ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อนาคตพืชเศรษฐกิจใหม่กับอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชา The Future of Value Chain in Cannabis Industry

อนาคตพืชเศรษฐกิจใหม่กับอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชา The Future of Value Chain in Cannabis Industry HealthServ.net

อนาคตพืชเศรษฐกิจใหม่กับอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชา The Future of Value Chain in Cannabis Industry

อนาคตพืชเศรษฐกิจใหม่กับอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชา The Future of Value Chain in Cannabis Industry ThumbMobile HealthServ.net

 อนาคตพืชเศรษฐกิจใหม่กับอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชาThe Future of Value Chain in Cannabis Industry

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรชีวภาพหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ความ
หลากหลายทาง ชีวภาพ (Biodiversity) หรือ ทรัพยากรชีวภาพ (Bio resource) เป็นฐานสำคัญของ
การเกษตร ยารักษาโรค และต่อเศรษฐกิจของประเทศ พืชกัญชา กัญชงก็ยังมีความสำคัญไม่แพ้กันด้วยกระแส
ความนิยมที่ปัจจุบันถือว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวงการแพทย์ การใช้พืชกัญชาเพื่อเป็นส่วนประกอบ
ในอาหารและใช้ประกอบในตำรับยาไทยตามภูมิปัญญาชาวบ้านมาอย่างกว้างขวางและยาวนาน ดังจะเห็นจาก
มีการบันทึกในตำราพระโอสถ พระนารายณ์และตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ทางกรมการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือกได้คัดเลือก ตำรับยาที่มีกัญชาตามภูมิปัญญาไทยคำว่า Ganja สันนิษฐานว่ามาจากภาษา
Bengali ปรากฎในจารึกภาษาสันสกฤติของศาสนาฮินดู หมายความถึง Cannabis พืชล้มลุกให้ดอกในตระกูล
Cannabaceae (ประเภทเดียวกับปอ) ที่รู้จักแพร่หลายมี 2 สายพันธุ์ใกล้เคียงกันคือ กัญชง (Hemp –
Cannabis sativa L. subsp. Sativa) และกัญชา (Marijuana – Cannabis sativaforma indica)

กัญชา มีต้นกำเนิดแถบเอเชีย มีส่วนเส้นใยที่นำมาใช้ประโยชน์ ในขณะที่กิ่งก้าน ใบ และช่อดอก จะ
ถูกนำมาทำเป็นกัญชาแห้ง และสกัดเป็นนำมันเพราะเป็นพืชกลุ่มสมุนไพรเพื่อนำไปใช้ทางการแพทย์และ
ส่วนประกอบทางอาหารเฉพาะกลุ่มที่บริโภคกัญชา และในกลุ่มประเทศที่กฎหมายรองรับ ในกัญชาแต่ละสาย
พันธุ์จะมีส่วนประกอบทางเคมีต่างๆ กัน ซึ่งเภสัชศาสตร์ การแพทย์ การเกษตรและสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนา สารสกัดกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์นั น ส่วนกัญชงหรือเฮมพ์มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Cannabis sativa L. subsp. Sativa Sativa เป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับกัญชา แต่มีปริมาณของสาร THC
(Tetrahydrocannabinol) ค่อนข้างต่ำ ไม่เกิน 1% และมีสาร CBD (Cannabidiol) ในปริมาณที่สูง เส้นใย
ของกัญชงมีประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษ, สิ่งทอ, พลาสติก, ผลิตภัณฑ์
ก่อสร้าง, เชื อเพลิง ส่วนเมล็ดกัญชงและสารสกัดกัญชงซึ่งถูกควบคุมภายใต้กฎหมายยาเสพติดประเภท 5 นั น
พบว่า มีรายงานวิจัยและมีการใช้ประโยชน์นำมันที่สกัดจากเมล็ดกัญชงในต่างประเทศ นำมันเมล็ดกัญชงมี
ปริมาณ THC น้อย แต่มีปริมาณโอเมก้า 3 และโปรตีนสูง จึงมีคุณค่าทางโภชนาการที่ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้น
สมอง กระตุ้นระบบ ภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิตและไขมันในเลือด ช่วยบำรุงผิวหนังและเส้นผม สามารถช่วย
ในการรักษาโรคข้ออักเสบ ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร และช่วยรักษาโรคมะเร็ง สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อ
เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, นำมัน essential oil, ยา, อาหารและเครื่องสำอาง
 
 ปัจจุบัน ตลาดกัญชาโลก มีแนวโน้มที่จะแทรกเข้าไปอยู่แทบทุกอุตสาหกรรมการบริโภค โดยคาดว่าตลาดกัญชาโลกทั งที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย มีมูลค่าสูงถึง 150,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าตลาดที่ถูกกฎหมายจะเติบโตถึง 77 % ของตลาดทั้งหมดคาดการณ์ยอดขายในปี พ.ศ. 2568 จะอยู่ที่ประมาณ 166,000 ล้ำนเหรียญดอลลำร์สหรัฐ(ที่มำของข้อมูล: radiostud) หากมีกฎหมายรองรับกัญชาและผลิตภัณฑ์
กัญชามากขึ น คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2573 กัญชาจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมที่ใช้งานได้ในอาหารเครื่องดื่มและความงามหรือเป็นตัวเสริมอารมณ์เพื่อสุขภาพ 
 
 
สำหรับอุตสาหกรรมกัญชาในตลาดโลก พบว่า ประเทศแคนาดาเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศ G7 แห่งแรกที่ออกกฎหมายกัญชา จากรายงานที่จัดทำโดย Deloitte กัญชามียอดขายในแคนาดาในปี 2019 ประมาณ 7.17 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ โดยนับรวมยอดขายที่ผิดกฎหมาย และถูกกฎหมาย และมียอดขายผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกกฎหมายประมาณ 4.34 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมด
 
แคนาดามีการใช้กัญชาในปริมาณมาก และคาดว่ากัญชาจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในหมวดอาหารและ
เครื่องดื่ม ซึ่งจะเห็นผลิตภัณฑ์กัญชาที่กินได้ซึ่งรวมอยู่ใน Bill C-45 (พระราชบัญญัติกัญชา) ซึ่งเปิดโอกาส
สำหรับอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารเสริม, ของว่าง, อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน, ร้านอาหารและการ
ท่องเที่ยว รายงาน Deloitte เมื่อเร็วๆ นี พบว่าร้อยละ 58 ของผู้ใช้กัญชาในแคนาดา มีความตั งใจที่จะบริโภค
อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาที่ถูกกฎหมาย แต่แนวคิดด้านพัฒนากัญชาให้เป็นส่วนผสมในอาหารจะต้อง
ดำเนินการในปริมาณที่เหมาะสมและเพื่อป้องกันการบริโภคของเด็กและสัตว์ วิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาด
สำหรับผลิตภัณฑ์กัญชาในแคนาดาจะต้องผ่านกฎหมาย 3 ด้านได้แก่ พระราชบัญญัติกัญชา พระราชบัญญัติ
ยาและสารควบคุม และพระราชบัญญัติอาหารและยา
 
หากประเทศไทยต้องการที่จะส่งเสริมนโยบายทางด้านกัญชาต้องทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาและ
ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชาและความเป็นไปได้ของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการรองรับพืช
เศรษฐกิจใหม่ไม่ว่าจะเป็นด้านผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ของกัญชา (cannabis) ตลอดจนสถานภาพการเพาะปลูกและอุตสาหกรรมการแปรรูปกัญชา ศึกษาสภาวะการผลิต การแข่งขัน การตลาด
แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์จากกัญชาทั งภายในและต่างประเทศในอนาคต รวมถึงกฎหมายกฎระเบียบ
นโยบาย และมาตรการสนับสนุน ข้อจำกัด สภาพปัญหา อุปสรรคในการพัฒนา รวมทั งฐานข้อมูลเชิงลึก
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กัญชา จัดทำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชาและกัญชงของไทยให้เอื อต่อการลงทุนและเติบโตอย่างยั่งยืน
 
ที่มาข้อมูล: https://radiostud.io/future-of-value-chain-in-the-cannabis-industry/
งานประชุมวิชาการ เรื่อง การวิจัยและพัฒนาสารสกัดกัญชาและกัญชงทางการแพทย์เพื่อการพัฒนาประเทศ
สถาบันอาหาร สิงหาคม 2562
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด