12. เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจสุขภาพฯ ครั้งที่ 5 เมื่อปี2557 พบว่า ผลการสำรวจครั้งที่ 6 นี้พบสัดส่วน
ของประชาชนไทยที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเพิ่มมากกว่าผลการสำรวจสุขภาพฯครั้งที่5เมื่อปี2557(ชายร้อยละ 18.4 และหญิงร้อยละ 20.0)
 

พฤติกรรมการกินอาหาร

13. ประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไปร้อยละ 73.0 กินอาหารครบ 3 มื้อต่อวัน กลุ่มอายุที่กินครบ 3 มื้อน้อยที่สุด
คือ 15 - 29 ปีมีร้อยละ 64.0 ซึ่งน้อยกว่าผลการสำรวจปี2557 (ร้อยละ 76.0 และ 69.9 ตามลำดับ)

14. พฤติกรรมการกินอาหารในวันทำงาน ประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 86.0 กินอาหารมื้อเย็น
ที่ทำกินเองที่บ้าน ในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ประมาณหนึ่งในสี่ของประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปกินอาหารนอกบ้านอย่างน้อย 1 มื้อโดยนิยมอาหารตามสั่งและอาหารซื้อจากตลาด เมื่อเทียบกับปี2557 สัดส่วนการกินอาหารในบ้านและนอกบ้านไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
 
 
การกินผักผลไม้

15. ประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 27.8 กินผักปริมาณต่อวันเพียงพอ (≥ 3 ส่วนมาตรฐานต่อวัน)
(ชายร้อยละ 26.9 และหญิงร้อยละ 28.8)
ร้อยละ 23.4 กินผลไม้ปริมาณต่อวันเพียงพอ (≥ 2 ส่วนมาตรฐานต่อวัน) (ชายร้อยละ 20.5 และหญิงร้อยละ 26.1)
 
16. ประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 21.2 กินผักและผลไม้ปริมาณต ่อวันเพียงพอตามข้อแนะนำ (รวม ≥ 5 ส่วนมาตรฐานต่อวัน) (ชายร้อยละ 19.7 และหญิงร้อยละ 22.7)
กลุ่มอายุ15 - 59 ปี ร้อยละ 18.9 - 23.3 กินผักและผลไม้เพียงพอ สัดส่วนนี้ลดลงในผู้สูงอายุ ≥ 60 ปีและลดลงต่ำสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 16.5)
 
การกินผักและผลไม้เพียงพอของคนในเขตเทศบาลและนอกเขตฯ มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน เมื่อพิจารณาตามภาค พบว่า
ภาคใต้มีการกินผักและผลไม้เพียงพอมากที่สุด (ร้อยละ 33.0)
รองลงมาคือ กรุงเทพฯ (ร้อยละ 21.8)
ส่วนภาคอื่น มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน อยู่ในช่วงร้อยละ 18.5 - 19.6
 
17. เมื่อเปรียบเทียบกับการกินผักผลไม้ในการสำรวจสุขภาพฯ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ในการสำรวจฯครั้งที่ 6 นี้
สัดส่วนการกินผักและผลไม้อย่างเพียงพอลดลง โดยในปี2557 มีร้อยละ 25.9 (ผู้ชาย และผู้หญิง ร้อยละ 24.1 และ27.6 ตามลำดับ)
 

การใช้ยาและอาหารเสริม

18. ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 1.9 กินยาแก้ปวดทุกวัน (หญิงร้อยละ 2.1
และชายร้อยละ 1.7) และสัดส่วนการกินยาแก้ปวดเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในเขตฯและนอกเขตเทศบาลมีสัดส่วน การกินยาแก้ปวดใกล้เคียงกัน กรุงเทพฯ และภาคกลางมีร้อยละของคนกินยาแก้ปวดมากกว ่าภาคอื่นเล็กน้อย (ร้อยละ 2.8 และ 3.3 ตามลำดับ)

19. ใน 6 เดือนที่ผ่านมา ประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 2.9 กินยาคลายเครียดหรือยานอนหลับ
เป็นประจำ (รวมเมื่อมีอาการและไม่มีอาการ) โดยผู้หญิงมีร้อยละของการกินยาดังกล่าวสูงกว่าผู้ชาย (ร้อยละ 3.4 และ 2.5 ตามลำดับ) คนในเขตเทศบาลมีความชุกการกินยาคลายเครียดหรือยานอนหลับสูงกว่าคนนอกเขตฯ เล็กน้อย (ร้อยละ 3.1 และ 2.8 ตามลำดับ) กรุงเทพฯ มีสัดส่วนการกินยาดังกล่าวสูง (ร้อยละ 3.9) รองลงมาคือภาคกลาง (ร้อยละ 3.6) และภาคเหนือ (ร้อยละ 3.3)

 20. ใน 6เดือนที่ผ่านมา ประชาชนไทยร้อยละ8.2กินยาสมุนไพรเป็นประจำ และสัดส่วนในหญิงมากกว่าชาย
(ร้อยละ 8.4 และ 8.1 ตามลำดับ)

21. ใน 30 วันที่ผ่านมา ประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20.1 เคยกินอาหารเสริม โดยชายมากกว่าหญิง
(ร้อยละ 20.5 และ 19.8 ตามลำดับ) นอกจากนี้ประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 0.8 กินยาลดความอ้วน
โดยความชุกสูงที่สุดในผู้หญิงอายุ15 - 29 ปีมีร้อยละ 3.3

การเปรียบเทียบกับผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่5ความชุกของการใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำทุกวัน
ของการสำรวจครั้งนี้(ชายร้อยละ 1.7 และหญิง 2.1) ต่ำกว่าผลสำรวจฯครั้งที่ 5 (ซึ่งพบชายร้อยละ 2.0 หญิง 2.7)

ส่วนการใช้ยาคลายเครียดและยานอนหลับนั้นพบว่า มีการใช้ยาเป็นประจำใน 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 2.9 ซึ่งมากกว่า ปี2557 เล็กน้อย
 

ภาวะอ้วน

22. ความชุกของภาวะอ้วน (BMI ≥ 25 kg/m2) ในประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 42.2 (ชายร้อยละ
37.8 และหญิงร้อยละ 46.4) ความชุกในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตฯ (ในชายร้อยละ 41.5 และ 35.9 ในหญิงร้อยละ 47.8 และ 45.5 ตามลำดับ) โดยผู้ชายในภาคกลางและกรุงเทพฯมีสัดส่วนสูงสุด สำหรับผู้หญิงทุกภาคมีสัดส่วนไม่ต่างกันมาก
 
23. ความชุกของภาวะอ้วนลงพุง (รอบเอว ≥ 90 ซม. ในชาย และ ≥ 80 ซม. ในหญิง) มีร้อยละ 27.7 ในผู้ชาย
และร้อยละ 50.4 ในผู้หญิง ความชุกในเขตเทศบาล (ชายร้อยละ 33.6 และหญิงร้อยละ 55.4) สูงกว่านอกเขตเทศบาล (ชายร้อยละ 24.6 และหญิง ร้อยละ 47.7)
 
24. เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจฯ ครั้งที่ 5 เมื่อปี2557 ความชุกของภาวะอ้วน(BMI ≥25 kg/m2
) มีแนวโน้มสูงขึ้นอย ่างชัดเจน โดยเฉพาะในผู้หญิงความชุกเพิ่มจากร้อยละ 41.8 ในปี2557 เป็นร้อยละ 46.4
ส่วนในผู้ชายเพิ่มจากร้อยละ 32.9 เป็น ร้อยละ 37.8 ในการสำรวจปัจจุบัน ภาวะอ้วนลงพุงในผู้ชายมีความชุกเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 26.0 เป็นร้อยละ 27.7 ส่วนในผู้หญิงค่อนข้างคงเดิม โดยมีร้อยละ 51.3 ในปี2557 และร้อยละ 50.4 ในการสำรวจครั้งที่ 6 นี้


โรคเบาหวาน

25. ความชุกของโรคเบาหวานวัดโดยประวัติและ fasting plasma glucose (FPG) ในประชาชนไทยอายุ
15 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 9.5 ความชุกในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย (ร้อยละ 10.3 และ 8.6 ตามลำดับ) ความชุกต่ำสุดในคนอายุน้อยและเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้นและสูงที่สุดในกลุ่มอายุ60 - 69 ปีในผู้ชาย (ร้อยละ 18.6) และอายุ70 - 79 ปี ในผู้หญิง (ร้อยละ 24.6) จากนั้นความชุกลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ความชุกของคนที่อาศัยในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตเทศบาล พิจารณาตามภาค กรุงเทพฯมีความชุกสูงที่สุด (ชายร้อยละ 12.6 และหญิงร้อยละ 12.4)
 
26. ความชุกของเบาหวานวัดโดยประวัติและ HbA1c ในประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 11.0
ความชุกในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย (ร้อยละ 12.5 และ 9.5 ตามลำดับ)

27. ร้อยละ 30.6 ของผู้ที่เป็นเบาหวาน (โดยประวัติและ FPG) ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อน
ส่วนผู้ที่เป็นเบาหวานมีร้อยละ 13.9 ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 47 ของผู้เป็นเบาหวานที่ได้รับการรักษาสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดในเกณฑ์ < 130 มก./ดล. (หรือร้อยละ 26.3 ของผู้ที่เป็นเบาหวานทั้งหมด) ทั้งนี้ผู้หญิงมีสัดส่วนของการได้รับการวินิจฉัยการรักษาและการควบคุมน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ได้มากกว่าในผู้ชาย

28. เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจฯ ครั้งที่ 5 ความชุกของเบาหวาน (โดยประวัติและ FPG) ในประชาชน
อายุ15 ปีขึ้นไป ในปี2562-63 สูงกว่าความชุกในปี2557 (ซึ่งมีร้อยละ 8.9) สำหรับความครอบคลุมในการตรวจพบผู้เป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี2557สัดส่วนของผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยลดลงจากร้อยละ 43.1 เป็นร้อยละ 30.6 และในส่วนของการรักษาและสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์(FPG < 130 มก./ดล.) เพิ่มจากร้อยละ 23.5 เป็นร้อยละ 26.3
 
 
โรคความดันโลหิตสูง

29. ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง
ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 25.4 ผู้ชายร้อยละ 26.7 และผู้หญิงร้อยละ 24.2
ความชุกของโรคต่ำสุดในกลุ่มอายุ 15 - 29 ปี (ร้อยละ 3.3)
จากนั้นเพิ่มขึ้นตามอายุและสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป

ความชุกของความดันโลหิตสูงในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตฯ เล็กน้อย ภาคกลาง ภาคเหนือ
และกรุงเทพฯมีความชุกสูงใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 27.2 - 27.5) และสูงกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ (ร้อยละ 24.3 และ 21.0 ตามลำดับ)

สำหรับความครอบคลุมในการตรวจวินิจฉัยผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 57.0 ในชาย และร้อยละ 40.5
ในหญิงไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน ร้อยละ 3.5 ของคนที่เป็นความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รักษาร้อยละ 25.0 ของผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาแต่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ตามเกณฑ์ (< 140/90 มม. ปรอท) และอีกร้อยละ 22.6 ของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงได้รับการรักษาและควบคุมความดันโลหิตได้ผู้ชายมีสัดส่วนของการได้รับการวินิจฉัย รักษา และควบคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์น้อยกว่าในผู้หญิง

30. เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจฯครั้งที่5ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในปี 2562-2563 นี้สูงกว่าปี
2557 ซึ่งพบความชุกร้อยละ 24.7 (ชายร้อยละ 25.6 และหญิงร้อยละ 23.9)

แต่การเข้าถึงระบบบริการยังไม่ดีขึ้น โดยในจำนวนคนที่เป็นความดันโลหิตสูงนั้น สัดส่วนของผู้ที่ไม่ได้รับการ
วินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มจากร้อยละ44.7เป็นร้อยละ48.8สัดส่วนที่ได้รับการรักษาแต่ควบคุมไม่ได้ตามเกณฑ์เพิ่มจากร้อยละ 20.1 เป็น 25.0 และสัดส่วนของผู้ที่สามารถคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ลดลงจากร้อยละ 29.7 เป็น 22.6 ตามลำดับ
 
 
ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
 
31. ความชุกของภาวะไขมันคอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol; TC) ≥ 240 มก./ดล. ในประชาชนไทย
อายุ15 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 23.5 ความชุกในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย (ร้อยละ 25.1 และ 21.7 ตามลำดับ) ความชุกเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นและสูงสุดในกลุ่มอายุ45 - 59 ปี(ร้อยละ 30.0) จากนั้นความชุกลดลง ในเขตเทศบาลมีความชุกสูงกว่านอกเขตฯ เล็กน้อย เมื่อพิจารณาตามภูมิภาค พบว่าคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ มีความชุกของภาวะไขมันคอเลสเตอรอลรวม ≥ 240 มก./ดล. สูงที่สุด (ร้อยละ 31.6) รองลงมาคือ ภาคใต้(ร้อยละ 28.2) ภาคกลาง (ร้อยละ 26.7) และภาคเหนือ (ร้อยละ 24.1) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 16.6) ตามลำดับ

32. เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ระดับไขมันคอเลสเตอรอล
รวมของประชาชนไทยอายุ 15 ปีขี้นไป สูงขึ้น ในผู้หญิงลดจาก 199.5 มก./ดล. ในปี2557 เป็น 213.2 มก./ดล.
ในปี2562 - 2563 ในผู้ชายเพิ่มจาก 192.7 เป็น 206.8 มก./ดล. ความชุกของภาวะไขมันคอเลสเตอรอลรวมในเลือด
(≥ 240 มก./ดล.) ในผู้หญิงเพิ่มจากร้อยละ 17.7 เป็น 25.1 และในผู้ชายเพิ่มจาก ร้อยละ 14.9 เป็น 21.7 ตามลำดับ

33. ความชุกของภาวะ Metabolic syndrome ในประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับร้อยละ 25.1
(ผู้หญิงร้อยละ 27.7 และชายร้อยละ 22.5) ความชุกในเขตเทศบาลสูงกว ่านอกเขตฯ และความชุกในภาคกลางและกรุงเทพฯ สูงกว่าภาคอื่นๆ ความชุกของภาวะนี้ในการสำรวจครั้งที่ 6 นี้ต่ำกว่า ปี2557 ซึ่งพบร้อยละ 28.9 ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

34. ข้อมูลโรคเรื้อรังนี้ได้จากการสัมภาษณ์เท่านั้น ร้อยละ 1.5 ของประชาชนไทยที่มีอายุ15 ปีขึ้นไป และร้อย
ละ 1.8 ของประชาชนไทยที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป บอกว่าเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ชายและผู้หญิงมีความชุกใกล้เคียงกัน ประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 1.3 บอกว่าเคยเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ความชุกในเพศชายสูงกว่าเพศหญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 1.7 และ 0.9 ตามลำดับ) และความชุกของผู้ที่ยังมีอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาตอยู่ในขณะที่สัมภาษณ์มีร้อยละ 0.7

35. ความชุกของโรคเรื้อรังในประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่บอกว่าเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และ
บุคลากรสาธารณสุข พบว่าเป็นข้ออักเสบ ร้อยละ8.2โรคหอบหืดร้อยละ3.9โรคเกาท์ร้อยละ2.9 นิ่วทางเดินปัสสาวะร้อยละ 2.4 ไตวาย ร้อยละ 1.5 โรคลมชัก (ลมบ้าหมู) ร้อยละ 1.1 ธาลัสซีเมีย ร้อยละ 0.9 โรคเรื้อนกวางหรือสะเก็ดเงินร้อยละ 0.5 และหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง ร้อยละ 0.4

 
การมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยร่วมกัน
 
36. ความชุกของการมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายปัจจัยร่วมกัน ที่พบบ่อย 5 ปัจจัย ได้แก่
เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันคอเลสเตอรอลรวม ≥ 240 มก./ดล. สูบบุหรี่เป็นประจำ และอ้วน (BMI ≥ 25 kg/m2) พบว่า ร้อยละ 38.6 ของประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมี1 ปัจจัยเสี่ยง, ร้อยละ 23.4 มี2 ปัจจัยเสี่ยง, ร้อยละ 8.2 มี 3 ปัจจัยเสี่ยง และร้อยละ 1.1 มีตั้งแต่4 ปัจจัยเสี่ยงขึ้นไป

37. เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่5 พ.ศ.2557 พบว่าความชุกของการมีหลาย
ปัจจัยเสี่ยงในการสำรวจครั้งนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งในปี2557 ความชุกของการมีปัจจัยเสี่ยง 1, 2, 3 และ 4 ปัจจัยเสี่ยงขึ้นไปร้อยละ 36.9, 20.8, 6.9 และ 1.1 ตามลำดับภาวะซึมเศร้า
 
38. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 1.7 ความชุกในเพศหญิงมากกว่า
เพศชาย (ร้อยละ 2.2 และ 1.2 ตามลำดับ) ในผู้หญิงความชุกสูงในช่วงอายุ15 - 29 ปีมีร้อยละ 2.6 และเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุสูงสุดในกลุ่ม 70 - 79 ปีร้อยละ 3.7 และในผู้ชายสูงสุดในช่วงอายุ30 - 44 ปีมีร้อยละ 2.0 ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมีความชุกใกล้เคียงกัน เมื่อพิจารณาตามภาคผู้ชายในทุกภาคมีความชุกใกล้เคียงกัน

ส่วนในผู้หญิงพบว่ากรุงเทพฯมีความชุกสูงสุด รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตามลำดับความชุกของภาวะซึมเศร้าในการสำรวจฯครั้งที่ 6 นี้ต่ำกว่าผลสำรวจฯครั้งที่ 5 ปี2557 ซึ่งพบร้อยละ 3.0 (ชายร้อยละ 2.1 และหญิงร้อยละ 3.8)
 

ภาวะโลหิตจาง

39. ความชุกของภาวะโลหิตจางในประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไป มีร้อยละ16.2ความชุกในหญิงสูงกว่าในชาย
(ร้อยละ 21.0 และ 11.0 ตามลำดับ) ความชุกของภาวะโลหิตจางเพิ่มขึ้นตามอายุจากร้อยละ 9.8 ในกลุ่มอายุ15 - 29 ปี และเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น จนสูงสุดเท่ากับร้อยละ 54.2 ในกลุ่มอายุ ≥ 80 ปีผู้หญิงมีความชุกภาวะโลหิตจางสูงกว่าผู้ชายทุกกลุ่มอายุแต่กลุ่มอายุ80ขึ้นไป ความชุกของภาวะโลหิตจางในชายและหญิงใกล้เคียงกัน ความชุกในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลใกล้เคียงกัน ผู้ชายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความชุกสูงสุดสำหรับผู้หญิง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพฯมีความชุกสูงกว่าภาคอื่น
 
40. เมื่อเปรียบเทียบการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ความชุกของภาวะโลหิตจางใน
ประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไป ของครั้งที่ 6 ลดลง ในขณะที่ความชุกในผู้ชายลดลงจากร้อยละ 24.3 ในปี2557 เป็น 11.0 ในปี2562 - 2563 ความชุกในผู้หญิงลดลง คือจากร้อยละ 25.2 เป็น 21.0 ตามลำดับ
การบาดเจ็บ

41. ใน 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 8.3 ของประชาชนไทยอายุ15 ปีขึ้นไป รายงานว่าเคยได้รับบาดเจ็บจนต้อง
เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสัดส่วนในผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง2เท่า(ร้อยละ10.8และ5.8ตามลำดับ)กลุ่มที่มีการบาดเจ็บมากที่สุดคืออายุ15-29 ปี(ร้อยละ12.0) โดยเฉพาะผู้ชาย(ร้อยละ16.6) ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน การกระจายความชุกจำแนกตามภาคไม่มีความแตกต่างกันมากนักสาเหตุส่วนใหญ่ของการบาดเจ็บเกิดจากอุบัติเหตุจราจร
 
ผลการสำรวจฯเกี่ยวกับร้อยละของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีประวัติการบาดเจ็บใน 12 เดือนที่ผ่านมาใกล้เคียงกับผลการสำรวจฯครั้งที่ 5 ซึ่งมีร้อยละ 7.2 แต่มีสัดส่วนการบาดเจ็บจนต้องเข้านอนในโรงพยาบาลมีมากขึ้น คือจากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 6.2
 
อนามัยเจริญพันธุ์

42. อายุเฉลี่ยของสตรีไทยเมื่อเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตามกลุ่มอายุ สตรีที่มีอายุมากกว่ามีประจำเดือน
ครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่าสตรีที่มีอายุน้อยกว่า กล่าวคือกลุ่มอายุ15 - 29 ปี30 - 44 ปีและ 45 - 59 ปีเริ่มมีประจำเดือน ครั้งแรกเมื่ออายุ12.8 ปี13.6 ปีและ 14.7 ปีตามลำดับ

43. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบว่าสตรีวัย 15 - 19 ปีร้อยละ 8.2 บอกว่าเคยตั้งครรภ์ซึ่งร้อยละ 92.6 เคยคลอดบุตร

44. ใน 5 ปีที่ผ่านมา สตรีร้อยละ 2.6 เคยมีการแท้งลูก กลุ่มอายุ20 - 30 ปีมีร้อยละของการแท้งลูกสูงสุด
ร้อยละ 5.4 และสาเหตุของการแท้งทุกกลุ่มอายุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 91.2) เป็นการแท้งตามธรรมชาติรองลงมาคือทำแท้งร้อยละ 8.8 ในจำนวนนี้เป็นเหตุผลทางการแพทย์ร้อยละ 51.4 และไม่พร้อมมีบุตรร้อยละ 48.6

45. การคุมกำเนิดพบว่า มีอัตราการคุมกำเนิดร้อยละ67.3และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการคุมกำเนิดสูงสุด
ถึงร้อยละ 73.2 วิธีการคุมกำเนิดโดยการทำหมันหญิงมีสูงสุดร้อยละ 41.3 รองลงมาเป็นยาเม็ดคุมกำเนิด ร้อยละ 34.6

46. ร้อยละ 10.3 ของกลุ่มอายุ15 - 59 ปีบอกว่ามีภาวะมีบุตรยาก
 
47. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พบว่าใน 2 ปีที่ผ่านมาสตรีอายุ15-59 ปีร้อยละ47.3เคยได้รับการ
ตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยกลุ่มอายุ 30 - 44 ปีและ 45 - 59 ปีได้รับการตรวจร้อยละ 48.3 และ 57.4 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจครั้งที่ 5 เมื่อปี2557 พบว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 47.8 ใน ปี2557

48. การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยบุคลากรทางการแพทย์ใน 1 ปีที่ผ่านมาสตรีอายุ15 - 59 ปีเคยได้รับการตรวจร้อยละ 21.7 โดยกลุ่มอายุ 30 - 44 ปีและ 45 - 59 ปีได้รับการตรวจร้อยละ 20.9 และ 28.0 ตามลำดับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัย 15 - 59 ปีลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 62.6 ในปี2557 เป็นร้อยละ 61.9 ในปี 2562 - 2563

49. การตรวจแมมโมแกรมในสตรีอายุ40 - 59 ปีใน 1 ปีที่ผ่านมาเพิ่มจากร้อยละ 4.8 ในปี2557 เป็นร้อยละ
5.5 ในปี2562 - 2563 สุขภาพผู้สูงอายุ

50. สัดส่วนของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ที่ทำงานเชิงเศรษฐกิจ ร้อยละ 50.3 ชายมีร้อยละ 60.4 หญิงมี
ร้อยละ 42.3 ซึ่งมากกว่าผลการสำรวจฯ ในปี2557 ซึ่งมีร้อยละ 41.2 ชายร้อยละ 51.4 และหญิงร้อยละ 32.8
ตามลำดับ

51. สัดส่วนของผู้สูงอายุ(อายุ60 ปีขึ้นไป) ที่อยู่คนเดียว มีร้อยละ 9.5 และร้อยละ 22.3 อยู่กับคู่สมรสเท่านั้น
ซึ่งสัดส่วนของการอยู่คนเดียวและการอยู่กับคู่สมรสเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับผลการสำรวจฯ ในปี2557 ซึ่งพบร้อยละ 7.9 และ 17.6 ตามลำดับ

52. ผู้สูงอายุร้อยละ 39.4 บอกว่าตนเองมีรายได้ไม่เพียงพอ สัดส่วนนี้มากกว่าของปี2557 ซึ่งมีร้อยละ 26.7

53. 5 ใน 10คนของผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรังหรือปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ60.7โรคเบาหวาน
ร้อยละ 20.4 ไขมันในเลือดสูง (Total cholesterol>=240 มก./ดล.) ร้อยละ 23.8 อ้วน (BMI>=25 kg/m2
) ร้อยละ 38.4 อ้วนลงพุงร้อยละ 46.5 ภาวะ Metabolic syndrome 39.8 เป็นต้น


การหกล้ม
 
54. ความชุกของการหกล้มภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 15.3 (ผู้ชายร้อยละ 11.3 และผู้หญิงร้อยละ 18.5)
เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุ (60 - 69, 70 - 79 และ 80 ปีขึ้นไป)
พบความชุกของการหกล้ม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามอายุที่เพิ่มขึ้น สถานที่หกล้มส่วนใหญ่ล้มนอกบ้าน (ร้อยละ 59.8) การล้มในบ้านมีร้อยละ 40.2

ผู้สูงอายุอาศัยในเขตฯและนอกเขตเทศบาลมีความชุกของการหกล้มใกล้เคียงกัน สาเหตุของการหกล้มบ่อยที่สุดคือสะดุดวัตถุสิ่งของร้อยละ 33.6 รองลงมาคือ พื้นลื่นร้อยละ 30.7

ความชุกของหกล้มในการสำรวจฯ ครั้งที่ 6 ต่ำกว่าผลการสำรวจฯครั้งที่ 5 เมื่อปี 2557 เล็กน้อย ซึ่งพบ
ร้อยละ 16.9 (ชายร้อยละ 13.2 หญิงร้อยละ 19.9) ภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน

55. ผู้สูงอายุร้อยละ 85.9 บอกว่าสามารถดูแลตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ร้อยละ 8.6 บอกว่าต้องพึ่งพาใน
บางกิจกรรม และร้อยละ 5.5 บอกว่าต้องพึ่งพาทั้งหมด

56. การพึ่งพิงของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน 
8 กิจกรรม (ได้แก่อาบน้ำ, ล้างหน้า, แต่งตัว, กินอาหาร, ลุกจากที่นอน, ใช้ห้องน้ำ/ส้วม,การขึ้นลงบันไดและเดินในตัวบ้าน) ร่วมกับความสามารถในการกลั้นปัสสาวะ หรือการกลั้นอุจจาระผลการสำรวจพบว่า ผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรพื้นฐานด้วยตนเอง
ร้อยละ 12.8 มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมใดๆ 1 กิจกรรม
ร้อยละ 11.1 มีข้อจำกัด 2 กิจกรรม และ
ร้อยละ 4.3 มีข้อจำกัด 3 กิจกรรมขึ้นไป
 
57. เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะพึ่งพิงของการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557
พบว่า สัดส่วนที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรพื้นฐานดังนี้1กิจกรรม ร้อยละ11.4,2กิจกรรม ร้อยละ10.4และ3กิจกรรมร้อยละ 4.1 ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับผลการสำรวจครั้งนี้


การเสื่อมของอวัยวะ

58. ปัญหาสุขภาพทั่วไปอื่นๆ ที่พบในผู้สูงอายุ ได้แก่ ต้อกระจกในผู้สูงอายุร้อยละ 17.6 (ชายและหญิงมี
ร้อยละ16.1และ18.7ตามลำดับ)การมีฟัน (รวมฟันทดแทน) น้อยกว่า20ซี่ พบร้อยละ52.2 นอกจากนี้ร้อยละ26.4 ของผู้สูงอายุมีปัญหาการได้ยิน
 
ผลการสำรวจฯนี้ใกล้เคียงกับผลการสำรวจฯ ครั้งที่ 5 ซึ่งพบต้อกระจกร้อยละ 22.3 การมีฟันน้อยกว่า 20 ซี่
ร้อยละ 52.2 และมีปัญหาการได้ยินร้อยละ 24.5

 
   โดยสรุป เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 นี้กับการสำรวจครั้งที่ 5 ในปี 2557 พบว่าความชุกของบางปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ภาวะอ้วน ภาวะเบาหวาน และความดันโลหิตสูงไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น การกินผักและผลไม้เพียงพอลดลง บางปัจจัยอยู่ในสถานการณ์ดีขึ้น ได้แก่ การมีกิจกรรมทางกายเพียงพอดีขึ้น และภาวะโลหิตจางลดลงและบางปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในบางกลุ่มเช่น การสูบบุหรี่ลดลงในกลุ่มผู้ชายแต่ในผู้หญิงยังไม่ลดลง เป็นต้น ดังนั้นจึงยังมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนยังต้องร่วมกันกำหนดมาตรการดำเนินการควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยง และสร้างเสริมสุขภาพประชาชนให้มีประสิทธิผลมากขึ้น และต้องมีการสำรวจติดตามสถานะสุขภาพของประชาชนต่อเนื่องเป็นระยะๆ ต่อไป
 
 
วิชัย เอกพลากร; Wichai Aekplakorn; หทัยชนก พรรคเจริญ; Hataichanok Puckcharern; วราภรณ์ เสถียรนพเก้า; Warapone Satheannoppakao;
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด