ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

สาเหตุหลักของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังจนเสื่อมสภาพลง เช่น การก้มๆ เงยๆ ยกของหนักบ่อย ๆ ขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน หรือปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินค่ามาตรฐาน ยิ่งทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพลง และเสี่ยงกับโรคหมอนกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ไม่ว่าใคร มีสุขภาพดีเพียงใดก็เสี่ยงเป็นได้ เพราะสาเหตุหลักของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังจนเสื่อมสภาพลง เช่น การก้มๆ เงยๆ ยกของหนักบ่อย ๆ ขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน หรือปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินค่ามาตรฐาน ยิ่งทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพลง และเสี่ยงกับโรคหมอนกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้
 
อาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท ‼️
• อาการปวดหลัง สะโพกและปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง อาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม
 
• อาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้าและ ปลายนิ้วหัวแม่เท้า
 
• อาการชาบริเวณปลายเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่ 2
 
• อาการผิดปกติของระบบขับถ่าย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ จะมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระหรือปัสสาวะได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นระบบขับถ่ายอาจไม่สามารถฟื้นคืนได้ตามปกติ
 
ซึ่งการรักษาหากมาพบแพทย์แล้วตรวจพบความเสื่อมของหมอนรองกระดูกตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็สามารถรักษาอาการเบื้องต้นได้ดังนี้
 
- การรับประทานยาแก้อักเสบหรือคลายกล้ามเนื้อ
- กายภาพบำบัด
- การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าโพรงประสาท
 
ดังนั้น หากมีอาการปวดหลังบ่อย แล้วมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาก็สามารถทำได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป แต่หากมีอาการอยู่ในกลุ่มที่รุนแรง เช่น อาการปวดร้าวจากคอ หรือหลังไปที่แขน หรือขาปวดจนรบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน มีอาการชาแขน/ขา มีอาการอ่อนแรงที่กล้ามเนื้อแขน/ขา ก็อาจจำเป็นจะต้องผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำและปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง MICROSCOPE ที่ทำให้แผลผ่าตัดเล็กลงกว่าเดิม ผู้ป่วยจึงเสียเลือดน้อย และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลดลง ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม


60 หมู่ 6 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี
ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
เบอร์โทร 0-2594-0020-65
Call Center 1218
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด