ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หนีการถูกเลิกจ้างด้วยการ Re-Skill - ดร.พนิต ภู่จินดา

หนีการถูกเลิกจ้างด้วยการ Re-Skill - ดร.พนิต ภู่จินดา HealthServ.net

บทความนี้ เขียนไว้เมื่อมกราคม 2019 ตอนนั้นยังไม่มี COVID-19 ที่นำมาสู่ The Great Resignation ที่ยุโรปและอเมริกากำลังเจออยู่ แต่ในมุมหนึ่ง ปัจจุบันมีตำแหน่งงานว่างจำนวนมาก แต่หาคนมาทำงานไม่ได้ เพราะไม่มีทักษะพอที่จะทำงานรูปแบบใหม่นั่นเอง

หนีการถูกเลิกจ้างด้วยการ Re-Skill - ดร.พนิต ภู่จินดา ThumbMobile HealthServ.net

หนีการถูกเลิกจ้างด้วยการ Re-Skill
 

เมื่อสิบกว่าปีก่อน ช่วงส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ คนวัยทำงานทั้งหลายจะหน้าตาสดชื่นรับโบนัสปลายปีและรอขึ้นเงินเดือนในปีหน้า เงินสะพัดเฉลิมฉลองปีใหม่กันเต็มที่ แต่ช่วงปีหลัง ๆ นี่กลับไม่เป็นอย่างเดิมแล้ว คนวัยทำงานหน้าตาหม่นหมอง ไม่ได้โบนัสหรือถ้าได้ก็ได้นิดเดียว เงินเดือนไม่ได้ขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่ที่น่ากลัวที่สุดคือปีหน้าจะถูกเลิกจ้างหรือเปล่า เพราะข่าวเศรษฐกิจต่างๆ ล้วนแต่มีปัจจัยลบ บริษัทใหญ่ ๆ ทั้งในและต่างประเทศเลิกจ้างกันเป็นว่าเล่น ไม่ว่าจะค่ายรถใหญ่ในอเมริกา สายการบินในยุโรป ไม่เว้นแม้แต่สถานีโทรทัศน์รายใหญ่และโมเดิร์นเทรดข้ามชาติในประเทศไทย พนักงานทั้งหลายมีความมั่นคงในการจ้างงานต่ำลงพร้อมๆ กับรายได้ที่ลดต่ำลงเมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 


แต่ถ้าพิจารณาการจ้างงานในรายละเอียด จะพบว่าหน่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่มีการจ้างงานอยู่ 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก กับ กลุ่มที่ทำงานด้านการบริการเป็นหลัก ซึ่งปรากฏการณ์ Technology Disruption จะมีผลต่อการเลิกจ้างก็เฉพาะประเภทงานที่เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนได้เท่านั้น งานประเภทที่ต้องใช้ความเป็นมนุษย์ในการผลิตและบริการยังต้องการจ้างมนุษย์อยู่อีกเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบริการต่าง ๆ ที่ต้องการความจำเพาะเจาะจงเฉพาะตัวลูกค้าแต่ละคน งานประเภทหลังนี้กลับมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะสังคมยอมรับในความต้องการที่แตกต่างกัน และพยายามผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคลเพิ่มขึ้น
 
 

 

การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป คือ การปรับทักษะของบุคลากร จากที่มีทักษะไม่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง ไปผ่านการฝึกอบรมและทดสอบจนมีทักษะใหม่ที่ตรงกับความต้องการของตลาด US Bureau of Labor Statistics ระบุไว้ว่า ทักษะการทำงานของบุคลากรจะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียวในทุก ๆ 5 ปี

ดังนั้น ในปี 2562 ที่จะมาถึงนี้ คำว่า Re-Skill หรือการปรับปรุงทักษะให้ตรงกับความต้องการของตลาดงานจึงเป็นคำสำคัญที่จะขับเคลื่อนตลาดแรงงานในอนาคต

แต่คำว่า Re-Skill มีความลึกซึ้งในตัวของมันเอง เพราะไม่ใช่การจ้างพนักงานใหม่ที่มีทักษะตรงกับความต้องการใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงทักษะของพนักงานคนเดิมให้สามารถทำงานในรูปแบบใหม่ในหน่วยงานเดิมให้ได้ การ Re-Skill มีข้อดีตรงที่พนักงานมีความคุ้นเคยและเข้าใจฐานความคิด สินค้า บริการ และระบบการทำงานของหน่วยงานเป็นทุนอยู่แล้ว การพัฒนาทักษะแบบใหม่ที่ตรงกับทิศทางขององค์กรและความต้องการของตลาดให้กับพนักงานคนเดิม ไม่ต้องเอาพนักงานคนใหม่มาปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรและลูกค้าอีกอย่างน้อย 6 เดือนกว่าจะเข้าที่เข้าทาง

ซึ่งการ Re-Skill ถูกคาดหวังไว้ว่าจะช่วยให้เกิด win-win situation ทั้งกับตัวพนักงานและองค์กร ไม่ต้องมีการเลิกจ้างให้เจ็บตัวกันทั้งสองฝ่ายและไม่ต้องปรับตัวกันใหม่มากมาย พนักงานได้ทำงานต่อไปในทักษะใหม่ และองค์กรก็ได้พนักงานคนใหม่ในตัวพนักงานคนเดิมนั่นแหละ
 

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่พนักงานทุกคนที่จะเข้าสู่การ Re-Skill ได้ อย่างน้อย ๆ ก็ต้องเป็นคนที่มีแววว่าจะปรับตัวเข้าสู่ทักษะใหม่ซึ่งเป็นที่ต้องการได้ไม่ยากนัก มีความพร้อมที่จะเปิดรับทักษะใหม่ ๆ มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร และมีความประพฤติอันเป็นที่พึงประสงค์ต่อบรรทัดฐานขององค์กร ดังนั้นถ้าพนักงานอยากไปต่อ ก็ต้องเป็นคนที่มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองและเป็นที่ยอมรับขององค์กร พวกท่านล่ะ พร้อมหรือยังครับ


ดร.พนิต ภู่จินดา

***บทความนี้เขียนลงเว็บไซต์ Rabbit Today เมื่อปี 2019
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด