ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สูติ-นรีเวชและโรคทางสตรี โรงพยาบาลวิภาวดี

สูติ-นรีเวชและโรคทางสตรี โรงพยาบาลวิภาวดี HealthServ.net
สูติ-นรีเวชและโรคทางสตรี โรงพยาบาลวิภาวดี ThumbMobile HealthServ.net

ให้บริการด้านสุขภาพครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษาทางสูติ-นรีเวช การรักษาภาวะการมีบุตรยาก การผ่าตัด เฉพาะสำหรับสุภาพสตรี การฝากครรภ์และการคลอดโดยทีมสูติ-นรีเวชแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการ ตลอด 24 ชั่วโมง เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 08.00 - 20.00 น. โทร.02-5611111 , 02-0581111 ต่อ 2219, 2220

สูติ-นรีเวชและโรคทางสตรี โรงพยาบาลวิภาวดี HealthServ

 

แผนกสูติ-นรีเวช

บริการ, สถานที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ การฝากครรภ์และการคลอด
 
  • ให้บริการฝากครรภ์ทั้งการตั้งครรภ์ปกติและการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง
  • การตรวจเพื่อประเมินสภาวะทารกในครรภ์ด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐานสากล
  • การตรวจวิเคราะห์เกี่ยวกับพันธุกรรมต่าง ๆ
  • การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ การเตรียมตัวก่อนคลอด หลังคลอด และการดูแล และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

แผนกวินิจฉัยก่อนคลอด

ข้อมูลแผนกวินิจฉัยก่อนคลอด
ด้วยความก้าวหน้าทางอณูพันธ์ศาสตร์ เซลพันธ์ศาสตร์ และการตรวจทางคลื่นเสียง ความถี่สูง ทำให้แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้เกือบทุกชนิด ศูนย์วินิจฉัยก่อนคลอด ของรพ.วิภาวดี มีบริการตรวจโครโมโซม ตรวจโรคทางพันธุกรรม ตรวจหาความผิดปกติต่างๆของทารกในครรภ์ และยังมีเครื่องอัลตร้าซาวด์ 4D (Ultrasound 4D )ที่จะเห็นภาพลูกรักได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
 
ศูนย์วินิจฉัยก่อนคลอด ของรพ.วิภาวดีบริการตรวจวินิจฉัยดังนี้
 
  • ระยะแรกของการตั้งครรภ์   (อายุครรภ์ 10-13 สัปดาห์) : การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจหาจำนวนทารกและ การมีชีวิตของทารกการคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม
  • ระยะที่สองของการตั้งครรภ์ (16-18 สัปดาห์) : บริการเจาะน้ำคร่ำและเลือดจากสายสะดือทารก เพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซม, โรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย
  • ระยะที่สองของการตั้งครรภ์ (20-24 สัปดาห์) : การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ (Anomaly Scan) เช่น ระบบหัวใจ, ทางเดินอาหาร, ปากแหว่ง เพดานโหว่, ระบบสมอง แขน ขา
  • .ระยะที่สามของการตั้งครรภ์ (มากกว่า 28 สัปดาห์) :  บริการตรวจหาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ สุขภาพของทารก เช่น Biophysical Profile, ปริมาณน้ำคร่ำ การไหลเวียนโลหิตในเส้นเลือดที่สายสะดือและในร่างกายของทารก (Doppler Blood Flow)
  • การตรวจหัวใจทารกในครรภ์(Fetal Echocardiography) เพื่อตรวจดูความผิดปกติและดูระบบการทำงานของหัวใจ
  • การตรวจคลื่นเสียง 4 มิติ, เพื่อดูใบหน้า ขา แขน กระดูกสันหลัง นิ้วมือทารก, หัวใจ
 

แผนกรักษาผู้มีบุตรยาก


ปัจจุบันเราพบว่าในบรรดาคู่สามีภรรยาทั้งหลาย จะมีปัญหามีบุตรยากประมาณ 15 % คือทุก 100 คู่ จะมีสามีภรรยา ที่มีปัญหามีบุตรยาก 15 คู่ ความหมาย คำว่ามีบุตรยาก ไม่ได้หมายความว่าไม่มีโอกาสมีบุตรได้ แต่หมายความว่ามีโอกาสมีบุตรน้อยกว่าปกติ หรือช้ากว่าปกติ เราพบว่าคู่สามีภรรยา ทีมีเพศสัมพันธ์กันตามปกติ สัปดาห์ละอย่างน้อย 2-3 วัน โดยไม่ได้คุมกำเนิด จะมีการตั้งครรภ์ 50 % ภายใน 5 เดือน และการตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้นเป็น 80-90 % ในเวลา 1 ปี ส่วนที่เหลือจะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยลง และจัดอยู่ในกลุ่มภาวะมีบุตรยาก
 
 
 

รู้จักศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากวิภาวดี

 
ทีมรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลวิภาวดี ได้รับการก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยทีมสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก และทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งนำทีมโดย นพ. ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล
 
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากวิภาวดี ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคาร 1 โรงพยาบาลวิภาวดี ถนนงามวงศ์วาน ใกล้สี่แยก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดให้บริการทุกวันไม่หยุด เพื่อรองรับความต้องการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการได้อย่างเต็มที่ โดยทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความชำนาญด้วยเทคนิคที่ทันสมัยครบวงจร นอกจากนี้ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากวิภาวดียังมีห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนและห้องผ่าตัดซึ่งได้รับการติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างครบถ้วน ในการช่วยให้การรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นไปอย่างสมบูรณ์  บริการยังมี การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช การทำ IVF&ICSI การเลี้ยงตัวอ่อนถึง Bladtocyst
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด